X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 สเต็ปพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เจ้าตัวน้อย

บทความ 3 นาที
5 สเต็ปพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เจ้าตัวน้อย

การเรียนรู้ที่จะยอมรับและควบคุมอารมณ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ และเราในฐานะพ่อแม่ จะช่วย พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของลูก ได้อย่างไร

5 สเต็ปพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของลูก

Denise Daniels นักเขียนและผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการสังคมและอารมณ์ของเด็กได้ให้คำแนะนำ 5 ข้อในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของเด็ก จากประสบการณ์ของเธอไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

  1. สนับสนุนให้ลูกได้เล่นในสิ่งที่เขาอยากเล่น

ให้ลูกเลือกเองว่าอยากเล่นอะไรและเล่นแบบไหน พ่อแม่ไม่ควรพูดว่า ลูกต้องเล่นแบบนี้สิ แบบนั้นสิ ควรปล่อยให้ลูกได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยในเรื่องพัฒนาการสมองของลูกเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์กับลูกอีกมากมาย อาทิ ในเรื่องของการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ ได้ฝึกการตัดสินใจ และรู้จักแก้ปัญหาต่างๆ

แม้พ่อแม่จะไม่เข้าไปก้าวก่ายการเล่นของลูก แต่เมื่อไรก็ตามที่ลูกต้องการความช่วยเหลือจากคุณ หรืออยากให้คุณมีส่วนร่วมกับเขา อย่าลังเลที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมนะคะ ทั้งนี้คุณแม่ไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาทั้งหมดให้ลูก แต่ควรกระตุ้นลูกโดยการตั้งคำถามว่า ลูกคิดว่ายังไงจ๊ะ? หรือ เราจะไปหาคำตอบที่ไหนกันดี? เป็นต้น

  1. สอนลูกให้รู้จักอารมณ์ตัวเอง

เมื่อลูกบอกว่า เขารู้สึกกลัว โศกเศร้า หรือกำลังโกรธ คุณพ่อคุณแม่ควรแสดงความเห็นอกเห็นใจ แทนที่จะบอกลูกว่า “ไม่เอาน่าอย่ารู้สึกแบบนั้น” การพูดเช่นนั้นจะเป็นการปิดโอกาสในการสื่อสารกับลูก ทำให้ลูกรู้สึกผิดที่แสดงอารมณ์เช่นนั้นออกมา แล้วลูกจะไม่เล่าให้คุณฟังอีกว่า เขากำลังรู้สึกอย่างไร เพราะเขาไม่ได้รู้สึกว่าพ่อแม่สนใจและเข้าใจความรู้สึกของเขา

  1. หยุดความคิดของคุณ ก่อนทำร้ายลูกด้วยคำพูด

บางครั้งพ่อแม่อาจพูดหรือทำโดยไม่คิด เช่น พูดว่า “ไม่มีอะไรน่ากลัวเลย” แม้จะดูเป็นคำพูดปกติที่ไม่มีพิษมีภัย แต่แม่รู้ไหม มันอาจทำให้เจ้าตัวน้อยรู้สึกว่าเขาด้อยค่า ไม่เก่ง และไม่สำคัญ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อลูกในระยะยาว เช่น เขาอาจเติบโตขึ้นมากับความกลัวที่ถูกห้ามไม่ให้แสดงอารมณ์ความรู้สึก หรืออาจมีภาวะซึมเศร้า ความอัดอั้นนี้อาจทำให้เขาระเบิดคำพูดแรงๆ ออกมาในวันใดวันหนึ่งก็ได้

เพราะฉะนั้น เมื่อลูกของคุณทำบางอย่างที่เขารู้ว่ามันผิด อย่าเพิ่งโพล่งถ้อยคำเชิงลบออกไป แต่ควรหยุด หายใจลึกๆ และคิดให้ดีก่อน

Advertisement
  1. ฟังลูกอย่างเข้าใจ

ถามลูกว่าเพราะอะไรเขาจึงทำเช่นนั้น เด็กบางคนจงใจทำเพราะรู้สึกเบื่อ หรืออยากเรียกร้องความสนใจ หรืออาจมีเหตุผลอื่นๆ การรับฟังลูกอย่างเห็นอกเห็นใจจะทำให้ลูกยอมพูดกับคุณอย่างหมดเปลือก และทำให้คุณได้เข้าใจเหตุผลว่าทำไมลูกจึงแสดงพฤติกรรมเช่นนั้นออกมา ซึ่งจะดีกว่าการลงโทษลูกด้วยอารมณ์ แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาให้กับลูก

  1. พ่อแม่ก็ควรเคารพลูกเช่นกัน

พ่อแม่บางคนเอาแต่สนใจสมาร์ทโฟนในมือ ในขณะที่ลูกตัวน้อยก็พยายามจะเรียกให้พ่อแม่สนใจ “พ่อจ๋า พ่อจ๋า พ่อจ๋า พ่อจ๋า…” แต่ไม่มีสัญญาณตอบรับใดๆ ทำให้ลูกเริ่มใช้วิธีตะโกนเสียงดังขึ้น ซึ่งพ่อแม่มักไม่พอใจที่ลูกทำเหมือนไม่เคารพพ่อแม่เช่นนี้ แต่คุณอาจลืมมองพฤติกรรมของตัวเอง เช่น คุณไม่เคาะประตูก่อนเข้าห้องลูก ไม่เคารพความเป็นส่วนตัวของลูก สิ่งเหล่านี้เองที่ลูกมักจะเรียนรู้และเลียนแบบจากการกระทำของพ่อแม่ เพราะฉะนั้น หากคุณทำให้ลูกเห็นว่าคุณเคารพคนอื่น ลูกของคุณก็จะเรียนรู้ที่จะทำแบบเดียวกับคุณ

แม้คำแนะนำของ Denise อาจจะไม่ได้ทำตามได้ง่ายๆ แต่ยังไม่สายที่คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มสอนเจ้าตัวน้อยให้รู้จัก เข้าใจ และจัดการอารมณ์ของตัวเอง ซึ่งทำอย่างต้องอาศัยเวลาและการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอค่ะ

ที่มา www.inc.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

4 วิธีพัฒนา EQ ลูก

5 ความเชื่อผิด ๆ ในการเลี้ยงดูส่งผลเสียต่อ IQ และ EQ ของลูกได้

theAsianparent Community

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 5 สเต็ปพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เจ้าตัวน้อย
แชร์ :
  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

  • ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

    ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

  • ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

    ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว