theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

5 เหตุผล ทําไมคนท้องต้องตรวจฟัน

บทความ 8 นาที
•••
5 เหตุผล ทําไมคนท้องต้องตรวจฟัน5 เหตุผล ทําไมคนท้องต้องตรวจฟัน

ทำไมคนท้องต้องตรวจฟัน หลายคนคงมีความสงสัยว่ามีความสำคัญมากแค่ไหน สุขภาพช่องปากในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรเอาใจใส่ เพราะสุขภาพช่องปาก เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกายโดยรวม และสามารถส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น คุณแม่ควรทราบถึงวิธีการดูแลช่องปาก และการป้องกันปัญหาเหงือก และฟันที่ถูกต้อง เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง และลูกน้อยในระยะยาวต่อไป

 

 

ทำไมคนท้องต้องตรวจฟัน ?

นอกจากการตั้งครรภ์จะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพช่องปากด้วยเช่นกัน โดยสตรีมีครรภ์บางรายอาจเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างโรคเหงือก หรือฟันผุได้ เนื่องจากฮอร์โมนต่าง ๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้น จนส่งผลต่อการตอบสนองของร่างกายต่อคราบเชื้อแบคทีเรียที่เกาะอยู่บนผิวฟัน และยังมีปัจจัยอื่น ๆ อย่างพฤติกรรมของคุณแม่ หรือความเปลี่ยนแปลงของร่างกายด้านอื่น ที่อาจทำให้เกิดปัญหาช่องปากได้ในที่สุด

 

  1. ส่งผลให้ลูกมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคฟันผุ การที่ภายในช่องปากของคุณแม่นั้นมีหินน้ำลาย (หินปูน) หรือฟันผุหลายซี่ จะทำให้มีปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปากมาก และมีโอกาสสูงที่จะเกิดการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก ส่งผลให้ลูก มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคฟันผุ
  2. โรคปริทันต์อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด และเด็กจะมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ได้ โดยสาเหตุคาดว่าเกิดจากแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งจะเข้าสู่กระแสเลือด และผ่านเข้าสู่รกได้ เป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบ และรบกวนการเจริญเติบโตของทารก และยังอาจทำให้เกิดการกระตุ้นสารกลุ่มไซโตไคน์ (Cytokines) ที่กระตุ้นให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หรือถุงน้ำคล่ำแตกได้
  3. เหงื่อกอักเสบ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียเดิมที่อยู่ในช่องปาก
  4. เนื้อฟันกร่อนเมื่อตั้งครรภ์ อาการแพ้ท้องเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ซึ่งการอาเจียรจากการแพ้ท้อง จะส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารขึ้นมาสะสมอยู่ภายในช่องปาก หากแปรงฟันทันทีก็อาจจะทำให้เนื้อฟันกร่อนได้ ดังนั้น ต้องไม่แปรงฟัน หลังจากอาเจียรโดยเด็ดขาด แต่ควรแปรงฟันหลังจากอาเจียร อย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อทำความสะอาด กรดภายในช่องปาก
  5. เนื้องอกในช่องปาก ผู้หญิงตั้งครรภ์บางราย อาจมีเนื้องอกผิดปกติเกิดขึ้นในช่องปาก บริเวณเหงือก อาการนี้มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ และเนื้องอกสามารถยุบไปได้เองหลังจากคลอดบุตร แต่หากเนื้องอก มีเลือดออก หรือทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที

 

 

ทำไมคนท้องต้องตรวจฟัน

 

 

ความเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพช่องปากที่มีผลต่อการตั้งครรภ์

สุขภาพช่องปากมีส่วนสำคัญต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม ซึ่งหากไม่ดูแลรักษา สุขภาพช่องปาก ให้ดี และปล่อยให้เป็นปัญหาเรื้อรังก็อาจส่งผลอันตรายต่อแม่ และทารกในครรภ์ได้ โดยมีการศึกษาพบว่าปัญหาสุขภาพช่องปากบางชนิดอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ เช่น โรคปริทันต์อักเสบ อาจส่งผลให้ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ และแบคทีเรียในช่องปากที่มีจำนวนมาก อาจส่งผลให้เกิดภาวะฟันผุในทารกได้ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของแม่ และเด็ก ขณะตั้งครรภ์ควรรักษาสุขภาพช่องปากให้ดีตามที่แพทย์แนะนำ และควรไปพบแพทย์ทันที หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในช่องปาก

 

 

ดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไรในระหว่างตั้งครรภ์ ?

การเอาใจใส่สุขภาพช่องปากให้มากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพของคุณแม่ และทารกในครรภ์ได้ โดยคุณแม่สามารถทำตามแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

 

  • ไปพบทันตแพทย์ หญิงตั้งครรภ์ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก และเมื่อต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปาก ควรแจ้งทันตแพทย์ให้ทราบว่า ตนกำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากการรักษาบางวิธี อาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเป็นการรักษาที่ไม่จำเป็นต้องรีบทำในทันที นอกจากนี้ ก่อนไปพบทันตแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลครรภ์ด้วยเพื่อความปลอดภัย

 

  • แจ้งทันตแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้ ข้อมูลการใช้ยาเป็นส่วนสำคัญที่แพทย์ควรทราบก่อนตรวจรักษาสุขภาพช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นยา หรือวิตามินเสริมที่กำลังใช้อยู่ เพื่อให้แพทย์สามารถติดตามอาการ หรือวางแผนรักษาได้อย่างเหมาะสม

 

  • เปลี่ยนยาสีฟันที่เป็นสาเหตุของอาการแพ้ท้อง คนท้องบางราย อาจมีอาการแพ้ท้อง เนื่องมาจากรสชาติของยาสีฟันที่ใช้ ดังนั้น หากมีอาการดังกล่าว ควรเปลี่ยนไปใช้ยาสีฟันที่เหมาะกับตน

 

 

ทำไมคนท้องต้องตรวจฟัน

 

 

  • บ้วนปากอย่างสม่ำเสมอ คุณแม่ที่มีอาการอาเจียรจากการแพ้ท้องบ่อย ๆ ควรหมั่นบ้วนปากบ่อย ๆ ด้วยเช่นกัน เพื่อลดความเสี่ยงจากกรดในกระเพาะอาหารที่ออกมา พร้อมกับการอาเจียร และกัดกร่อนฟันได้

 

  • เสริมแคลเซียม ภาวะขาดแคลเซียมเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดูก และฟันเสียหายได้ง่ายเนื่องจากมวลกระดูกลดลง ดังนั้น ควรรับประทานแคลเซียมให้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุชนิดนี้อย่างเพียงพอ และช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงให้แก่ทารกในครรภ์ ซึ่งคุณแม่สามารถได้รับแคลเซียมจากการรับประทานอาหารแคลเซียมสูง เช่น นม ชีส โยเกิร์ตชนิดไม่หวาน หรือนมถั่วเหลืองเพิ่มแคลเซียม เป็นต้น

 

  • รับประทานวิตามินดีให้มากขึ้น นอกจากแคลเซียมแล้ว วิตามินดีก็เป็นสารอาหารที่จำเป็น เพราะจะช่วยให้ร่างกายนำแคลเซียมไปใช้ได้ดียิ่งขึ้น โดยอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ได้แก่ ชีส ไข่ ปลาที่มีไขมันสูงอย่างปลาแซลมอน เป็นต้น

 

 

 

การดูแลสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์

  • เมื่ออายุครรภ์ 4 – 6 เดือน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟัน และทำความสะอาดช่องปาก ไม่ควรรอจนกระทั่งมีอาการ
  • แปรงฟันให้สะอาด อย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ นาน 2 นาที ร่วมกับการทำความสะอาดซอกฟันทุกวัน
  • หลังอาเจียนจากการแพ้ท้องหรือทานอาหารเปรี้ยว ควรบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยง การกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน นมเปรี้ยว

 

ทำไมคนท้องต้องตรวจฟัน

เมื่อสุขภาพช่องปากไม่ดีขณะตั้งครรภ์จะส่งผลต่อลูกอย่างไร

 

ภาวะโรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบ

เกิดจากการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่เพียงพอ อาจจะทำให้เกิดภาวะ “คลอดก่อนกำหนด” หรือ “น้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์” ได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่อลูกน้อยตามมา เช่น มีอัตราการเสียชีวิตแรกคลอด และอัตราการเจ็บป่วยสูง มีโอกาสที่ทารกจะมีความผิดปกติแต่กำเนิด ได้แก่ ความผิดปกติของระบบหายใจ สมอง และพัฒนาการ

 

การกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง

  • มารดาเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีโอกาสเป็นเบาหวานในอนาคต และมีภาวะแทรกซ้อนทั้งขณะตั้งครรภ์ และจากการคลอด เช่น ครรภ์เป็นพิษ รกลอกตัวก่อนกำหนด
  • ลูกมีโอกาสน้ำหนักแรกคลอดมาก และภาวะหายใจเร็วในทารกแรกคลอดได้

 

รู้จักโรคเหงือกอักเสบ

เหงือก เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะปริทันต์ ที่ทำหน้าที่ยึดฟันไว้ในกระดูกขากรรไกร และรองรับแรงในการบดเคี้ยว เหงือกปกติจะมีสีชมพู ขอบเรียบ ไม่บวม ไม่มีเลือดออก โรคเหงือกอักเสบ เป็นโรคที่เกิดขึ้นในประชากรถึงร้อยละ 80 โดยมักจะไม่มีอาการ ลักษณะของโรคเหงือกอักเสบ คือ เหงือกมีสีแดง อาจจะมีลักษณะบวมเล็กน้อย และสิ่งที่จะใช้สังเกตได้ง่ายคือ “การมีเลือดออกขณะแปรงฟัน”  ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเกิดจากการแปรงฟันแรง หรือใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็งเกินไป

 

สาเหตุโรคเหงือกอักเสบ

สาเหตุของโรคเหงือกอักเสบคือ “คราบจุลินทรีย์” ซึ่งเกิดจากการสะสมของเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ในน้ำลายลงบนตัวฟัน ลักษณะของคราบจุลินทรีย์เป็นคราบสีขาวอ่อนนุ่ม เมื่อมีปริมาณน้อยมักจะมองไม่เห็นเนื่องจากมีสีกลืนไปกับตัวฟัน หากคราบจุลินทรีย์ถูกทิ้งไว้นานจะเกิดการสะสมแร่ธาตุเกิดเป็น “หินน้ำลาย หรือหินปูน”  ซึ่งจะส่งเสริมให้มีการสะสมของคราบจุลินทรีย์มากขึ้น  เชื้อโรคที่เกาะบนหินน้ำลายนี้จะผลิตสารพิษ ทำให้ร่างกายมีการตอบสนองจนเกิดการอักเสบของเหงือกขึ้น โรคเหงือกอักเสบหากทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ในผู้ป่วยบางรายจะกลายเป็น “โรคปริทันต์อักเสบ” (สมัยก่อนเรียกโรครำมะนาด)  ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียฟันในวัยผู้ใหญ่

 

รักษาเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบสามารถรักษาได้ง่ายโดยการขูดหินน้ำลาย (ขูดหินปูน) ร่วมกับการพัฒนาวิธีการแปรงฟัน และใช้อุปกรณ์เสริมที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสะสมใหม่ของคราบจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค  โดยสำหรับคนส่วนใหญ่ควรได้รับการขูดหินน้ำลายทุก ๆ 6 – 12 เดือน

 

 

รู้จักโรคปริทันต์อักเสบ

ลักษณะของโรคปริทันต์อักเสบ คือ เหงือกไม่ยึดกับฟัน ร่วมกับมีการทำลายกระดูกที่รองรับตัวฟัน ตรวจได้จากการหยั่งร่องเหงือกลงไปได้ลึก เรียก “ร่องลึกปริทันต์” ซึ่งเกิดจากเชื้อโรค ผลิตสารพิษ และกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองของร่างกายอย่างมาก จนเกิดการทำลายเหงือก และกระดูกที่ยึดฟัน โรคปริทันต์อักเสบเมื่อเป็นช่วงต้นมักจะไม่มีอาการ ลักษณะที่พอจะใช้สังเกตได้คล้ายกับลักษณะของโรคเหงือกอักเสบ กล่าวคือ เหงือกแดงบวมเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีเลือดออกขณะแปรงฟัน

 

เมื่อโรคปริทันต์ลุกลามมากขึ้น จนกระดูกที่รองรับฟันถูกทำลายไปมากแล้ว อาจจะพบเหงือกร่น ฟันโยก หรือฟันเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม การมีหนอง และกลิ่นปาก หรือเหงือกบวมใหญ่จนเป็นฝีปริทันต์  เมื่อมีอาการเหล่านี้แล้วการรักษามักจะยุ่งยาก ใช้เวลานาน และมีค่าใช้จ่ายสูง และในบางกรณีอาจจะไม่สามารถเก็บฟันไว้ได้

 

 

รักษาปริทันต์อักเสบ

เมื่อเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งมีการละลายของกระดูกแล้ว ขั้นตอนการรักษาจะยุ่งยากขึ้น แบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ

 

  • ช่วงต้นหรือช่วงควบคุมโรค โดยการขูดหินน้ำลาย และเกลารากฟัน ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการรักษาหลายครั้งจึงจะเสร็จทั้งปาก ขึ้นอยู่กับความลึกของร่องลึกปริทันต์ และปริมาณหินน้ำลายใต้เหงือก

 

  • ช่วงแก้ไข ในรายที่ผู้ป่วยเป็นโรคในระดับที่รุนแรงมากขึ้น การรักษาช่วงต้น อาจจะยังไม่สามารถกำจัดคราบหินน้ำลายใต้เหงือกได้หมด จึงจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเหงือกในบางบริเวณร่วมด้วย ในบางกรณีที่เหมาะสม อาจสามารถทำศัลยกรรมปลูกกระดูกทดแทนได้ด้วย และการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ

 

  • ช่วงคงสภาพ คือช่วงสุดท้าย เนื่องจากสาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบ คือเชื้อโรคจากน้ำลายที่มาสะสมบนตัวฟัน ดังนั้นแม้การรักษาจะเสร็จสิ้นแล้ว หากไม่ได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ โรคจะกลับเป็นใหม่ได้ง่าย ดังนั้นหลังจากการรักษาแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการขูดหินน้ำลาย เพื่อป้องกันการกลับเป็นใหม่ของโรค โดยมากผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคปริทันต์อักเสบแล้ว ควรได้รับการขูดหินน้ำลายทุก ๆ 3 – 6 เดือน

 

 

ผลกระทบของโรคต่อสุขภาพเหงือก

เนื่องจากโรคปริทันต์อักเสบ เป็นผลจากการตอบสนองของร่างกายต่อเชื้อโรคในคราบจุลินทรีย์ ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อภูมิคุ้มกัน ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเป็นโรคปริทันต์อักเสบสูงขึ้น ปัจจัยที่มีผลอย่างเด่นชัด คือ โรคเบาหวาน และการสูบบุหรี่ โดยผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน มีโอกาสที่จะเป็นโรคปริทันต์อักเสบ มากถึง 2 เท่า ของผู้ป่วยที่ไม่มีโรคนี้

 

หากผู้ป่วยเบาหวาน ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี โอกาสที่จะเป็นโรคปริทันต์อักเสบ จะมากกว่าผู้ป่วยปกติถึง 11 เท่า เช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ ทั้งนี้หากผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี และลด หรือเลิกสูบบุหรี่โอกาสในการรักษาโรคปริทันต์ให้ได้ผลสำเร็จจะมีมากขึ้น

 

 

 

ที่มา : mahidol , ddbmh , bangkokhospital , lpnh

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 87 คุณแม่ท้อง กับ ทันตกรรม

คนท้องปวดฟัน สามารถกินยาแก้ปวดบรรเทาอาการได้ไหม

ทำไม อยากกินของหวานตอนท้อง คนท้องชอบกินของหวาน อันตรายไหม?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 2
  • /
  • 5 เหตุผล ทําไมคนท้องต้องตรวจฟัน
แชร์ :
•••
เมื่อลูกป่วย ในวันที่พ่อแม่ ขาดรายได้  อย่าปล่อยให้ ' เรื่องค่าใช้จ่าย มาเป็นข้อจํากัด
  • อาหารคนท้อง ไตรมาส 2 ท้องไตรมาสสอง สารอาหารอะไรที่ให้ร่างกายแข็งแรง

    อาหารคนท้อง ไตรมาส 2 ท้องไตรมาสสอง สารอาหารอะไรที่ให้ร่างกายแข็งแรง

  • ทําไมคนท้องชอบนอน คนท้องนอนเยอะ คนท้องนอนนาน อันตรายหรือไม่ คนท้องนอนท่าไหนดี

    ทําไมคนท้องชอบนอน คนท้องนอนเยอะ คนท้องนอนนาน อันตรายหรือไม่ คนท้องนอนท่าไหนดี

  • ตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ ที่จะบอกว่าลูกในท้องแข็งแรงดีแค่ไหน

    ตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ ที่จะบอกว่าลูกในท้องแข็งแรงดีแค่ไหน

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

app info
get app banner
เมื่อลูกป่วย ในวันที่พ่อแม่ ขาดรายได้  อย่าปล่อยให้ ' เรื่องค่าใช้จ่าย มาเป็นข้อจํากัด
  • อาหารคนท้อง ไตรมาส 2 ท้องไตรมาสสอง สารอาหารอะไรที่ให้ร่างกายแข็งแรง

    อาหารคนท้อง ไตรมาส 2 ท้องไตรมาสสอง สารอาหารอะไรที่ให้ร่างกายแข็งแรง

  • ทําไมคนท้องชอบนอน คนท้องนอนเยอะ คนท้องนอนนาน อันตรายหรือไม่ คนท้องนอนท่าไหนดี

    ทําไมคนท้องชอบนอน คนท้องนอนเยอะ คนท้องนอนนาน อันตรายหรือไม่ คนท้องนอนท่าไหนดี

  • ตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ ที่จะบอกว่าลูกในท้องแข็งแรงดีแค่ไหน

    ตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ ที่จะบอกว่าลูกในท้องแข็งแรงดีแค่ไหน

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป