TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการทางภาษา เด็กวัย 7 เดือน ลูกพูดได้เยอะหรือยังนะ

บทความ 5 นาที
พัฒนาการทางภาษา เด็กวัย 7 เดือน ลูกพูดได้เยอะหรือยังนะ

เด็กวัย 7 เดือน ลูกมักสื่อสารกับพ่อแม่มากขึ้น และแสดงท่าทางให้พ่อแม่เห็นได้ชัด คุณพ่อคุณแม่ควรพัฒนาการเติบโตของ เด็กวัย 7 เดือน อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบ…

 

ลูกเริ่มมีการเจริญเติบโตขึ้นกว่าเดิมมาก ด้วยน้ำหนักตัวของลูกในวัย 7 เดือนจะหนักเป็นน้ำหนักสองเท่าของน้ำหนักตอนแรกเกิด  สัดส่วนเริ่มเปลี่ยนไป แขนขาและลำตัวเริ่มยาวขึ้น คุณแม่จะอุ้มลูกได้ง่ายกว่าเดิม เพราะกล้ามเนื้อคอแข็งแรง จนสามารถประคองศีรษะตัวเองได้แล้ว ในวัย 7 เดือนเพศหญิงจะมีขาที่ยาวกว่าเพศชาย

 

เรียกคุณพ่อกับคุณแม่ได้แล้ว 

  • เด็กสามารถส่งเสียงเป็นคำๆ ที่มีทั้งเสียงสระและพยัญชนะผสมกันได้บ้างแล้ว เช่น ปะปา มะมา
  • สนใจฟังเสียงที่ได้ยินทั้งเสียงของตัวเองและเสียงคนอื่น ซึ่งเขาพยายามที่จะเลียนแบบ ช่วงนี้จึงเป็นโอกาสเหมาะที่คุณแม่จะช่วยเพิ่มคำศัพท์ต่างๆ ให้ลูก สอนลูกเรียกชื่อสิ่งต่างๆ รอบตัว ชวนลูกคุย หรืออ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางภาษาของลูก

 

ทำไมช่วงนี้ลูกติดแม่

baby20

ทารกวัย 7 เดือน

ในวัยนี้ลูกจะแสดงอาการติดแม่มากขึ้น และชอบสำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว แต่ก็จะคอยหันดูแม่ว่าแม่อยู่ใกล้ ๆ หรืออยู่แถวนั้นหรือไม่ และเมื่อลูกติดแม่แล้ว ลูกก็จะไม่ค่อยไว้ใจคนอื่นเท่าไหร่ โดยเฉพาะคนแปลกหน้า ลูกอาจจะอาละวาดหรือร้องไห้เสียงดัง เมื่ออยู่กับคนแปลกหน้า

 

ลูกหัวเราะง่ายผิดปกติไหม ?

ไม่ผิดปกตินะคะ หากเป็นการหัวเราะชอบใจเมื่อได้เล่นของที่ชอบ หรือมีเรื่องทำให้สนใจ เช่น แกล้งทำเป็นของหล่นแล้วแกล้งตกใจเมื่อของหล่น ลูกก็จะหัวเราะออกมาง่าย ๆ เมื่อคุณแม่ทำซ้ำ ยังไม่ทันเสร็จลูกก็จะหัวเราะออกมาก่อน

 

กล้ามเนื้อของลูกแข็งแรงมากแค่ไหน

baby19

ทารกวัย 7 เดือน

เด็ก 7 เดือน นอกจากการนั่งที่มั่นคงแล้ว ยังเป็นการเตรียมพร้อมไปสู่การเคลื่อนไหว เช่น การคลาน ยืน หรือเดิน ลูกจะนั่งได้มั่นคงแล้วเพื่อฝึกฝนการคืบคลานต่อไป ซึ่งนอกจากความพร้อมของกล้ามเนื้อต่างๆ ที่ช่วยให้ลูกคลานได้แล้ว สมองส่วนบนและล่างที่ควบคุมกล้ามเนื้อเหล่านั้นต้องทำงานประสานกันได้ดีด้วย คุณแม่จึงต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้ฝึกการเคลื่อนไหวระหว่างวันมากกว่าปล่อยให้ลูกนอนอยู่กับที่ โดยอาจจะหาของเล่นมาหลอกล่อให้ลูกพยายามเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ และเรียนรู้ที่จะคืบและคลานอย่างถูกวิธี

  • การหยิบ : ลูกมักหยิบจับสิ่งของใหญ่ ๆ ก่อนสิ่งของที่เล็ก เป็นการประสานงานระหว่างมือและตา ช่วยให้หยิบสิ่งนั้น ๆ ขึ้นมาได้ คุณแม่อาจฝึกทักษะทางสังคม เรื่องการให้และรับกับลูกด้วยก็ได้ เรียกว่าเป็นการปูพื้นฐานเรื่องนี้ตั้งแต่เล็กๆ
  • การสัมผัส : ลูกจะสัมผัสพื้นผิวที่มีความแตกต่างกัน เช่น เรียบ ขรุขระ หยาบ  นุ่ม จะช่วยให้ลูกจับสัมผัสที่แตกต่าง โดยขณะให้ลูกจับสัมผัส คุณแม่ควรบอกลูกด้วยว่า สัมผัสแบบนั้นเรียกว่าอย่างไร โดยพูดสั้นๆ เช่น ผ้าลื่นๆ ช้อนแข็งๆ ตุ๊กตานิ่มๆ ทรายสากๆ เป็นต้น

 

สิ่งที่ต้องควรระวังเมื่อลูกเคลื่อนไหว

  • ปลั๊กไฟ
  • บันได
  • พัดลม
  • ของมีคม

 

พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงและเห็นได้ชัด

คุณแม่อาจจะเห็นลูกน้อยมีอาการหงุดหงิดก่อนเข้านอน และเริ่มส่งเสียงดังอ้อแอ้ขึ้นกว่าเดิม เวลาที่รู้สึกไม่สบายตัว คุณแม่สามารถส่งเสียงปลอบโยนลูก และโอบกอดลูกเพื่อสร้างความอบอุ่น

  • เตรียมทำท่าคลาน เด็กบางคนอาจคลานได้บ้างแล้วในเดือนนี้
  • หันศีรษะได้ตามที่ต้องการ
  • ยืนขึ้นได้โดยการช่วยดึงของผู้เลี้ยง
  • นั่งได้นานโดยไม่ต้องใช้หมอนพยุง ไม่ต้องพึ่งสิ่งของ
  • ยันตัวให้ขึ้นในท่านั่งได้
  • ถือของได้ด้วยมือทั้ง 2 ข้างและนำมาตีกัน
  • ชอบให้มีคนเล่นด้วยและชอบเล่นของเล่น
  • เล่น จ๊ะเอ๋ หรือทำเสียงแปลก ๆ ลูกจะชอบมากและหัวเราะเสียงดัง
  • ชอบโยนสิ่งของเล่นเพื่อความสนุก
  • เลียนแบบเสียงและลองออกเสียงจากสิ่งที่ได้ยิน
  • ออกเสียงได้เป็นคำ ๆ เช่น ป๊ะ หม่ำ ปา มา
  • กลัวคนแปลกหน้า และ ติดคนเลี้ยง
  • แยกเสียงอารมณ์ของผู้ที่คุยด้วยได้ว่าโกรธหรืออารมณ์ดีอยู่
  • เคลื่อนตัวไปหยิบของที่ต้องการเล่นได้เอง
  • ชอบเล่นของเล่นที่มีเสียง

 

พ่อแม่ควรเล่นกับลูกวัยนี้อย่างไร ?

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

เล่นกับลูกน้อย เช่น สมมติว่าคุณพ่อคุณแม่เป็นเพื่อนวัยเดียวกับเค้า จะช่วยพัฒนาการและกระตุ้นทักษะด้านภาษาได้ การออกเสียง ขยับปากช้าๆ พร้อมทำท่าทางและหยิบจับของเล่นใกล้ตัวให้ลูกน้อยจดจำ การที่มีคนเล่นด้วยลูกน้อยก็จะเลียนแบบและออกเสียงตามโดยอัตโนมัติ  บางครั้งสอนให้ลูกน้อยจำสิ่งของด้วยการเล่นซ่อนหากับของเล่นที่เค้าชอบ ก็ช่วยฝึกความจำและการเคลื่อนไหวร่างกายไปพร้อมๆ กัน กิจกรรมสนุกๆ อีกอย่างที่เด็กๆ ชอบมาก คือ การเล่นน้ำ ซึ่งต้องระวังเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ และอย่าปล่อยให้คลาดสายตา เพราะลูกน้อยวัย 7 เดือนยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

 

theAsianparent Thailand เชื่อว่าการศึกษาที่ดี จะช่วยเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้างสภาะแวดล้อมในการเรียนรู้ได้อย่างสมวัย และเป็นไปตามที่พ่อแม่ต้องการการเลือกโรงเรียนให้กับลูกคือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี่ การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกได้ เช่น มีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรวิชาการที่พอดีกับการเรียนรู้ การใช้ Play Base Learning เพื่อเสริทสร้างพหุปัญญษทั้ง 8 ด้าน หรือ EF ที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill อย่างสมดุลย์ เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และทำให้เด็กค้นพบตัวตน และมีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

 

ที่มา : (enfababy),(enfababy)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

เข้าใจช่วงรับรู้ไวและส่งเสริม ให้ลูกมี พัฒนาการด้านภาษา ที่ดีได้อย่างไร

วิธีเล่นแบบไหนช่วยเสริมพัฒนาการลูก

ลูกฉลาดด้วย Executive Functions (EF) – ดนตรีกับพัฒนาการ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

nantichaphothatanapongbow

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • พัฒนาการทางภาษา เด็กวัย 7 เดือน ลูกพูดได้เยอะหรือยังนะ
แชร์ :
  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว