ทุกค่ำคืนที่ต้องตื่นมาเปลี่ยนผ้าอ้อม อดหลับอดนอนเพราะเสียงร้องลั่น และหลายๆ เหตุการณ์ที่แม่ต้องพยายามดึงสติ แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ช่วงเวลาวุ่นวายของการมีลูกเล็กนั้นเหน็ดเหนื่อยแต่เปี่ยมไปด้วยความสุข โดยเฉพาะในช่วงปีแรกของเบบี้ ที่แม่ๆ อยากหยุดเวลาเอาไว้ ไม่อยากให้ลูกรีบโตเลย
ในตอนนี้แม่ๆ หลายคน กำลังเผชิญกับ terrible twos และ threenager ของลูกวัยเตาะแตะ หลังจากเหน็ดเหนื่อยกับลูกในช่วงนี้ ต้องมีบ้างแน่ๆ ที่แม่ย้อนกลับไปนึกถึงลูกตอนที่เป็นเบบี้ มาดูกันเถอะว่าเบบี๋ตัวน้อยของแม่ทุกคน ทิ้งอะไรไว้ให้คิดถึงกันบ้าง
1.ความจ้ำม่ำแบบ Baby fat
ลูกน้อยตัวนุ่มนิ่ม อวบอ้วนน่าฟัด โดยเฉพาะเบบี้ที่จ้ำม่ำ ทั้งข้อมือ แขน นิ้ว ขา ทุกอย่างดูน่ารักไปหมด จะเห็นได้ว่าเบบี้ส่วนใหญ่จะมีความอ้วนท้วน น่ารักแบบทารกในช่วงปีแรก เป็นเวลาที่น่าบันทึกไว้ในความทรงจำ เพราะยิ่งโตลูกก็จะเริ่มแขนขายาวขึ้น ตัวยืดขึ้น เปลี่ยนไปจากเดิม จนคุณแม่ถอนใจอยากกลับไปฟัดความจ้ำม่ำนั้นอีกครั้ง
2.เสียงอ้อแอ้และเสียงหัวเราะเอิ๊กอ๊าก
ตอนเด็กๆ ไม่ว่าลูกต้องการอะไรก็จะส่งเสียงร้องออกมาอย่างไม่เป็นภาษา ทั้งร้องหิวนม ร้องเพราะฉี่หรืออึ หรือแม้แต่เปล่งเสียงอ้อแอ้ และหัวเราะเอิ๊กอ๊าก สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อลูกเป็นทารก ที่ไม่สามารถบอกสิ่งที่เกิดขึ้นได้ด้วยภาษา พอเด็กโตขึ้น ก็จะแสดงออกอีกอย่างหนึ่ง พออายุเริ่มมากขึ้น ลูกก็จะบอกแม่ว่ารู้สึกอย่างไร เมื่อถึงเวลานั้นก็อดไม่ได้ที่จะนึกถึงเสียงร้องโยเยของลูก และเสียงหัวเราะจากทารกที่เปล่งออกมา สร้างความประหลาดใจให้กับแม่
3.เสื้อผ้าทารกสุดแสนน่ารัก
เสื้อผ้าทารกที่สวมปิดทั้งตัวได้ในชิ้นเดียว ใส่ได้แค่ 1 ครั้งในชีวิต เมื่อลูกเริ่มโต แม่ก็ต้องเปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าปกติ จึงไม่แปลกเลยที่ชุดเหล่านั้นในบ้าน จะสร้างความคิดถึงช่วงเวลาใส่เสื้อผ้าให้เบบี๋ตัวน้อย ชุดเล็กๆ ขนาดพอดีตัวที่แม่บรรจงเลือกลวดลายน่ารักถูกใจ นำมาสวมใส่ให้ลูกด้วยความรัก ช่วงเวลาแบบนั้นมีแค่ไม่นาน พอลูกโตก็จะอยากสวมใส่เสื้อผ้าที่เลือกเอง แถมยังไปผจญภัยในทุกๆ วัน ให้แม่ปวดหัวกับรอยเปื้อนที่กลับมาที่บ้านด้วยเสมอ
ดูอีก 4 สิ่งที่แม่ต้องคิดถึงแน่ๆ เมื่อลูกโตขึ้น ในหน้าถัดไป
4.กลิ่นหอมเฉพาะตัวของทารก
ช่วงที่ลูกเป็นทารกจะมีกลิ่นเด็ก กลิ่นพิเศษๆ ที่ชวนหลงใหล ซึ่งจะจางหายไปตามกาลเวลา ช่วงที่เป็นเบบี๋ กลิ่นหอมๆ นี้ช่างน่าดม จนอดไม่ได้ที่จะเอาจมูกไปถูกับตัว หรือแม้แต่เท้าของลูก! การเติบโตของลูกนอกจากจะพรากกลิ่่นหอมแบบทารกออกไปแล้ว การจะทำให้ลูกตัวหอมสะอาดอยู่เสมอยังเป็นเรื่องยาก แค่จะให้ลูกอาบน้ำเช้าเย็นให้ได้ในทุกๆ วัน ยังเป็นเรื่องที่ลำบากเลย
5.ลูกโตแล้วอดงีบ
ทารกมักจะใช้เวลานอนเยอะมากในแต่ละวัน ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่ในช่วงกลางวันที่ทารกผลอยหลับ แม่ก็มีเวลาส่วนตัวในการจัดการสิ่งต่างๆ แม้แต่การได้งีบสักนิดไปพร้อมๆ กับลูก บางคนอาจจะเถียงว่า ลูกนอนกลางวันเยอะ ลูกก็จะตื่นกลางคืนเยอะ! ถ้าอย่างนั้นมาดูข้อดีในการงีบตอนกลางวันกันดีกว่า การได้นอนนิดหน่อยช่วงบ่ายๆ จะทำให้คุณแม่สดชื่น ฟื้นฟูความสดใส ซึ่งถ้าลูกโตขึ้น พวกเขาจะมีพละกำลังเยอะมาก วิ่งเล่นได้ตลอดทั้งวัน อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ถึงตอนนั้นแค่จะงีบสักนิด แม่ก็ยังทำไม่ได้เลย
6.ลูกเล็กกระเตงไปเที่ยวง่าย
บางคนอาจจะปฏิเสธว่าจะเป็นไปได้ยังไง! นึกถึงช่วงเวลาที่ทารกร้องไห้ จะไปสบายเหมือนเที่ยวกับเด็กได้อย่างไร ลองคิดดูดีๆ สิคะ ถ้าลูกเริ่มโตไม่ว่าจะไปเที่ยวที่ไหนก็จะมีค่าใช้จ่ายเสริมเสมอ ตั๋วพิเศษที่ต้องจ่ายเพิ่มเมื่อขึ้นรถไฟ เดินทางด้วยเครื่องบิน หรือแม้กระทั่งรถเมล์ เมื่อไปท่องเที่ยวในสถานที่ที่คนเยอะๆ ถ้าเป็นเบบี๋ก็จะอยู่ในอ้อมกอดเสมอ จึงไม่ต้องคอยพะวงว่าลูกจะเดินหลง หรือหายไปในฝูงชน ที่สำคัญ เวลาเดินผ่านร้านของเล่น ทารกก็จะไม่งอแงอยากได้ของแบบเด็กที่โตแล้ว สิ่งที่ทารกอยากได้ก็มีแค่นอนเท่านั้น
7.พัฒนาการลูกในแต่ละสเต็ปสำคัญเสมอ
ตอนลูกเป็นทารก ทุกพัฒนาการเป็นสิ่งสำคัญเสมอ ตั้งแต่ตอนที่ลูกกลิ้งได้ เริ่มนั่งได้ วินาทีที่ตั้งไข่ได้ วันที่เริ่มกินอาหารเหลว ขณะที่กำลังก้าวเดิน จนถึงคำๆ แรกที่พูดออกมา ทุกอย่างสร้างความตื่นเต้นให้กับแม่ ทุกวินาทีแม่จะใจจดใจจ่อ รอลุ้นให้ทารกทำสิ่งต่างๆ ได้ แต่พอลูกโตขึ้น ทุกอย่างก็จะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ได้มีพัฒนาการสำคัญมากเท่าตอนเป็นทารก เช่น ถึงวันที่ลูกฟันน้ำนมหลุด วันแรกที่ลูกไปโรงเรียน และเริ่มมีเพื่อน เหล่านี้เป็นช่วงเวลาสำคัญก็จริง แต่แม่ก็จะลดความตื่นเต้นดีใจลง ไม่เหมือนตอนที่ลูกเป็นทารก
ขวบปีแรกของทารก สร้างความเหน็ดเหนื่อยให้กับแม่ก็จริง แต่นั่่นคือช่วงเวลาสำคัญ ที่แม่จะย้อนนึกถึงก็ต่อเมื่อลูกเติบโตขึ้น
ที่มา : ph.theasianparent.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
7 ปัจจัยที่สำคัญต่อพัฒนาการด้านภาษาของทารก
เมื่อทารกทำท่าแบบนี้อยากบอกอะไรแม่นะ!!!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!