X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 โรคหน้าร้อนที่เด็กต้องระวัง

บทความ 5 นาที
5 โรคหน้าร้อนที่เด็กต้องระวัง

เพราะอากาศที่ร้อนจัดจนผู้ใหญ่ยังแทบทนไม่ไหว ยิ่งคุณแม่ที่มีลูกเล็กภูมิต้านทานยังน้อย ยิ่งมีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย มาดูกันว่าโรคหน้าร้อนที่เด็กต้องระวังมีอะไรกันบ้าง และคุณแม่จะดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคหน้าร้อนเหล่านี้อย่างไร

1. เลือดกำเดาไหล

เลือดกำเดาออก

คุณแม่อาจตกใจที่จู่ๆ ก็มีเลือดกำเดาไหลออกมาจากจมูกของลูกเมื่ออากาศร้อนจัด ในกรณีที่ลูกเป็นภูมิแพ้นั้น เลือดกำเดาไหลมีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยๆ ซึ่งคุณแม่ควรเตรียมการรับมือเอาไว้

อากาศเปลี่ยนแปลงเป็นสาเหตุของเลือดกำเดาไหล

อาจารย์นายแพทย์อนัญญ์ เพฑวณิช ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เลือดกำเดาไหลเมื่ออากาศร้อนไว้ว่า ผู้ที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้จะมีปัญหาเรื่องการปรับตัวของเยื่อบุจมูก คือจมูกจะไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไม่ว่าจะเป็นอากาศร้อนหรือเย็น โดยจะมีอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันจมูก ชอบขยี้จมูกจนเกิดรอยบริเวณสันจมูก มีเสมหะในคอ และอาจพบอาการคันตา แสบตา น้ำมูกไหล คันหู หูอื้อ รวมถึงเลือดกำเดาไหลบ่อยด้วย

วิธีดูแลเมื่อลูกเลือดกำเดาไหล

ผศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน  ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล แนะวิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกน้อยเลือดกำเดาไหล ดังนี้

  1. ให้ลูกก้มหน้าลง ใช้ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือบีบปีกจมูกทั้งสองข้างให้แน่นเป็นเวลา 5–10 นาที ระหว่างนี้ให้หายใจทางปากแทน
  2. หลังเลือดกำเดาไหล 24-48 ชั่วโมงแรก ควรหลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรงๆ การแคะจมูก การออกแรงมากๆ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณจมูก เพราะอาจทำให้มีเลือดออกได้
  3. เมื่อเลือดหยุดแล้วควรนอนพัก ยกศีรษะสูง นำน้ำแข็งหรือ coldpack มาประคบบริเวณหน้าผากหรือคอ ประมาณ 10 นาที แล้วจึงเอาออกประมาณ 10 นาที แล้วค่อยประคบใหม่เป็นเวลา10 นาที ทำเช่นนี้สลับกันไปเรื่อย ๆ
  4. ถ้าเลือดออกไม่หยุดหรือออกมากผิดปกติ ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ทันที
Advertisement

2. ไข้หวัดแดด

ไข้หวัดแดด

นพ.ศักดา อาจองค์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ไข้หวัดแดดเกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ถูกกระตุ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ เช่น เมื่ออยู่ในบ้านอากาศเย็นแล้วออกนอกบ้านเจอกับอากาศร้อนในทันที หรืออยู่นอกบ้านอากาศร้อนแล้วเข้าห้างเจอแอร์เย็นๆ ทันที นอกจากนี้การดื่มน้ำเย็นจัดในขณะที่อากาศร้อนจัด ก็มีผลให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อร่างกายปรับตัวไม่ทันก็ทำให้มีอาการเหมือนเป็นไข้ขึ้นมาได้

ไข้หวัดแดดมีอาการอย่างไร

อาการของไข้หวัดแดดไม่ต่างจากหวัดในฤดูกาลอื่น คือจะมีไข้ ปวดเมื่อยตัว ปวดหัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหารมีอาการไอ จาม เสมหะ น้ำมูก และอาจตามมาด้วยอาการเจ็บคอ ฯลฯ ส่วนความรุนแรงจะต่างกันไปอยู่ที่การรับเชื้อและสุขภาพร่างกายของเด็กแต่ละคน

วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นไข้หวัดแดด

หากลูกเป็นไข้ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ ทานอาหารร้อน ๆ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น ทานยาลดไข้ และนอนพักผ่อน หากไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์

วิธีป้องกันไข้หวัดแดด

  • หลีกเลี่ยงแดดร้อนจัด
  • หลีกเลี่ยงสถานที่มีผู้คนแออัด เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ตลาด เพื่อป้องกันการรับเชื้อไวรัส
  • รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หมั่นล้างมือให้สะอาด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

3. ลมแดด

ลมแดด

เภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล อธิบายเกี่ยวกับโรคลมแดดไว้ว่า โรคลมแดดเกิดจากอุณหภูมิรอบๆ ตัวสูงจัด ทำให้อุณภูมิในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังระบบการเต้นของหัวใจ และระบบหลอดเลือด ทำให้มีอาการตั้งแต่เป็นผื่นแดงๆ ตามร่างกาย ไปจนถึงเป็น ลมหมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่เกิดได้ง่ายในเด็ก  เพราะร่างกายของเด็กมีการเผาผลาญพลังงานที่สูงกว่าวัยอื่นๆ แต่ระบบระบายความร้อนในร่างกายเด็กยังมีขนาดเล็ก

สังเกตอาการเมื่อลูกเป็นลมแดด

ลูกจะมีอาการตัวจะเริ่มร้อน ชีพจรเต้นเร็วแรง หิวน้ำบ่อยๆ และหายใจกระชั้นถี่ เหมือนคนพึ่งออกกำลังกายเสร็จ

บทความแนะนำ แม่เกือบแย่…เมื่อลูกรักเป็นฮีทสโตรก!!

วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นลมแดด

ควรรีบพาลูกเข้าไปในที่ร่มที่อากาศถ่ายเทสะดวก ถอดเสื้อออกเพื่อให้ความร้อนระบาย ให้ลูกนอนหงาย ขายกสูงเพื่อให้ระบบการไหลเวียนของเลือดคล่องตัวมากขึ้น หาผ้าขนหนูก็ชุบน้ำมาเช็ดตัวจะช่วยให้อุณหภูมิเย็นลงเร็วขึ้น

วิธีป้องกันโรคลมแดด

ในวันที่อากาศร้อนจัด พยายามให้ลูกดื่มน้ำเยอะๆ ประมาณ 8-10 แก้ว ใส่เสื้อผ้าบางๆ หากออกนอกบ้านควรใส่หมวก ไม่ควรให้ลูกเล่นกลางแดดจัดๆ หรือจำกัดเวลาการเล่นกลางแจ้ง

4. ท้องเสีย ท้องร่วง

ท้องเสีย

อากาศร้อนอุณหภูมิสูงทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตเร็วอาหารต่างๆ มีโอกาสบูดเสียได้ง่ายกว่าปกติ รวมถึงการทานอาหาร น้ำ และน้ำแข็งที่ไม่สะอาดมีเชื้อโรคปนเปื้อน อาหารไม่ปรุงสุกใหม่ๆ หรืออาหารค้างคืน ก็เป็นสาเหตุทำให้ลูกท้องเสียได้

วิธีป้องกันลูกท้องเสีย

ควรดูแลสุขอนามัยในการรับประทานอาหาร เลือกเฉพาะอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ และควรดูแลเรื่องความสะอาดของของใช้ของลูก อุปกรณ์ที่ใช้ชงนม ความสะอาดของเต้านม และมือของคุณแม่ด้วย

วิธีการดูแลเมื่อลูกท้องเสีย

เมื่อลูกน้อยเริ่มมีอาการถ่ายเหลวตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ใน 1 วัน ในเบื้องต้นให้ดูแลรักษาด้วยการดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป โดยป้อนในปริมาณ 2-3 ออนซ์ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หากลูกยังไม่หยุดถ่าย ควรรีบไปพบแพทย์

5. ไวรัสตับอักเสบเอ

ไวรัสตับอักเสบเอ

ไวรัสตับอักเสบเอ เป็นอีกโรคหนึ่งที่มักระบาดในหน้าร้อน นพ.สุขประเสริฐ จุฑากอเกียรติ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า เกิดจากการทานอาหารที่ปนเปื้อนไวรัสตับอักเสบเอ เช่นอาหารสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะหอยดิบ หอยลวก เมื่อเชื้อโรคชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวราว 2-4 สัปดาห์

สังเกตอาการไวรัสตับอักเสบเอ

อาการป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มจากมีไข้ ปวดเมื่อยตัว คลื่นไส้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ต่อมาพอไข้ลด จะเริ่มปรากฏอาการตัวเหลือง และตาเหลือง

นพ.สุขประเสริฐ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผู้ใหญ่มักจะมีอาการแสดงที่รุนแรงกว่าเด็ก เนื่องจากภูมิคุ้มกันของเด็กยังไม่แข็งแรง ร่างกายจึงมีปฏิกิริยาไม่รุนแรงในการต่อสู้กับเชื้อโรค ต่างจากผู้ใหญ่ที่ภูมิคุ้มกันแข็งแรงกว่า ปฏิกิริยาจึงรุนแรงกว่า

วิธีป้องกับไวรัสตับอับเสบเอ

หากเคยป่วยด้วยโรคไวรัสตับอักเสบเอแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันโรคไว้จึงไม่ป่วยซ้ำอีก อย่างไรก็ดีโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันไว้ก่อน โดยวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ มีด้วยกัน 2 เข็ม ต้องฉีดห่างกัน 6 เดือน ส่วนวิธีป้องกันโดยทั่วไป ก็คือการ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ นั่นเองค่ะ

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.si.mahidol.ac.th, www.dailynews.co.th, www.oknation.net

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

4 เครื่องดื่มต้องห้ามที่ควรเลี่ยงหน้าร้อน

5 ภัยหน้าร้อนสำหรับเด็กและทารกที่คุณนึกไม่ถึง

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • 5 โรคหน้าร้อนที่เด็กต้องระวัง
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว