คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่รู้กันดีว่า เด็กสมัยนี้นอกจากมี IQ แล้วยังต้องมี EQ ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งหมายถึงทั้งฉลาดรอบรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว และก็ยังต้องฉลาดที่จะเข้าสังคมด้วย ดังนั้น ‘การรู้จักอารมณ์ของตัวเอง’ จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความฉลาดทางอารมณ์ ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เราขอนำเสนอ 4 วิธีพัฒนาEQ ให้ลูกของคุณรู้จักอารมณ์ของตัวเอง และรู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง จนนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมอย่างเหมาะสม และสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข
1. พ่อแม่สอนลูก
การพัฒนา EQ คุณพ่อคุณแม่เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้ลูกรู้จักอารมณ์ สีหน้าท่าทางของคุณพ่อคุณแม่จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ และสัมผัสถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดอารมณ์ได้จริง เพราะสังคมแรกที่ลูกต้องอยู่ก็คือครอบครัวนั่นเอง การที่ได้ฝึกเรียนรู้จากคนในครอบครัว จะทำให้เขารู้จักสีหน้าท่าทางของคุณพ่อคุณแม่ ว่าตอนไหนอารมณ์ดี ตอนไหนอารมณ์ไม่ดี ทำให้ลูกรู้ว่าควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร
คุณพ่อคุณแม่อาจแสดงสีหน้าท่าทางของแต่ละอารมณ์ พร้อมกับนั่งอธิบายไปด้วยว่า อารมณ์นี้เรียกว่าอารมณ์อะไร อธิบายและยกตัวอย่างง่ายๆ ให้ลูกฟัง เช่น “ถ้าลูกเป็นเด็กดี พ่อกับแม่จะมีความสุข และยิ้มปากกว้างๆ แบบนี้”
2. เล่นเกมทายอารมณ์
คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีเล่นเกมทายอารมณ์กับลูก ลองวาดรูปอารมณ์แต่ละประเภทใส่กระดาษ หลังจากนั้นให้เขาทายว่ารูปนี้คืออารมณ์อะไร ก็จะช่วยให้เขารู้จักและจำอารมณ์แต่ละประเภทได้ดีขึ้น
เป็นเรื่องยากที่จะสอนเด็กครั้งเดียว แล้วเด็กจะจำได้เลย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกซ้ำๆ ทบทวนบ่อยๆ เพื่อให้เขารู้จักอารมณ์แต่ละประเภทได้ดียิ่งขึ้น
3. นั่งดูการ์ตูนกับลูก
หลายครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกไปดูหนังดูการ์ตูนเพียงลำพัง เพื่อตัวเองจะได้มีเวลาส่วนตัวไปทำอย่างอื่น หลังจากนี้ ลองเปลี่ยนไปนั่งดูการ์ตูนพร้อมกับลูก และสอนลูกไปด้วย ว่าสีหน้าท่าทางที่ตัวการ์ตูนแสดงอารมณ์เรียกว่าอะไร เพราะการ์ตูนจะแสดงอารมณ์ไม่ซับซ้อน มีเพียงอารมณ์เดียว และยิ่งถ้าเป็นการ์ตูนเรื่องโปรดของลูก ก็จะยิ่งช่วยให้เด็กจดจำอารมณ์และความรู้สึกได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
4. จดบันทึกอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
สิ่งสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ คือการทบทวน ในแต่ละวันลองฝึกให้ลูกเขียนบันทึกประจำวัน ว่าวันนี้เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง และลูกรู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ เพื่อทบทวนและทำความเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง
การเขียนเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนา EQ เพราะการเขียนช่วยทำให้เด็กรับรู้ และรู้จักกับอารมณ์ของตัวเองมากขึ้น
มีการศึกษามานานเกี่ยวกับ EQ ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี คศ.1920 เมื่อ Edward L.Thorndike ตั้งศัพท์ว่า “ Social intelligence” หมายถึง ความสามารถเข้าใจผู้อื่น และสามารถเกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วยได้อย่างเหมาะสม แต่ยังไม่ได้รับความสนใจนักจนเมื่อปี คศ.1973 Daniel Goleman จากภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด เขียนบทความชี้ว่า ระดับคะแนนจากการสอบระดับเชาว์ปัญญาของนักเรียน ไม่ได้ประกันถึงความสำเร็จในอาชีพในอนาคต ซึ่งนับจากปี คศ. 1980 เป็นต้นมา จึงมีผู้สนใจและศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของอารมณ์ที่มีต่อสติปัญญา ความสร้างสรรค์ และพัฒนาการของบุคลิกภาพอย่างแพร่หลาย
เรื่องของเชาว์อารมณ์นี้ มีผู้ให้คำนิยามไว้หลายความหมาย อาทิ
Peter Salovey และ John D.Mayer (คศ.1990) เชาว์อารมณ์ คือ ความสามารถของบุคคลในการที่จะไหวเท่าทันในความคิด ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น สามารถกำกับควบคุม และจำแนกแยกแยะข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการชี้นำความคิด และการกระทำของตนเอง
Goleman (คศ.1998) เชาว์อารมณ์ คือ ความสามารถในการตระหนักรู้ถึงความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น เพื่อสร้างแรงจูงใจในตัวเอง บริหารจัดการอารมณ์ต่าง ๆ ของตนเองและอารมณ์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้
ทำไม EQ จึงมีความสำคัญ และประโยชน์ต่อบุคคลในหลายแง่มุม ทั้งในชีวิตการงาน ครอบครัว และส่วนตัว มีหลายเรื่องครับ
1.บุคลิกภาพ EQ ช่วยส่งเสริมให้มีบุคลิกภาพที่ดี เป็นที่รักของบุคคลรอบข้าง และเป็นที่ยอมรับของสังคม เนื่องจากสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ดี เข้าใจความรู้สึก ความต้องการของผู้อื่น
2. การสื่อสารกับผู้อื่น สามารถแสดงความรู้สึก อารมณ์ของตนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมตามกาละเทศะ
3. การทำงาน ช่วยในการทำงานมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีความคิดสร้างสรรค์ มีแรงจูงใจ มีความพยายาม และได้รับความร่วมมือจากผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้อง
4. การให้บริการ ด้วยการรับฟังและเข้าใจความต้องการของลูกค้า จึงตอบสนองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
5. การบริหารจัดการ ช่วยเสริมความเป็นผู้นำ รู้จักใช้คน และครองใจคนได้
6. เข้าใจชีวิตของตนเองและผู้อื่น ผู้ ที่ เข้า ใจ ตน เอง มีความอดทน ควบคุมตนเองได้ และเข้าใจ เห็นอกเห็นใจผู้อื่นเป็น ย่อมจะเป็นที่รักของบุคคลทั้งหลาย ส่งผลให้ทั้งชีวิตการงานและครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
นิทานธรรมะ เล่าให้ลูกฟังก่อนนอน : ความอดทน นิทานดี ๆ พร้อมข้อคิดสอนใจ
ใช้ทักษะ Executive Functions (EF) สอนลูกให้ฉลาดด้วยการพา ไปเที่ยว
3 สารอาหารสำคัญ สุดยอดเคล็ด(ไม่)ลับ เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย ให้เขาเก่งกว่าใคร
https://baby.kapook.com/view177848.html
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!