X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 7 เอาลูกเข้าเต้า การปั๊มนมครั้งแรก

บทความ 5 นาที
100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 7 เอาลูกเข้าเต้า การปั๊มนมครั้งแรก

คุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่ชินกับการ เอาลูกเข้าเต้า และการปั๊มนมครั้งแรก วันนี้เรามีท่า เอาลูกเข้าเต้า เพื่อไม่ให้ผิดท่าและ การปั๊มนม มาฝากคุณแม่กันค่ะ

การเอาลูกเข้าเต้า

  • ใช้มือประคองเต้านม โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบน เหนือขอบนอกของลานหัวนม ส่วนนิ้วที่เหลือประคองเต้านมด้านล่าง (ไม่ควรใช้ท่าแบบนิ้วคีบบุหรี่ เพราะช่องว่างระหว่างนิ้วจะแคบ ทำให้ลูกอมได้ไม่ลึกพอ และนิ้วอาจจะกดบริเวณท่อน้ำนม ทำให้น้ำนมไหลไม่ดี)
  • อุ้มลูกโดยใช้มืออีกข้างประคองที่ต้นคอและท้ายทอย (ไม่กดที่ใบหู) ลูกเงยหน้าเล็กน้อย เคลื่อนลูกเข้ามาโดยให้คางของลูกเข้ามาชิดกับเต้านมส่วนล่าง (สังเกตว่าจังหวะนี้จมูกของลูกจะอยู่ตรงกับหัวนมแม่) ลูกก็จะเริ่มอ้าปาก ถ้าลูกไม่อ้าปาก ให้ใช้หัวนมเขี่ยริมฝีปากล่างของลูกเบาๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกอ้าปาก
  • รอจนลูกอ้าปากกว้าง (เหมือนหาว) จึงเคลื่อนศีรษะลูกเข้าหาเต้านมอย่างรวดเร็วแต่นุ่มนวลก่อนที่ลูกจะเริ่มหุบปากลง จะไม่ใช้วิธีโน้มตัวแม่เพื่อนำเต้านมเข้าหาลูก
  • ให้ลูกอมงับถึงลานนม โดยให้อมลานนมส่วนล่างมากกว่าลานนมส่วนบน ให้คางลูกแนบชิดกับเต้านมส่วนล่าง วิธีนี้จะช่วยให้ลิ้นของลูกยื่นออกมารีดน้ำนมจากเต้าแม่ได้ดีขึ้น และจมูกของลูกจะอยู่ห่างออกจากเต้าแม่เล็กน้อย คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะหายใจไม่สะดวก
    การอุ้มลูกเข้าเต้าอย่างถูกต้อง นอกจากจะช่วยให้แม่ไม่เจ็บหัวนมแล้ว ยังทำให้ลูกดูดนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 10 เจ็บเต้านม บรรเทาอาการอย่างไร

วิธีสังเกตลูกเข้าเต้าหรือยัง ?

  • ลูกอมลานนมด้านล่างได้มากกว่าด้านบน ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ายังมองเห็นลานนมด้านบน ในขณะที่ลานนมด้านล่างถูกปากลูกอมจนมิดหรือเกือบมิด
  • ปากลูกอ้ากว้างแนบสนิทกับเต้านมแม่
  • ริมฝีปากล่างบานออกเหมือนปากปลา
  • คางลูกต้องแนบชิดเต้านมแม่

6 ท่าอุ้มเข้าเต้าสำหรับมือแม่มือใหม่ 

Advertisement
เอาลูกเข้าเต้า

เอาลูกเข้าเต้า

  • ท่าลูกนอนขวางบนตัก (Cradle hold)

ท่าอุ้มให้นมแม่หรือการอุ้มลูกเข้าเต้าแบบคลาสสิก การที่อุ้มลูกวางไว้บนตักหรืออาจรองด้วยหมอนบนตัก มือและแขนประคองตัวลูกไว้ค่ะ ให้ตัวของลูกนอนตะแคงเข้าหาตัวคุณแม่ และศีรษะลูกควรอยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย ท้ายทอยลูกวางอยู่บริเวณแขนของแม่ มืออีกข้างของคุณแม่ให้ประคองเต้านมไว้ค่ะ เพื่อป้องกันการปิดกั้นจมูกของลูกค่ะ ท่าให้นมลักษณะนีเหมาะสำหรับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติ เนื่องจากคุณแม่ผ่าคลอดอาจไปกดแผลบริเวณหน้าท้องได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องไม่เจ็บหัวนม มีเทคนิคแบบไหนบ้าง

  • ท่านอนขวางบนตักประยุกต์ (cross-cradle hold)

ท่าอุ้มให้นมนี้คล้ายกับท่านอนขวางตัก เพียงแต่เปลี่ยนมือค่ะ โดยใช้มือข้างเดียวกับเต้านมที่ลูกดูดประคองเต้านม มืออีกข้างรองรับต้นคอและท้ายทอยของลูกแทนค่ะ ท่านี้เหมาะสำหรับหัดลูกเข้าเต้านม เพราะจะช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะลูกได้ดีกว่า ท่าอุ้มให้ลูกกินนมนี้เหมาะที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด เล็กตัวเล็กและทารกที่มีปัญหาในการดูดนม ลูกไม่เข้าเต้าค่ะ

  • ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Football hold)

ท่าอุ้มให้นมนี้ ตัวลูกจะอยู่ในท่ากึ่งตะแคงกึ่งนอนหงาย โดยที่ขาชี้ไปทางด้านหลังของแม่ และมือของแม่จับประคองที่ต้นคอและท้ายทอยของลูก กอดลูกให้กระชับกับสีข้างของคุณแม่ และลูกดูดนมจากเต้านมข้างเดียวกับมือที่จับลูกไว้ มืออีกข้างประคองเต้านมไว้ ท่านี้ใช้ได้ดีสำหรับคุณแม่ผ่าคลอดเพื่อหลีกเลี่ยงการกดทับแผลผ่าคลอด ลูกตัวเล็กหรือมีปัญหาในการเข้าเต้านม คุณแม่หน้าอกใหญ่หรือหัวนมแบน คุณแม่ลูกแฝดที่ต้องดูดนมพร้อมกันค่ะ

  • ท่าเอนตัว (laid-back hold)

ท่าเอนตัวให้นมเป็นหนึ่งในตำแหน่งการให้นมที่สะดวกสบายที่สุดค่ะ โดยที่คุณแม่นอนเอนตัว วางลูกไว้บนหน้าอกใช้มือของคุณโอบลูกน้อยไว้เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวและล้มลงของลุก ควรให้ศีรษะลูกเอียงเล็กน้อย เพื่อป้องกันการปิดกั้นทางเดินหายใจค่ะ ท่านี้เป็นท่าที่ป้องกันการสำลักนมได้ดี รู้สึกสบายทั้งคุณแม่และลูกน้อย

  • ท่านอน (Side lying position)

ท่านอนให้นมเป็นท่าที่แม่และลูกนอนตะแคงเข้าหากันค่ะ แม่นอนศีรษะสูงเล็กน้อย หลังและสะโพกตรง ให้ปากลูกอยู่ตรงกับหัวนมของแม่ มือที่อยู่ด้านล่างประคองตัวลูกให้ชิดลำตัวแม่ อาจใช้ผ้าขนหนูที่ม้วนไว้หรือหมอนหนุนหลังลูกแทนแขนแม่ก็ได้ค่ะ มือที่อยู่ด้านบนประคองเต้านมในช่วงแรกที่เริ่มเอาหัวนมเข้าปากลูก เมื่อลูกดูดได้ดีสามารถขยับออกได้ค่ะ ท่านี้เหมาะสำหรับแม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ต้องการพักผ่อน หรือการนั่งลำบากนั่งไม่สบาย หรือสำหรับให้นมลูกเวลากลางคืนค่ะ

  • ท่าตั้งตรง (Upright or standing baby)

ท่าให้นมนั่งตรงคือ การอุ้มลูกน้อยตั้งตรง ขาลูกน้อยคล่อมต้นขาคุณแม่ไว้ ศีรษะและลำตัวของลูกเอนเล็กน้อย ใช้มือประคองศีระษะของลูกและเต้านมไว้ค่ะ ท่าอุ้มให้นมนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีปัญหาปากแหว่ง หรือมีแนวโน้มที่จะหายใจไม่ออก หรือมีกรดไหลย้อนค่ะ จะช่วยให้ลูกน้อยดูดนมได้ง่ายขึ้นค่ะ

ทำไมต้องปั๊มนม ? 

  • กระตุ้นการผลิตน้ำนม คุณแม่มีปริมาณน้ำนมมากขึ้น
  • ช่วยเก็บสำรองนมแม่ ในกรณีแม่ต้องหยุดให้นม เนื่องจากใช้ยาหรือรับการรักษา
  • ช่วยเบาเทาความเจ็บปวดจากการคัดเต้านม แต่หากปั๊มนมมากเกินไปในช่วงที่คัดเต้านมอาจทำให้อาการเจ็บยิ่งรุนแรงขึ้นได้

เลือกเครื่องปั๊มนมอย่างไรให้เหมาะสม

เครื่องปั๊มนมเป็นอุปกรณ์ เพื่อให้คุณแม่ปั๊มนมได้สะดวกสบาย เครื่องปั๊มนมขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และความถี่ในการใช้งาน รวมถึงได้ปริมาณน้ำนมตามความต้องการ ซึ่งเครื่องปั๊มนมที่นิมยมมี 2 แบบ ได้แก่

บทความจากพันธมิตร
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
  • เครื่องปั๊มนมธรรมดา เป็นที่ปั๊มนมชนิดใช้มือ ราคาถูกและมีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ต้องการปั๊มนมเป็นครั้งคราว ไม่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ต้องทำงานประจำ เนื่องจากต้องใช้เวลานาน
  • เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า มีราคาค่อนข้างแพง แต่ใช้งานง่ายกว่าชนิดธรรมดา ทั้งยังช่วยทุ่นเวลาในการปั๊มนม และได้ปริมาณนมมากกว่า โดยเครื่องปั๊มชนิดนี้มีให้เลือกใช้ทั้งแบบปั๊มทีละข้างหรือปั๊มพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง

บทความที่เกี่ยวข้อง : เครื่องปั๊มนมแบบไฟฟ้า คุณภาพแน่น ๆ ถูกใจแบบไหน โดนใจดีไซน์ไหน เลือกเลย!

วิธีปั๊มนมที่ถูกต้อง 

การปั๊มนมด้วยมือ

  • ล้างมือและขวดนมให้สะอาด
  • นวดหน้าอกหรือใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณเต้านม เพื่อช่วยให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น
  • นั่งลงแล้วเอนตัวไปด้านหน้า
  • วางนิ้วโป้งเหนือหัวนม นิ้วชี้อยู่ด้านใต้หัวนม โดยให้นิ้วทั้งสองห่างจากลานหัวนมประมาณ 1 นิ้ว และมืออยู่ในลักษณะรูปตัวซี (C)
  • กดนิ้วทั้งสองลงไปพร้อมกันช้า ๆ เพื่อบีบน้ำนมออกมา หากยังไม่ออกให้ค่อย ๆ ปรับทิศทางจนน้ำนมไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง
  • เปลี่ยนบริเวณที่บีบไปรอบ ๆ ลานนม เพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บจากการบีบน้ำนมบริเวณเดิมซ้ำ ๆ
  • เก็บน้ำนมไว้ในบรรจุภัณฑ์หรือขวดนมที่สะอาด

การปั๊มนมด้วยเครื่อง

  • ล้างมือ อุปกรณ์ปั้มนม และขวดนมให้สะอาด
  • วางกรวยเต้าสำหรับปั๊มนมบนหัวนม โดยให้กรวยอยู่ตรงกลางหัวนม
  • ประคองเต้านมด้วยมือข้างเดียว โดยให้นิ้วโป้งอยู่ด้านบน ส่วนนิ้วที่เหลือประคองอยู่ด้านใต้เต้านม และระมัดระวังอย่าออกแรงดันหัวนมกับกรวยเต้านมมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดรอยที่ผิวบริเวณเต้านมได้
  • ปรับความเร็วและอัตราการปั๊มนมตามคู่มือการใช้เครื่อง โดยควรเริ่มต้นจากอัตราการปั๊มที่ต่ำและเร็ว เมื่อน้ำนมเริ่มไหลอย่างคงที่่ ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ1-3 นาที แล้วจึงค่อยปรับความเร็วให้ช้าลงและเพิ่มอัตราการปั๊มขึ้น
  • การปั๊มนมแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที เมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้ค่อย ๆ นำกรวยเต้าสำหรับปั๊มนมออกจากเต้านม จากนั้นนำน้ำนมที่ได้ไปเก็บไว้ในที่เย็นทันที เพื่อรักษาคุณภาพของน้ำนม
  • ทำความสะอาดเครื่องปั๊มนมตามคู่มือการใช้ และเก็บให้มิดชิดเพื่อป้องกันเชื้อโรคและสิ่งสกปรก

ที่มา pobpad.com

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

nantichaphothatanapongbow

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 7 เอาลูกเข้าเต้า การปั๊มนมครั้งแรก
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว