สอนลูก ให้รู้จักขอบคุณ ขั้นตอนที่ใช้ในการสอนลูกคุณให้มีการพัฒนาทัศนคติ
การ สอนลูก ให้รู้จักขอบคุณ เป็นอีกหนึ่งการสอนลูกน้อยที่สำคัญอย่างมาก และ คุณพ่อคุณแม่ควรตระหนักว่า หากลูกไม่พูดขอบคุณจะต้อง ว่า ตักเตือนทุกครั้งไป จริงๆแล้วมีวิธีอื่นๆ อีกหลายวิธีที่ลูกสามารถปฎิบัติตามได้ มาติดตามกันได้เลยค่ะ
สอนลูกให้รู้จักขอบคุณ ทำอย่างไร ?
” ขอบคุณค่ะแม่! ” นี่เป็นคำพูดที่ซึ้งใจสุด ๆ จากลูกสาววัย 3 ขวบของฉัน ในทุกครั้งที่ฉันให้สิ่งที่เธอต้องการ หรือ สิ่งที่เธอร้องขอ เธอจะพูดว่า ” ขอบคุณค่ะ ” กับพ่อของเธอ และ กับคนอื่น ๆ ที่ทำสิ่งต่าง ๆ ให้เธอ ในขณะที่เธอยังเป็นเด็ก ฉันก็เห็นได้ว่าลูกน้อยนั้นเรียนรู้วิธีการขอบคุณสำหรับสิ่งที่คนอื่นทำให้ หรือ สำหรับของที่คนอื่นให้กับเธอ
งานวิจัยในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าคนที่มีทัศนคติกตัญญูรู้คุณ จะมีระดับของความสุข และ มีการมองโลกในแง่ดีสูงด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบอีกว่าบุคลิกลักษณะเช่นนี้จะได้รับผลกระทบจากความเครียดหรือปัญหาน้อยลง ในฐานะที่เป็นแม่ ฉันรู้สึกภูมิใจในทัศนคติของลูกสาว แต่ โปรดจำไว้ว่าทัศนคติของลูกน้อยไม่ได้มาในชั่วข้ามคืน ฉัน และ สามีต้องใช้เวลาในการค่อย ๆ ปลูกฝังทัศนคตินี้ให้กับเขา ดังนั้น หากคุณต้องการทราบในแต่ละขั้นตอนของการ สอนลูก คุณให้รู้จักขอบคุณ ลองอ่านบทความนี้ดูค่ะ
สอนลูกด้วยการ “ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง “:
ให้การพูดคำว่า ” ขอบคุณ ” เป็นส่วนหนึ่งของนิสัยคุณ หาเหตุผลให้เรื่องที่คุณพูดคุยในแต่ละวันทำให้เกิดความรู้สึกขอบคุณ การที่คุณทำเช่นนี้จะทำให้ลูกของคุณซึมซับทัศนคติของคุณ กล่าวคำ “ขอบคุณ” สามี หรือ ภรรยาของคุณไม่ว่าลูกของคุณจะเห็น หรือ ได้ยินคุณหรือไม่ก็ตาม แสดงความรู้สึกซาบซึ้งเมื่อลูกของคุณได้ทำอะไรให้ เช่น เมื่อคุณขอร้องให้เขาหยิบของเล่นจากพื้น หรือ ขอให้เขาช่วยยื่นบางอย่างให้กับคุณ คุณควรกล่าวคำขอบคุณเสมอเมื่อเขาทำสำเร็จ นอกจากกล่าวคำว่า “ขอบคุณ” แล้ว คุณควรชมเขาด้วยว่า “เก่งมาก” “ดีมาก” หรือ “ว้าว ลูกช่างเชื่อฟังคำแม่ / พ่อดีจัง” หรือ “แม่รู้สึกขอบคุณในสิ่งที่ลูกทำ” “หนูทำดีแล้วนะลูก ” หรือข้อความอื่น ๆ ที่แสดงออกถึงความรู้สึกขอบคุณ
ให้ลูกคุณช่วยทำงานบ้าน: เช่น การขอให้เขาเก็บของเล่นให้เรียบร้อย การทำความสะอาดโต๊ะ การล้างผักผลไม้เพื่อทำอาหาร ฯลฯ เมื่อคุณขอร้องให้ลูกคุณเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานบ้าน พวกเขาจะทราบว่าการทำงานบ้านนั้นไม่ได้ง่ายเลย และ พวกเขาจะซึ้งใจในความพยายามของพ่อแม่ที่ทำให้กับเขา
สนับสนุนให้เขากล่าวคำ “ขอบคุณ” : อธิบายให้เขาเข้าใจว่าการขอบคุณคนอื่นที่ให้บางอย่าง หรือ ทำบางสิ่งให้เขานั้นเป็นส่วนหนึ่งของมารยาทที่ดี สำหรับเด็กเล็ก ๆ แล้วเขาต้องใช้เวลาที่จะซึมซับสิ่งเหล่านี้ ดังนั้น เมื่อมีคนให้สิ่งของหรือของขวัญแก่เขา คุณควรพาเขากล่าวคำ “ขอบคุณ” ในช่วงแรก ๆ คุณอาจจะต้องบอกให้เขาทำตามคุณ แต่ เมื่อเขาเริ่มเคยชินแล้ว ครั้งต่อไปคุณไม่จำเป็นต้องบอกให้เขาทำ เนื่องจาก เขาจะเริ่มทำด้วยตัวเขาเอง เช่นเดียวกับ ลูกคนโตของฉันที่เริ่มกล่าวคำขอบคุณเองเป็นครั้งแรกว่า “ขอบคุณสำหรับนมค่ะคุณพ่อ” คำนี้ทำให้ฉัน และ สามีปลื้มใจสุด ๆ
ทำให้ความรู้สึกขอบคุณเกิดขึ้นเป็นกิจวัตรประจำวันของคุณ:
คุณสามารถทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ในช่วงที่สมาชิกในครอบครัวรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน ก่อนที่คุณจะเริ่มรับประทานอาหาร แต่ละคนสามารถแบ่งปันถึงความรู้สึกขอบคุณที่แต่ละคนมี แม้กระทั่งลูกตัวน้อยของคุณก็สามารถแบ่งปันสิ่งที่เขารู้สึกขอบคุณได้ การสวดมนต์ก่อนนอน เพื่อขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือ ขอบคุณพระเจ้านั้นก็สามารถช่วยได้ นอกจากนี้ คุณยังสามารถทำรายการสิ่งที่คุณ สามี หรือภรรยาของคุณ และ ลูก ๆ ของคุณรู้สึกซาบซึ้งใจ
เขียนโน้ตขอบคุณ:
เมื่อมีใครให้สิ่งของกับคุณ คุณควรเขียนโน้ตกล่าวคำขอบคุณเสมอ เมื่อลูกคุณเห็นการแสดงออกนี้แล้ว พวกเขาจะทราบถึงความสำคัญของการแสดงความขอบคุณ
เรียนรู้ที่จะปฏิเสธลูกของคุณ: ในฐานะที่เป็นพ่อแม่ เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณอยากจะให้ทุกสิ่งที่ลูกต้องการ แต่ มันจะไม่เป็นผลดีหากคุณให้เขาในทุกสิ่งที่เขาต้องการ และ เรียกร้อง เนื่องจาก เด็กเด็กอาจจะเกิดความซาบซึ้งน้อยลง หรือ ไม่รู้สึกขอบคุณในสิ่งที่คุณให้เลย ดังนั้น คุณควรทำให้เขารู้ว่าไม่ใช่ว่าเขาจะได้ในทุกสิ่งที่เขาร้องขอหรือต้องการ คุณควรฝึก “ปฏิเสธ” กับลูกของคุณ การทำเช่นนี้จะยิ่งทำให้ลูกของคุณรู้สึกซาบซึ้งใจตอนที่คุณให้สิ่งที่พวกเขาอยากได้อย่างมาก
Source : britishcouncil
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
สอนลูกกินด้วยตัวเอง วิธีฝึกให้เด็ก ๆ กินอาหารด้วยตัวเอง
สอนลูกพูดต้องเริ่มยังไง 100 คำที่เด็กควรรู้ ภาษาไทยพื้นฐาน พ่อแม่ควรสอนลูก
เรียนรู้ นิสัยของเด็กวัย 2 ขวบ รู้ก่อนรับมือได้ทัน แก้ไขและสอนลูกอย่างถูกวิธี
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!