X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

9 วิธีลดอาการบวมระหว่างตั้งครรภ์ ท้องแล้วเท้าบวม ทำไงดี

บทความ 5 นาที
9 วิธีลดอาการบวมระหว่างตั้งครรภ์ ท้องแล้วเท้าบวม ทำไงดี

อาการบวมมือเท้าระหว่างตั้งครรภ์ ส่วนมากจะเกิดในช่วงไตรมาสที่ 3 และส่วนใหญ่จะรู้สึกบวมที่บริเวณข้อเท้าและเท้า หากต้องยืนหรือนั่งเป็นระยะเวลานาน อาการบวมจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ได้ตามสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว แม้ว่าการบวมจะทำให้แม่ท้องรู้สึกกังวล แต่ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนนั้นไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วงและไม่ส่งอันตรายต่อแม่และลูกน้อยในท้องค่ะ

9 วิธีลดอาการบวมระหว่างตั้งครรภ์ อาการบวมระหว่างตั้งครรภ์ เกิดจากการที่ปริมาณของเหลวในร่างกายที่เพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อีกทั้งระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนแปรปรวน ส่งผลให้มีผลต่อการทำงานของหลอดเลือดและต่อมน้ำเหลือง รวมถึงการที่มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นส่งผลให้กระดูกเชิงกรานกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ ให้ไม่สามารถส่งเลือดกลับไปเลี้ยงหัวใจได้สะดวก ทำให้แม่ตั้งครรภ์บางคนมีอาการท้องอืด เท้าบวม ขาบวม หรือมือบวมได้ มีวิธีช่วยคุณแม่ลดอาการบวมเหล่านี้ลงได้ คลิกเลย!

 

ตั้งครรภ์ เท้าบวม วิธีลดอาการบวม แก้ได้ดังนี้

  1. ยกขาสูง ยกขาสูงทุกครั้งที่ทำได้ เช่น การหาเก้าอี้หรือกล่องมาช่วยหนุนขาให้สูงขึ้น
  2. ไม่นั่งไขว่ห้าง
  3. เปลี่ยนท่าบ่อย ๆ เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ลุกขึ้นเดินยืดเส้นสายทั้งขา โดยให้ส้นเท้าแตะพื้นก่อน แล้วจึงค่อย ๆ เหยียดปลายเท้าออกเพื่อให้กล้ามเนื้อน่องผ่อนคลาย จากนั้นก็ขยับนิ้วเท้าไปมา แต่ไม่ควรยืนนานจนเกินไป
  4. ไม่ใส่ถุงเท้ารัดแน่นเกินไป
  5. เลือกใส่รองเท้าที่สบาย ตอนท้องเท้าอาจมีการขยาย คุณแม่ควรหารองเท้าที่สบายหรือเบอร์ใหญ่กว่าเดิมที่เคยใส่ เพื่อรองรับการขยายตัวของเท้า
  6. ดื่มน้ำเยอะ ๆ
  7. เลี่ยงอาหารรสเค็ม เพราะอาหารรสเค็มจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ และเกลือหรือโซเดียมนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวมได้ คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ระหว่างตั้งครรภ์
  8. นอนให้เท้าสูงกว่าระดับหัวใจ อาจใช้หมอนรองเท้า หรือผ้านวม ผ้าห่ม มาวางซ้อนไว้ที่ปลายเตียงเพื่อหนุนเท้าให้สูงขึ้นจะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี และช่วยลดน้ำหนักที่กดทับมาจากมดลูกได้
  9. หมั่นออกกำลังกาย ออกกำลังกายเบา ๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น การเล่นโยคะคนท้อง เดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยานอยู่กับที่ในช่วงเวลาสั้น ๆ จะช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และช่วยลดอาการเส้นเลือดอุดตันได้อีกด้วย

 

Advertisement

คนท้องเท้าบวมเกิดจากอะไร

คนท้องเท้าบวมเกิดจากอะไร แม่ท้องส่วนใหญ่ที่เริ่มเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 มักจะเผชิญกับอาการเท้าบวมบ่อยๆ บางครั้งก็รู้สึกเจ็บและเป็นตระคริวไปอีก อาการแบบนี้มันเกิดจากอะไรกันแน่ แล้วคนท้องควรทำอย่างไรให้หายจากอาการเท้าบวมไปได้

วิธีลดอาการบวมระหว่างตั้งครรภ์

วิธีลดบวมน้ํา วิธีลดเท้าบวม

 

สาเหตุของอาการเท้าบวมในคนท้อง

อาการเท้าบวมของคนท้องมักจะเป็นอาการแค่ชั่วครั้งชั้วคราวค่ะ และจะหายไปหลังจากที่คุณแม่คลอดลูกน้อยไปแล้ว ซึ่งสาเหตุก็มาจากดังต่อไปนี้

1.ของเหลวในร่างกายเยอะ

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดจากฮอร์โมนของคนท้อง ทำให้แม่ตั้งครรภ์มีอาการเท้าบวมเนื่องจากว่าคนท้องมักจะหิวน้ำบ่อย และพอคุณแม่กินน้ำเข้าไปก็ทำให้ปริมาณของเหลวในร่างกายมากจึงเกิดอาการเท้าบวมได้นั่นเองค่ะ

2.เส้นเลือดขอด

เมื่อลูกในท้องมีการเจริญเติบโตที่มากขึ้น ทำให้มดลูกของคุณแม่ขยายตัวตามจึงเกิดการสร้างการกดทับกับเส้นเลือดดำ เมื่อเส้นเลือดดำโดนกดทับทำให้เลือดไหลไม่สะดวกโดยเฉพาะบริเวณขาจึงเกิดอาการบวมและเกิดการปวดได้

3.ความผิดปกติของไต

ระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไตจะทำงานหนักมาก ทำให้ระบบการทำงานไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอโดยเฉพาะการจัดการน้ำในร่างกาย ทำให้คุณแม่เกิดอาการบวมตามส่วนต่างๆ ทั้งใต้ถุงใต้ตา ขา รวมถึงปัสสาวะบ่อยด้วยค่ะ

4.เครื่องแต่งกาย

เครื่องแต่งกายก็มีส่วนสำคัญทำให้คุณแม่เกิดอาการบวมได้ ดังนั้น คุณแม่ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกิดไป รวมถึงรองเท้าโดยเฉพาะส้นสูงให้ลืมไปได้เลย เพราะทั้งหมดนี้ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกจึงเกิดอาการบวมได้ค่ะ

5.มาจากอาการเจ็บป่วย

สำหรับคุณแม่ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ หรือโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ โรคเหล่านี้นอกจากจะทำให้คนท้องเกิดอาการบวมแล้วยังทำให้เกิดอาการเจ็บขา และบริเวณไหล่ด้วย บางทีก็อาจส่งผลให้คุณแม่อ่อนเพลียง่าย และท้องผูกบ่อยๆ

6.ปัญหาลำไส้

หากคุณแม่มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย หรือลำไส้ เป็นโรคอุจจาระร่วง อาการทั้งหมดนี้จะส่งผลให้คุณแม่มีอาการบวมตามขาและเท้าได้เช่นเดียวกันค่ะ

7.อาการครรภ์เป็นพิษ

เมื่อคุณแม่ท้องแก่ขึ้นย่อมมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามมา แต่ถ้าคุณแม่มีอาการบวมที่เกิดจากการบวมน้ำ ความดันที่เพิ่มขึ้น การสูญเสียโปรตีนในปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของของเหลวในร่างกาบอาจทำให้เกิดครรภ์เป็นพิษได้ค่ะ นอกจากนี้ อาการเท้าบวม ขาบวม ยังเกิดจากเขื้อไวรัส โรคข้อต่อ หลอดเลือดดำ การขาดการออกกำลังกาย โรคอ้วน การนั่งไขว้ห้าง ทางที่ดีถ้าคุณแม่มีอาการเท้าบวมควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางรักษาต่อไปค่ะ

 

คนท้องเท้าบวมอันตรายไหม

หากคุณแม่มีอาการเท้าบวมที่เกิดจากอาการครรภ์เป็นพิษถือว่าอันตราย เพราะเมื่อของเหลวที่อยู่ในร่างกายเกิดมีแรงดันเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่การทำงานที่ผิดปกติของไตทำให้การไหลเวียนเลือดของคนท้องมีอาการที่ผิดปกติ รวมถึงภายในรกด้วย ซึ่งอาจทำให้ลูกในท้องได้รับออกซิเจน และสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ทารกในครรภ์ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

วิธีลดอาการเท้าบวมของคนท้อง

    1. ลดการทานเค็ม ยิ่งคนท้องกินเค็มมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำไว้มากเท่านั้น และยิ่งทำให้คนท้องเกิดอาการบวมมากยิ่งขึ้นค่ะ ทางที่ดีคุณแม่ควรงดทารเค็มและอาหารรสจัดลงนะคะ
    2. ทานอาหารที่มีวิตามิน เพราะวิตามินเหล่านี้จะช่วยเข้าไปบำรุงหลอเลือดและลดปริมาณของเหลวในร่างกายลงได้ ซึ่งจะทำให้อาการเท้าบวมของคนท้องลดน้อยลงค่ะ
    3. นวดฝ่าเท้า การนวดฝ่าเท้าเป็นวิธีที่ช่วยลดอาการบวมได้ดีในระหว่างตั้งครรภ์ค่ะ
    4. ออกกำลังกาย โดยคุณแม่อาจนอนราบไปกับเตียงหรือบนพื้น จากนั้นให้ยกเท้าขึ้นอาจพาดไว้ที่พนังห้องแล้วค้างได้ 10-15 นาที เพื่อช่วงการไหลเวียนบริเวณเท้าค่ะ
    5. ใช้หมอนหนุนฝ่าเท้าขณะนอน จะช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นค่ะ
    6. ทานอาหารที่บำรุงไต เช่น ส้ม มะนาว ผักชีฝรั่ง ขึ้นฉ่าย กระเทียม ส้มเขียวหวาน หัวหอม ซึ่งคุณแม่อาจทานอาหารที่ใช้วัตถุดิบเหล่านี้ในการปรุงก็ได้ค่ะ

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

 

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

 

Source : https://th.theasianparent.com/%E0

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

6 สัญญาณอาการบวมช่วงตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ อันตรายถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ

9 อาการบวม ที่แม่ท้องต้องเจอ

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 9 วิธีลดอาการบวมระหว่างตั้งครรภ์ ท้องแล้วเท้าบวม ทำไงดี
แชร์ :
  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว