มาถึง ครรภ์ 26 สัปดาห์ แล้วตอนนี้ลูกน้อยในท้องของคุณแม่มีพัฒนาการไปอีกขั้น ท้องคุณแม่จะโตเร็วขึ้น ทำให้หน้าท้องหนักมากขึ้น ช่วงนี้แม่ท้องจะเริ่มรู้สึกปวดเมื่อยบ้างแล้ว ในช่วง อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ นี้คุณแม่สามารถเริ่มเตรียมข้าวของเครื่องใช้ให้ลูกได้บ้างแล้วนะ
พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 26
- ในสัปดาห์นี้ลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่จะมีดวงตาเป็นรูปเป็นร่างแล้ว อีกไม่นานเด็กน้อยจะเริ่มลืมตาขึ้น
- ในด้านของการฟัง ลูกน้อยจะได้ยินเสียงของพ่อแม่ได้ดีขึ้น เพราะว่าระบบหูของลูกน้อยมีการพัฒนาได้เต็มที่แล้ว อย่าลืมคุย หรือร้องเพลงกับลูกบ่อย ๆ นะคะ
- ลูกจะเริ่มฝึกหายใจ โดยการหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าและหายใจเอาน้ำคร่ำออก การฝึกหายใจแบบนี้ช่วยให้ลูกสามารถปรับสภาพได้ดีเวลาคลอด
- ตอนนี้น้ำหนักตัวของลูกอยู่ที่ 600-800 กรัม ใกล้จะแตะ 1 กิโลกรัมเข้าไปทุกทีแล้วค่ะ
- ระบบภูมิคุ้มกันของลูกเริ่มพัฒนามากขึ้น โดยร่างกายของลูกค่อย ๆ ซึมซับแอนติบอดีเข้าสู่ร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมออกมาลืมตาดูโลก
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
คนท้อง 26 สัปดาห์ เป็นอย่างไร ?
- ตอนนี้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกนอนไม่ค่อยหลับ เพราะอาการปวดหลัง ปวดขา ขาชาบ่อย ๆ ทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น
- มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง และครรภ์เป็นพิษ ดังนั้น คุณแม่ต้องหมั่นไปพบคุณหมอตามนัดอย่าได้ขาด
- การมองเห็นของคุณแม่จะแย่ลง บางครั้งมองไปทางไหนจะรู้สึกเบลอ ๆ เป็นผลมาจากฮอร์โมนทำให้ตาของคุณแม่แห้ง
- มีอาการบวมตามข้อเท้าและน่อง คุณแม่สามารถบรรเทาอาการบวมโดยการนอนราบ วางเท้าไว้บนหมอนอิงเพื่อยกขาให้สูงกว่าสะโพก
การดูแลตัวเองตอน อายุครรภ์ 26 สัปดาห์
- พยายามดูแลเรื่องอาหารการกิน และหมั่นออกกำลังกายเสมอเพื่อเร่งสร้างความแข็งแรงของมดลูก และเตรียมพร้อมในการคลอดลูก
- หากคุณแม่มีอาการปวดบริเวณหัวหน่าว แนะนำให้ออกกำลังกายเบา ๆ บริเวณกระดูกเชิงกราน ถ้ามีอาการปวดมากร่วมกับอาการบวมที่ค่อนข้างรุนแรงกว่าปกติคุณควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
ครรภ์ 26 สัปดาห์ ควรทำอะไร
- เลือกซื้อผ้าชุดคลุมท้องที่มีขนาดใหญ่ขึ้น รองรับขนาดหน้าท้องที่ขยายมากขึ้นในอนาคต
- เริ่มคิดวางแผนวิธีการเดินทางไปโรงพยายาม เพื่อเตรียมพร้อมในกรณีฉุกเฉิน
วิดีโอจาก : โตไปด้วยกัน Family Journey
อาการเปลี่ยนแปลงคุณแม่อายุครรภ์ 26 สัปดาห์
การปวดหัว จะพบในคุณแม่ที่เป็นไมเกรนอยู่แล้ว นอนไม่เพียงพอ ดื่มน้ำน้อย กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ เกิดระดับน้ำตาลต่ำ ความเครียด
วิธีแก้ไขอาการปวดหัว
- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินน้ำให้เยอะ ๆ
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ให้ครบ 8 – 10 ชั่วโมง ถ้านอนไม่หลับในช่วงกลางคืน ให้หาเวลางีบในช่วงกลางวัน
- เลี่ยงความเครียด ความกังวล ไม่อ่านอะไรที่เศร้า แนะนำให้ฟังเพลงที่ชอบ หรือดูหนังที่ชอบ
- เลี่ยงการอยู่ในที่ร้อน ๆ คนเยอะ ๆ ออกไปสูดอากาศ ในที่ที่ถ่ายเท หายใจสะดวก
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในท่าทางที่ออกได้ อย่างเหมาะสม ไม่หักโหมจนเกินไป
อาการเหล่านี้มักเกิดจากการที่คุณแม่ เพิ่งกินอาหารเสร็จใหม่ ๆ เพราะท้องขยายมากขึ้น ลำไส้จะถูกมดลูกดัน ทำให้เกิดอาการจุกเสียด
วิธีแก้อาการปวดท้อง
- กินอาหารที่ย่อยง่าย เลี่ยงอาหารที่มีรสจัด หรือของทอด
- ไม่กินอาหารครั้งละมาก ๆ แบ่งอาหารกินในแต่ละมื้อ
คุณแม่จะรู้สึก ปวดเต้านม เหมือนในช่วงที่มีประจำเดือน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้เต้านม ไวต่อความรู้สึก
วิธีแก้อาการปวดเต้านม
- ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมเบา ๆ และควรเลือกเสื้อในที่ใหญ่ขึ้น สามารถรับน้ำหนัก ของเต้านมได้อย่างพอดี
อาการปวดหลัง เกิดจากการที่คุณแม่ แบกรับน้ำหนักมากเกินไป และเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน ทำให้เส้นเลือดกระดูกสันหลังหลวม เพื่อพร้อมในการคลอด จึงเป็นสาเหตุที่คุณแม่หลาย ๆ คนมีอาการปวดหลัง
วิธีแก้อาการปวดหลัง
- เลือกใส่รองเท้าที่สบาย เป็นส้นเตี้ย เพื่อรองรับน้ำหนักของคุณแม่
- เวลานั่ง นอน ควรมีหมอนหนุนท้อง หนุนหลัง เพื่อพยุงน้ำหนักของท้อง ลดการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนหลังได้มาก และนอนหลับสบายมากขึ้น
อาการปวดหน่วงท้องน้อย จะมีอาการคล้ายปวดประจำเดือน เนื่องจากมดลูกมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น จึงมีเลือดเลี้ยงมากขึ้น ทำให้มดลูกบวม เกิดขึ้นใน 36 สัปดาห์ เพราะมดลูกจะต่ำลง บางคนอาจจะปวดตึงที่อวัยวะเพศได้
วิธีแก้อาการปวดหน่วย บริเวณท้องน้อย
- คุณแม่ควรนอนนิ่ง ๆ หรือนั่งพัก รออาการปวดหายดีก่อน
- ตอนนั่ง ควรยกขาสูง เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี ช่วยลดอาการปวดท้อง
- ออกกำลังกายเบา ๆ หรือเล่นโยคะ เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้อง และหลังแข็งแรง จะช่วยลดอาการปวดท้องหน่วงได้
อีกไม่นานเกินรอคุณแม่ก็จะได้เห็นหน้าทารกน้อยแล้ว อย่าลืมที่จะดูแลครรภ์ให้สมบูรณ์แข็งแรง และคอยสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายอยู่เรื่อย ๆ ด้วยนะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
7 อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ไตรมาสสอง ต้องระวัง อาการแบบไหนเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ
5 อาหารที่ไม่ควรกินตอนท้อง เพราะอาจทำให้ทารกพิการหรือตายได้
ที่มา : whattoexpect, mamastory
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!