เมื่อลูกน้อยของคุณอายุมากขึ้น เรื่องของอาหารการกินของพวกเขาก็ต้องเปลี่ยนไปให้เป็นไปตามความเหมาะสม โดยเฉพาะเด็กในช่วงปีแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ร่างกายของพวกเขานั้นต้องการสารอาหารที่เพิ่มมากขึ้น และมีการเพิ่มประเภทของอาหารได้มากยิ่งขึ้น วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า เมนูอาหารทารก 7 เดือน ควรเป็นแบบไหน? กินอะไรถึงจะดี สำหรับลูกน้อยของคุณที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต
ทารก 7 เดือน มีความต้องการอาหารมากแค่ไหน?
หลังจากที่ลูกน้อยของคุณลืมตาดูโลกได้มาเป็นระยะเวลากว่าครึ่งปี ร่างกายของเขาเริ่มมีการเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงพัฒนาการทางร่างกายอื่น ๆ ที่พวกเขาเริ่มที่จะทำได้ คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจมีความสงสัยว่า ทารก 7 เดือน มีความต้องการอาหารมากแค่ไหน คำตอบก็คือ เด็กแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป แต่ถึงอย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วทารกที่มีอายุ 7 เดือนควรได้รับประทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน ในปริมาณอาหารน้อยกว่า 1 ช้อนโต๊ะถึง 2 ช้อนโต๊ะ แต่สำหรับทารกบางคนในวัยเดียวกันอาจกินมากถึง 8-12 ช้อนโต๊ะต่อวันเลยทีเดียว ซึ่งรวมกับการดื่มนมในแต่ละวันด้วย โดยทารกอายุ 7-9 เดือน เด็กผู้ชายจะต้องการพลังงาน 825 กิโลแคลอรีต่อวัน และเด็กผู้หญิงจะต้องการพลังงาน 765 กิโลแคลอรีต่อวัน
บทความที่น่าสนใจ : พัฒนาการทางภาษา เด็กวัย 7 เดือน ลูกพูดได้เยอะหรือยังนะ
เมนูอาหารทารก 7 เดือน ควรเป็นแบบไหน?
อาหารสำหรับทารกอายุ 7 เดือน จะเริ่มประกอบด้วยอาหารที่เป็นของแข็งมากยิ่งขึ้น โดยคุณสามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกน้อยของคุณ อาทิ การทำงานประสานกันระหว่างมือและปาก การแลบลิ้นออกมาด้านนอกปากที่น้อยลง การนั่งโดยไม่ต้องจับหรือพยุง และการตอบรับต่อช้อนเมื่อช้อนอยู่ในปาก ซึ่งคุณอาจจะให้พวกเขารับประทานอาหารร่วมกับการให้ดื่มนมแม่ หรือนมอื่น ๆ ได้ จนกว่าจะถึงเวลาที่คุณคิดว่าเหมาะสมแก่การที่หย่านม ทั้งนี้อาหารที่แข็งและแนะนำสำหรับเด็กทารกอายุ 7 เดือนควรเป็นอาหารที่มีรสชาติอ่อนไปจนถึงอาหารที่มีรสชาติหวานตามธรรม โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1. อาหารประเภทผัก
เมื่อเข้าสู่ช่วงที่ลูกน้อยของคุณสามารถรับประทานอาหารที่มีความแข็งขึ้นมาได้แล้วไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะทานได้ทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักที่มีความแข็งมาก คุณควรนำผักไปบดและทำเป็นก้อน หรือนำผักไปปรุงเพื่อให้นิ่มลงก่อนเพื่อที่จะทำให้ลูกน้อยของคุณรับประทานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งผักที่เหมาะสำหรับเด็กในวัย 7 เดือนมีดังต่อไปนี้ บร็อคโคลี่ ผักกาดถั่วชนิดต่าง ๆ กะหล่ำปลี ผักโขม บวบ หน่อไม้ฝรั่ง แครอท อะโวคาโด และฟักทอง เป็นต้น
2. ผลไม้เนื้อนุ่ม ผลไม้สด
ผลไม้เป็นอีกหนึ่งที่เหมาะสำหรับเด็กวัย 7 เดือน เพราะผลไม้มีเนื้อสัมผัสที่นุ่ม และมีสารอาหารมากมาย โดยเฉพาะวิตามินต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับเด็กในวัยที่กำลังเจริญเติบโต คุณสามารถให้พวกเขาทานได้ในรูปแบบง่าย ๆ หรือนำไปบดเพื่อให้พวกเขาได้รับประทานได้ง่ายขึ้น ซึ่งผลไม้ที่เหมาะสำหรับเด็ก ได้แก่ กล้วย บลูเบอร์รี่ กีวี่ แอปเปิล มะม่วง แพร์ สตรอเบอร์รี่ มะละกอ สับปะรด และแตงโม เป็นต้น ทั้งนี้ผลไม้บางชนิดคุณอาจจะต้องระวังเรื่องของเม็ดด้วย
3. อาหารประเภทแป้ง
อาหารประเภทนี้ไม่ถือว่าเหมาะสมกับเด็กในวัยนี้ซะทีเดียว แต่สามารถให้ลูกน้อยของคุณรับประทานได้เมื่อจำเป็น และควรบดหรือปั่นให้มีความละเอียดก่อนที่จะให้พวกเขารับประทาน โดยอาหารประเภทแป้งสำหรับเด็กอายุ 7 เดือน ได้แก่ มันฝรั่ง มันเทศ ข้าว เส้นพาสต้า ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด และขนมปัง เป็นต้น
4. โปรตีนจากพืช และสัตว์
อาหารจำพวกโปรตีนส่วนใหญ่แล้วจะไม่ได้มีแค่โปรตีนเพียงอย่างเดียว แต่ทำให้เด็ก ๆ ได้รับสารอาหารอื่น อาทิ สังกะสี และธาตุเหล็กเพิ่มเติมอีกด้วย ซึ่งอาหารประเภทโปรตีนนี้เหมาะสำหรับเด็กในวัยที่กำลังเจริญเติบโต เพราะว่าจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อของพวกเขานั่นเอง โดยอาหารประเภทโปรตีน ได้แก่ ไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว ไข่ ถั่ว และเต้าหู้ เป็นต้น
5. ผลิตภัณฑ์จากนม
อาหารที่ทำจากนมพาสเจอร์ไรซ์ เช่น โยเกิร์ต และชีส เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ประมาณ 6 เดือนขึ้นไป โดยโยเกิร์ตนั้นจะต้องเป็นแบบธรรมชาติ ไม่หวาน ไม่ใส่น้ำตาล นอกจากนี้คุณอาจเพิ่มนมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นมแม่เสริมเข้าไปให้พวกเขาได้ไม่ว่าจะเป็น นมวัว นมแพะ หรือนมแกะ แต่สามารถใช้ได้เพียงในการปรุงหรือผสมกับอาหารเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นเครื่องดื่มจนกว่าลูกของคุณจะอายุครบ 12 เดือน หรือ 1 ปี
บทความที่น่าสนใจ : การแพ้นมวัว และแพ้อาหารในเด็ก เป็นยังไงบ้าง? สิ่งที่พ่อแม่หลายคนควรรู้!
ไอเดีย เมนูอาหารทารก 7 เดือน กินอะไรถึงจะดี
สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ที่ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรให้ลูกวัย 7 เดือนทานดี เพราะว่าฟันของลูกก็เริ่มขึ้นแล้ว และเป็นช่วงของการเริ่มทานอาหารที่มีความแข็งได้ เรามาดูกันดีกว่า เมนูอาหารทารก 7 เดือน กินอะไรถึงจะดี แจกไอเดียไว้ให้เผื่อลองเอาไปปรับไปใช้กัน
-
โจ๊กข้าว
เมนูทานง่าย ๆ ที่ได้สารอาหารเพียบ โจ๊กที่ทำจากข้าวชนิดต่าง ๆ เป็นเมนูอาหารที่เหมาะสำหรับลูกน้อยของคุณที่กำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านการรับประทานอาหาร เพราะนอกจากจะได้สารอาหารจากข้าวแล้ว ยังสามารถเพิ่มสารอาหารอื่น ๆ เข้าไปได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ลูกเดือย ข้าวบาร์เลย์ หรือจะแอบใส่ผัก หรือโปรตีนเข้าไปด้วยก็ได้ แต่คุณอาจจะต้องบดให้ละเอียด เพราะว่าลูกน้อยของคุณจะทานได้ง่ายขึ้นและมากขึ้นนั่นเอง
-
ผักบดนานาชนิด
เสริมแร่ธาตุและวิตามินให้กับลูกได้ง่าย ๆ ด้วยการนำผักต่าง ๆ มาบดเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น แครอท ฟักทอง ผักโขม และผักอื่น ๆ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง คุณอาจมีการเปลี่ยนการจับคู่ผักในแต่ละมื้อ หรือในแต่ละวันของลูกน้อยของคุณได้ อาจจะใช้เป็นเทคนิคสีของอาหารที่เปลี่ยนไปในแต่ละมื้อ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือการบดให้ละเอียด เพราะการบดแบบหยาบ ๆ นั้นอาจทำให้พวกเขาไม่อยากกินได้
-
ไข่ต้มบด
หนึ่งเมนูที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรพลาดสำหรับลูกน้อยวัย 7 เดือน เพราะนอกจากพวกเขาจะเริ่มเคี้ยวอาหารด้วยเหงือกแล้วพวกเขายังได้รับสามารถอาหารจากไข่อีกด้วย เพราะว่าไข่ 1 ฟองนั้นประกอบไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการมากมาย ทั้งแร่ธาตุและวิตามิน ซึ่งสามารถบดไข่ขาวเข้ากับไข่แดง หรือจะเป็นการแยกป้อนก็ได้ ทั้งนี้อาจจะต้องระวังหากลูกน้อยของคุณมีผื่นขึ้น หรือเกิดอาการแพ้อาหารควรหยุดป้อนทันที เพราะว่าไข่เป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่เด็กส่วนใหญ่มักมีอาหารแพ้
-
ผลไม้หลากสี
ถึงช่วงเวลาที่พวกเขาได้รับรองรสชาติใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิมด้วยการรับรสหวานอมเปรี้ยวของผลไม้ชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ หรือผลไม้ประจำฤดูที่มีเนื้อสัมผัสที่นุ่ม กัดง่าย และสามารถบดเคี้ยวได้ด้วยเหงือกน้อย ๆ ของพวกเขา แต่ต้องระวังเรื่องของผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว หากรับประทานมากจนเกินไปอาจส่งผลทำให้ทารกท้องเสียได้
บทความที่น่าสนใจ : ผักผลไม้ 5 สี กินแล้วดีอย่างไร? เด็กกินได้ ผู้ใหญ่กินดี ประโยชน์เพียบ!!
-
อาหารบดมากคุณประโยชน์
เนื่องจากวัย 7 เดือนเป็นวัยที่พวกเขาเริ่มจะทานอาหารได้ควบคุมกับการดื่มนม ดังนั้นการที่พวกเขาจะได้รับสารอาหาร หรือคุณประโยชน์จากอาการต่าง ๆ นั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณสามารถจับคู่ประเภทอาหารเข้าด้วยกันได้ เพื่อทำให้มื้ออาหารนั้นมีคุณประโยชน์มากที่สุดสำหรับลูกของคุณ อาทิ ปลากับผัก ไก่กับข้าว มันฝรั่งกับผัก หรือมันฝรั่งกับเนื้อสัตว์ แต่อย่าลืมที่จะบดให้ละเอียดเพื่อง่ายต่อการทานด้วยนะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับเมนูอาหารของเด็กวัย 7 เดือน ในความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องยากอะไร แต่คุณพ่อคุณแม่จะต้องระวังเรื่องของขนาดและความแข็งของอาหารที่จะให้พวกเขารับประทานด้วย เพราะหากมีขนาดใหญ่เกินไปอาจทำให้ลูกสำลักหรืออาหารติดคอได้ และถ้าหากมีความแข็งมากจนเกินไปก็อาจทำให้พวกเขาไม่อยากทาน หรือทานได้น้อยลง และอาจจะไม่ชอบทานอาหารอีกต่อไปเลยก็ได้ และที่สำคัญที่สุดจะต้องคอยสังเกตอาหารของลูกน้อยของคุณด้วย เพราะอาหารบางชนิดอาจทำปฏิกิริยาและทำให้เกิดอาหารแพ้ได้ เมื่อทราบแล้วควรหลีกเลี่ยงการทานด้วยนะคะ
บทความที่น่าสนใจ :
อาหารเด็ก ก่อนวัยเรียน เมนูอาหารก่อนวัยเรียนของลูกๆ ที่คุณแม่ทำง่ายๆ
เครื่องปั่นอาหารทารก แนะนำเครื่องปั่น เครื่องนึ่งอาหารเด็ก ยี่ห้อไหนดีมาดูกัน
สูตรอาหารเด็กวัยหย่านม เมนูฟักทองสำหรับเด็กวัยหย่านมสุดอร่อยประโยชน์เน้น ๆ
ที่มา : healthhub, flo.health , webmd, parenting