10 วิธีดูแลทารกแรกเกิด การเลี้ยงเด็กทารกแรกเกิด ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ถึงแม้จะอ่านตำรามามากขนาดไหนก็ไม่เหมือนกับทำจริง ๆ บางทีอ่านมาก ๆ ก็ไม่รู้จะทำตามใครดี หรือไม่ก็มากมายจนจำไม่ได้ วันนี้ทาง theAsianparent ได้รวบรวม การเลี้ยงเด็กทารกแรกเกิด ที่สำคัญ ๆ มาให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่แล้วค่ะ
10 วิธีดูแลทารกแรกเกิด พ่อแม่ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไรบ้าง
1.ดูแล ทารก แรก เกิด โอบอุ้มลูกน้อยอย่างระวัง
10 วิธี ดูแลทารกแรกเกิด วิธี เลี้ยง เด็ก แรก เกิด
จริง ๆ แล้วข้อนี้เชื่อว่าพ่อแม่หลายคนคงระวังในการอุ้มลูกน้อยอย่างมาก เพราะเด็กอรกเกิดที่เพิ่งคลอดใหม่ ๆ ร่างกายยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ร่างกายต้องเจริญเติบโตพัฒนาต่อไปอีก เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อต่าง ๆ และกระโลกศีรษะ เป็นต้น ดังนั้น ส่วนที่พ่อแม่ประมาทไม่ได้คือ บริเวณตั้งช่วงคอขึ้นไปจนถึงศีรษะ เวลาที่อุ้มลูกอย่าลืมประคองส่วนนี้ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะลูกเคลื่อนไหวไปมาจนได้รับความเสียหายต่อสมอง วิธีอุ้มลูกให้ปลอดภัยมีหลายแบบด้วยกัน คุณพ่อคุณแม่สามารถติตามอ่าน 8 ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้อง ปลอดภัย และสบายสำหรับเจ้าตัวน้อย ได้2.พยายามให้ลูกดื่มนมแม่ให้ถูกวิธี
ของขวัญชิ้นแรกจากแม่ที่คุณสามารถมอบให้ได้คือ น้ำนมจากอก ซึ่งเป็นของขวัญที่ส่งตต่อผ่านทั้งร่างกายและความรู้สึกของคุณแม่ได้อย่างแท้จริง เวลาให้นมลูก สำหรับแม่มือใหม่คงเก้ ๆ กัง ๆ จะอุ้มเข้าเต้าก็ทำไม่ถนัด เวลาให้ลูกเข้าเต้าก็กังวลว่าให้ถูกท่าไหม วิธีนำลูกเข้าเต้าคือต้องให้ปากของทารกครอบบริเวณหัวนม และจนถึงลานนมด้านล่าง ปากต้องแนบสนิทกับเต้าแม่ คางชิดติดเต้านม รวมถึงต้องพยายามดึงตัวลูกให้ชิดกับแม่ โดยที่ศีรษะกับลำตัวต้องอยู่ในแนวเดียวกันค่ะ และที่สำคัญต้องพยายามให้ลูกดูดนมแม่ทั้งสองข้างนะคะ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำนมแม่ข้างใดข้างหนึ่งลดน้อยลงค่ะ
3. ดูแล ทารก แรก เกิด จับลูกเรอทุกครั้งหลังกินนม
ไม่ว่าแม่จะให้ลูกดูดนมจากขวดหรือจากเต้า เมื่อลูกอิ่มแล้วสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการจับลูกเรอ เพราะว่าเวลาที่ลูกกินนมเข้าไปลูกก็จะกินอากาศเข้าไปด้วยอย่างไม่รู้ตัว ทำให้มีลมอยู่ในท้องลูกน้อยรวมอยู่ด้วย ซึ่งมันจะส่งให้ทารกเกิดอาการแน่นท้อง แหวะนม กระวนกระวาย ร้องไห้บ่อย ไม่สบายเนื้อสบายตัวนั่นเองค่ะ ซึ่งแม่่ควรจับลูกเรอตั้งแต่ให้นมครั้งแรกไปจน 3 เดือน หรือจะจับเรอยาวจนน้องอายุครบ 7 เดือนก็ได้ เหตุผลก็เพราะว่าระบบย่อยอาหารของลูกทำงานยังไม่ได้ดีมากพอค่ะ ส่วนใหญ่หากลูกเริ่มพลิกคว่ำเองได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องจับลูกเรอทุกมื้อก็ได้นะคะ
10 วิธี ดูแล ทารกแรกเกิด วิธี เลี้ยง เด็ก แรก เกิด
4.เริ่มต้นอาบน้ำลูกด้วยฟองน้ำที่นุ่มนิ่ม
เรื่องการอาบน้ำสำหรับเด็แรกเกิดเป็นเรื่องที่สำคัญมากเช่นกัน เพราะลูกน้อยที่เพิ่งคลอดออกมา สายสะดือยังไม่แห้งยังติดอยู่กับทารกอยู่เลย หากถามว่าเมื่อไหร่สายสะดือลูกจะหลลุดไป แม่ๆ ต้องรอประมาณ 2-3 สัปดาห์เลยค่ะ ระหว่างนี้พ่อแม่ต้องใช้ฟองน้ำล้างตัวให้ลูกไปก่อน เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากสายสะดือค่ะ อย่าเพิ่งจับลูกลงอ่างล่ะ วิธีการเริ่มจากเอาฟองน้ำหรือผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นที่สะอาด เช็ดตั้งแต่บริเวณศีรษะไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แม่ ๆ อาจใช้สบู่อ่อนสำหรับเด็กด้วยก็ได้นะคะ และควรเน้นทำความสะอาดให้มากบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อม ตามข้อพับต่าง ๆ จากนั้นก็เช็ดให้แห้ง แล้วพาไปแต่งตัวได้เลยค่ะ
5.จัดท่านอนให้ถูกต้อง
ทารกแรกเกิดเวลาส่วนใหญ่คือกินกับนอนอยู่แล้ว ดังนั้น พ่อแม่ควรจัดท่านอนที่ดีที่สุดให้กับลูก เพื่อป้องกัน โรคไหลตายในเด็กหรือ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) ซึ่งท่าที่ปลอดภัยที่คุณหมอและผู้เชี่ยวชาญแนะนำคือ ท่านอนหงาย ส่วนบริเวณรอบ ๆ ที่นอนของลูกจะต้องไม่ีวัสดุที่นิ่มอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ผ้าห่ม หมอน หมอนข้าง หรือวัสดุกันกระแทกกับเตียง เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งนั้นไปปิดจมูกปิดปากลูกจนหายใจไม่ออกขณะนอนนั่นเองค่ะ ก่อนนอนพ่อแม่ก็ไม่ควรใส่เสื้อผ้าลูกหลายชั้นจนเกินไป เพราะมันจะทไให้ลูกหายใจไม่สะดวกอีกเช่นเดียวกัน อย่าสูบบุหรี่ใกล้ลูกเป็นอันเด็ดขาด หรือพยายามอย่าให้กลิ่นบุหรี่ใกล้ตัวลูกค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : แจกตารางการนอน ของทารก ทารกควรนอนนานเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ
10 วิธี ดูแล ทารก แรกเกิด วิธี เลี้ยง เด็ก แรก เกิด
6.เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ
พ่อแม่บางคนก็มัวแต่ยุ่งในการขัดเตรียมอาหารให้ลูก ทำความสะอาดบ้าน หรือแม้แต่ซักผ้า ล้างทำความสะอาดของใช้ของเจ้าตัวยุ่ง จนบางครั้งปล่อยให้ผ้าอ้อมของลูกน้อยเฉอะแฉะอับชื้น จนกลายมาเป็นผื่นคันที่เรียกว่าผื่นผ้าอ้อม ซึ่งถ้าลูกน้อยเป็นแล้วกว่าจะกลับมาหายต้องใช้เวลานาน แม่ ๆ ต้องระวังนะคะ ถ้าถามว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยแค่ไหน เราจะแยกเป็น 2 กรณีค่ะ ถ้าเป็นผ้าอ้อมผ้าควรเปลี่ยนทุกครั้งที่มีน้องปัสสาวะหรืออุจจาระ สำหรับผ้าอ้อมสำเร็จรูป ควรเปลี่ยนทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง และถ้ารู้ว่าลูกอึ ก็ควรรีบเปลี่ยนทันทีค่ะ
คำแนะนำเพิ่มเติมคือ สำหรับลูกสาวให้เช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากรูทวาร ส่วนลูกชายให้เช็ดทำความสะอาดปกติ โดยที่ไม่ต้องพลิกเปิดหนังห่อหุ้มอวัยวะเพศชายด้านในมาเช็ด
7.ทำความสะอาดมือก่อนจับลูก
พ่อแม่หรือใครก็แล้วแต่ที่ต้องใกล้ชิดกับทารกแรกเกิด ต้องเน้นเรื่องความสะอาดให้มาก ๆ ก่อนที่จะจับลูกต้องอย่าลืมทำความสะอาดมือให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะใช้น้ำล้างหรือจะใช้เจลทำความสะอาดมือก็ได้ทั้งนั้น เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของตัวเด็กเองค่ะ และที่สำคัญทุกครั้งที่พ่อแม่เปลี่ยนผ้าอ้อมต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งนะคะ
10 วิธี ดูแล ทารกแรกเกิด
8.นวดเนื้อตัวลูกน้อย
การนวดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทารก เพราะมันจะช่วยให้ทารกรู้สึกผ่อนคลายหลับได้ดียิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ เช่น ความยืดหยุ่น กาาไหลเวียนของออกซิเจนในร่างกาย ทั้งยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ของลูกน้อย ในแต่ละวันคุณพ่อคุณแม่ควรนวดลูกน้อย ประมาณ 2-3 ครั้งต่อวัน ใช้เวลาครั้งละประมาณ 30 นาที และต้องนวดหลังจากที่สายสะดือลูกหลุดไปแล้วเท่านั้นนะคะ
9.ทามอยเจอร์ไรเซอร์บ่อย ๆ
พ่อแม่คนไหนอยากให้ลูกมีผิวที่เนียนนุ่ม แนะนำให้หามอยเจอร์ไรเซอร์ดี ๆ สักตัวมาทานวดลูกน้อย เพราะผิวหนังเด็กมักจะแห้งและเป็นสะเก็ดค่ะ โลชั่นที่นำมาใช้ต้องปราศจากกลิ่นหอม ปราศจากสารที่ก่อให้เกิดการแพ้นะคะ และควรทาสองครั้งต่อวัน
10.อย่าเขย่าทารกแรง ๆ
คุณพ่อคุณแม่จำไว้ให้ดีค่ะ ถ้าเขย่าลูกแรงเกินไปอาจจะเป็นการทำร้ายลูกโดยที่ไม่รู้ตัว ถามว่าร้ายแรงมากขนาดไหน การเขย่ายิ่งแรงยิ่งอันตราย ร้ายแรงสุดอาจทำให้ลูกเสียชีวิตได้ค่ะ หรือไม่ก็เลือดออกในสมองเสี่ยงต่อทารกพิการไปอีก ดังนั้น เวลาที่พ่อแม่เล่นกับลูกต้องเบามือหน่อยนะคะ หรือแม้แต่การเดินทางไปไหนมาไหน รถเข็นต้องเลือกให้ดีที่มีซัพพอร์ตบริเวณคอลูก หรือแม้แต่นั่งบนรถยนต์ก็ควรระวัง ถ้าให้ดีต้องมีคาร์ซีทคะ
10 วิธีดูแลทารกแรกเกิด
Source : 1
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
ดูแลตัวเองหลังคลอด ด้วย 7 วิธีนี้ รับรองกลับมาสวยเร็วชัวร์!
ปั๊มนมแล้วมีเลือดปน แบบนี้ให้ลูกกินได้ไหม
เมนูอาหารสําหรับแม่ลูกอ่อน 10 อย่างที่ผู้หญิงหลังคลอดควรได้กิน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!