X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องไม่เจ็บหัวนม มีเทคนิคแบบไหนบ้าง

บทความ 5 นาที
เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องไม่เจ็บหัวนม มีเทคนิคแบบไหนบ้าง

เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร หากให้นมในท่าที่ถูกต้องจะทำให้คุณแม่หายเจ็บหัวนมได้จริงหรือ เรามาดู เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องกันเลยค่ะ

เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร หากให้นมในท่าที่ถูกต้องจะทำให้คุณแม่หายเจ็บหัวนมได้จริงหรือ เรามาดู เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องกันเลยค่ะ

 

เทคนิคการดูดนมที่ถูกต้อง 

  • ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนให้นมมารดา
  • เช็ดทำความสะอาดหัวนมด้วยน้ำต้มสุกก่อนและหลังให้นม
  • ทั้งมารดาและทารกควรอยู่ในท่าที่สบาย
  • อุ้มทารกอยู่ในอ้อมแขน ศีรษะหนุนบนข้อศอก
  • แขนและมือประคองลำตัวและบริเวณก้น
  • ให้หัวนมเขี่ยที่ปากเพื่อกระตุ้นให้ทารกอ้าปาก ทารกจะหันมาดูดเอง มารดาอาจบีบหัวนมให้นมไหลออก
  • มาก่อนเล็กน้อย ให้ทารกอมหัวนมให้ลึกถึงลานหัวนม เพื่อป้องกันหัวนมแตก
  • ระวังเต้านมจะปิดจมูกทารก ให้กดเต้านมใต้จมูกเล็กน้อย
  • หลังดูดนมอิ่มแล้วต้องจับเรอ โดยจับทารกนั่งให้เต็มตัว และศีรษะตั้งตรงหรืออุ้มพาดบ่า ลูบหลัง เบาๆให้เรอ

 

ทำไมให้นมลูกแล้วเจ็บหัวนม 

มักเริ่มจากอาการเจ็บ และแสบบริเวณหัวนมขณะที่ลูกดูดนม ต่อมาจะพบรอยแดงบริเวณหัวนมหากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องจะกลายเป็นแผลแยกแตก และมีเลือดออก คุณแม่จะเจ็บปวดมาก

 

สาเหตุการเจ็บหัวนม

เทคนิคดูดนมจากเต้า

เทคนิคดูดนมจากเต้า

  • คุณแม่จัดท่าการอุ้มลูกดูดนมไม่ถูกต้อง กอดลูกไม่กระชับ ลูกอมนมแม่ได้ไม่ลึกถึงลานนม และมักเอานิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วชี้กดไว้ที่เต้านมที่อยู่เหนือจมูกลูกเพื่อแม่จะได้มองเห็นรูจมูกลูก จึงทำให้ลูกงับได้แต่หัวนม และเมื่อแม่เริ่มเจ็บหัวนม แม่มักถอยลูกห่างจากเต้า ยิ่งทำให้ลูกดูดนมแม่ได้ยากขึ้น ลูกจะงับหัวนมไว้แน่น แม่ยิ่งเจ็บมากขึ้น
  • การดึงเอาหัวนมออกจากปากลูกในขณะที่ลูกกำลังดูดอยู่ ทำให้เกิด   รอยครูด  บริเวณหัวนม
  • ลานนมที่แข็งจากการคัดเต้านมจะทำให้ลูกดูดนมยาก ลูกจะงับเฉพาะหัวนม
  • การให้ลูกหลับคาหัวนมนาน ๆ
  • การเช็ด-ถูบริเวณหัวนมบ่อย ๆ
Advertisement

 

ท่าให้นมที่ถูกต้อง 

  • ท่าลูกนอนขวางบนตัก ( Cradle hold )

เป็นท่าที่อุ้มลูกไว้บนตักมือและแขนประคองตัวลูกไว้ ให้ลูกนอนตะแคงเข้าหาตัวแม่ ศีรษะลูกอยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย ท้ายทอยลูกวางอยู่บริเวณแขนของแม่ มืออีกข้างประคองเต้านมไว้
ท่านี้เหมาะสำหรับ : คุณแม่ที่คลอดเองตามธรรมชาติที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด

  • ท่าลูกนอนขวางบนตักแบบประยุกต์ ( Modified/cross cradle hold )  

ลักษณะของท่านี้จะคลายกับท่าแรกเพียงแต่เปลี่ยนมือของคุณแม่โดยใช้มือข้างเดียวกับเต้านมที่ลูกดูดประคองเต้านมไว้ ส่วนมืออีกข้างรองรับต้นคอและท้ายทอยของลูกแทน
ท่านี้เหมาะสำหรับ : คุณแม่ที่คลอดเองตามธรรมชาติที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดเช่นกัน และยังเหมาะสำหรับนำลูกเข้าอมหัวนม เพราะมือของคุณแม่ที่ประคองต้นคอและท้ายทอยของลูกไว้ จะช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะลูกให้เข้าหาเต้านมได้ดี

  • ท่าอุ้มลูกฟุตบอล ( Clutch hold หรือ Football hold )

ท่านี้ลูกอยู่ในท่ากึ่งตะแคงกึ่งนอนหงาย ขาชี้ไปทางด้านหลังของแม่ มือแม่จับที่ต้นคอและท้ายทอยของลูก กอดลูกให้กระชับกับสีข้างแม่ ลูกดูดนมจากเต้านมข้างเดียวกับมือที่จับลูก มืออีกข้างประคองเต้านมไว้
ท่านี้เหมาะสำหรับ : แม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเพราะตัวของลูกจะไม่ไปสัมผัสและกดทับแผลผ่าตัดที่หน้าท้องของแม่ คุณแม่ที่มีเต้านมใหญ่หรือลูกตัวเล็กเพราะลูกจะเข้าอมงับเต้านมได้ดีกว่า และคุณแม่ที่คลอดลูกแฝด เพราะสามารถให้ลูกดูดนมจากทั้งสองเต้าพร้อมๆกันได้

  • ท่านอน ( Side lying position )

แม่ลูกนอนตะแคงเข้าหากัน แม่นอนศีรษะสูงเล็กน้อยหลังและสะโพกตรง ให้ปากลูกอยู่ตรงกับหัวนมของแม่ มือที่อยู่ด้านล่างประคองตัวลูกให้ชิดลำตัวแม่อาจใช้ผ้าขนหนูที่ม้วนไว้ หรือหมอนหนุนหลังลูกแทนแขนแม่ก็ได้ มือที่อยู่ด้านบนประคองเต้านมในช่วงแรกที่เริ่มเอาหัวนมเข้าปากลูก เมื่อลูกดูดได้ดีก็ขยับออกได้
ท่านี้เหมาะสมสำหรับ : แม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องต้องการพักผ่อน หรือให้นมลูกเวลากลางคืน

 

การนวดแก้อาการคัดตึงเต้านม 

  • คุณแม่นั่งหรือยืนในท่าที่สบาย จากนั้นเริ่มนวดบริเวณบ่าด้วยมือทั้งสองข้าง
  • ขยับไหล่ไปมาให้เลือดไหลเวียน แล้วเลื่อนมือลงมา โดยให้ฝ่ามืออยู่บริเวณรักแร้ เริ่มนวดคลึงด้วยการลงน้ำหนักที่ปลายนิ้ว
  • กดไล่จากรักแร้มายังบริเวณลานนม เลื่อนฝ่ามือมาจนถึงหน้าอกด้านบน กดไล่ลงมาที่ลานนม
  • ตบเบา ๆ บริเวณเต้านม โดยใช้ปลายนิ้วช้อนใต้เต้านม แล้วตบจากด้านล่างขึ้นข้องบน
  • ใช้ปลายนิ้วกดนวดเป็นวงกลมบริเวณรอบๆ เต้านมถ้าพบว่ามีก้อนแข็งให้นวดคลึงเบา ๆ เพื่อลดอาการแข็งตึง
  • วางนิ้วชี้ลงบนหน้าอกทั้งสองข้าง ค่อย ๆ กดลงบนเต้านมแล้วลากนิ้วทั้งสองออกจากกัน ทำไปเรื่อย ๆ จนรอบเต้านม
  • โอบรอบเต้านมโดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ของมือทั้งสองข้าง กดมือทั้งสองเข้าหากัน
  • กดปลายนิ้วชี้และคลึงเบา ๆ โดยรอบของขอบลานนม
  • ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งวางลงบนขอบลานนมโดยให้หัวนมอยู่ตรงกลาง แล้วบีบนิ้วทั้งสองเข้าหากันเพื่อระบายน้ำนม

 

ให้ลูกเรอหลังให้นม

เทคนิคดูดนมจากเต้า

เทคนิคดูดนมจากเต้า

การอุ้มไล่ลมให้ลูกเรอ คุณแม่ควรทำทันทีหลังจากให้ลูกดูดนมเสร็จแล้วทุกครั้ง หรือทำให้ลูกเรอก่อนที่จะให้ลูกมาดูดนมอีกข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกสำรอกน้ำนมออกมาหลังจากได้นมแม่แล้ว โดยคุณแม่สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

  • ท่าที่ 1 : การอุ้มเรอโดยการเอาลูกพาดบ่า

การไล่ลมในท่าอุ้มพาดบ่าให้คุณแม่อุ้มลูกโดยให้คางของลูกอยู่ที่บ่าของแม่ ใช้ฝ่ามือลูบหลังโดยลูบขึ้นจนได้ยินเสียงเรอ

  • ท่าที่ 2 : การอุ้มเรอท่าเอาลูกนั่งบนตัก

การไล่ลมในท่านั่งบนตักให้โน้มตัวลูกมาด้านหน้าเล็กน้อย ใช้ฝ่ามือหนึ่งประคองใต้คางลูกอีกมือหนึ่งลูบหลังเบาๆจนได้ยินเสียงเรอ

 

บทความจากพันธมิตร
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

ให้ลูกกินนมนานแค่ไหน

  • ช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด คุณแม่ควรให้ลูกดูดทุกๆ 2-3 ชั่วโมง หรือตามความต้องการของลูก จะช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ให้คุณแม่สามารถผลิตน้ำนมได้อย่างสม่ำเสมอและช่วยป้องกันเต้านมคุณแม่คัดได้อีกด้วย
  • ควรได้ดูดนมคุณแม่บ่อยและนานเท่าที่ลูกต้องการ โดยคุณแม่สามารถสังเกตว่าลูกหิวนมแล้วด้วยการที่ลูกน้อยส่ายหน้าไปมาคล้ายมองหาเต้านม ทำปากเหมือนกำลังดูดนม เอามือถูปาก ซึ่งไม่ควรรอจนลูกหิวจัดแล้วร้องไห้ออกมาเพราะจะทำให้การดูดของทารกเป็นไปได้ยากขึ้น ทั้งนี้คุณแม่ควรให้ลูกดูดนมนานเท่าที่ลูกต้องการ จนกว่าลูกจะมีท่าทางว่าอิ่มแล้ว โดยการดูดเบาลง หรือคายหัวนมออก
  • ทารกแรกเกิดใน 6 สัปดาห์แรกอาจต้องการดูดนมมากถึงวันละ 8-12 ครั้ง หรือทุกๆ 2-3 ชั่วโมง จากนั้นจะลดจำนวนครั้งและระยะเวลาลง โดยทั่วไปแล้วใช้เวลากินนมจากเต้าข้างละ 10-20 นาที ดูดทุก 3-4 ชั่วโมงสัญญาณบ่งบอกว่าลูกน้อยได้รับน้ำนมเพียงพอ ช่วงเดือนแรกลูกจะกินนมวันละ 8-12 ครั้ง หลังจากนั้นลดความถี่ลงประมาณ 6-10 ครั้งต่อวัน

 

ทำไมน้ำนมไหลน้อย 

  • คุณแม่ให้ลูกดูดนมครั้งแรกหลังคลอดช้าเกินไปกว่าความเป็นจริงที่ควรจะเป็น เช่น ต้องให้ภายใน 30 นาทีแรก หรือมากกว่า 2 – 3 วันหลังทารกคลอด ทำให้กระบวนการกระตุ้นการสร้างน้ำนมไม่มีประสิทธิภาพ
  • ลูกน้อยดูดนมด้วยวิธีที่ผิด อมหัวนมได้ไม่ลึกถึงฐานหัวนม ทำให้แรงในการดูดนมเกิดขึ้นได้น้อย น้ำนมไม่ออกมา
  • คุณแม่ให้ลูกดูดนมไม่บ่อยพอ หรือน้อยกว่าวันละ 8 ครั้ง
  • มีการให้นมผง น้ำ หรืออาหารเสริมก่อน 6 เดือน ทำให้ลูกอิ่มจึงไม่ยอมดูนมแม่ต่อ
  • คุณแม่ที่ต้องทำงาน อาจมีการปั๊มนมทิ้งระยะห่างนานไป เกินกว่า 3 – 4 ชั่วโมง หรือการปั๊มแต่ละครั้งจำนวนน้อยไป
  • คุณแม่พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียด รวมถึงพยายามลดความอ้วนด้วยการรับประทานอาหารน้อยเกินไป
  • คุณแม่รับประทานทานยาเม็ดคุมกำเนิดบางชนิด ในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด

 

วิธีเพิ่มน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการของลูก

เทคนิคดูดนมจากเต้า

เทคนิคดูดนมจากเต้า

  • หลังคลอดลูกควรให้ลูกดูดนมเลยใน 30 นาทีแรก เพื่อเป็นการกระตุ้นน้ำนมครั้งแรก
  • ให้เอาลูกเข้าเต้าอย่างถูกวิธี โดยให้ลูกอมหัวนมได้ลึกพอเพื่อมีแรงดูดนมออกมาและได้จำนวนเพียงพอ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายคุณแม่สร้างน้ำนมออกมาอย่างสม่ำเสมอ
  • ให้ลูกดูดนมนานขึ้นและบ่อยขึ้น โดยไม่ควรน้อยกว่าวันละ 8 ครั้ง
  • คุณแม่ที่ต้องออกไปทำงาน ควรปั๊มนมออกให้หมดเต้าทุก ๆ 3 ชั่วโมง เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมให้มากขึ้น
  • ใช้ผ้าอุ่นประคบเต้านมหรือนวดเต้านมเบา ๆ ก่อนและขณะที่กำลังให้ลูกดูดนม จะช่วยทำให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น
  • งดการให้นมผสมหรืออาหารเสริมในช่วงอายุ 6 เดือนแรก เพราะน้ำนมแม่เพียงพอที่จะเลี้ยงให้ลูกน้อยเติบโตตามวัย โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งอาหารจากที่อื่น
  • หากพบปัญหาลูกมักจะหลับขณะดูดนม คุณแม่ควรพยายามให้ลูกดูดนมต่อด้วยการขยับเต้านม จากนั้นบีบน้ำนมเข้าปากลูกช้า ๆ จนกว่าลูกจะคายปากออกเองเพราะอิ่มแล้ว
  • หลีกเลี่ยงความเครียดต่าง ๆ โดยเฉพาะคุณแม่ที่คิดไปเองว่ามีน้ำนมไม่เพียงพอจะเลี้ยงลูกน้อย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ งดอาหารไขมันสูงเน้นผักผลไม้และดื่มน้ำมาก ๆ ไม่ควรอดอาหารหรือทำการลดน้ำหนักอย่างเด็ดขาด

 

ที่มา : samitivejhospitals.com,mccormickhospital.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ ช่วยเก็บน้ำนมสำรองแบบแสนง่าย ให้ลูกพอกินไปตลอด

ผลข้างเคียงที่เกิดจาก การกินยาคุมกำเนิด

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ลูกไม่เรอทําอย่างไร ให้ลูกกินนมเสร็จต้องจับเรอ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

nantichaphothatanapongbow

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องไม่เจ็บหัวนม มีเทคนิคแบบไหนบ้าง
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว