หลายคนยังสงสัยอยู่ว่า HIV กับ เอดส์แตกต่างกันยังไง? วันนี้ theAsianparent พามาทำความเข้าใจของ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่าง โรค HIV โรคเอดส์คือ อะไร มาทำความรู้เกี่ยวกับเอชไอวี ผลกระทบต่าง ๆ ต่อร่างกายจะเป็นยังไง อาการของโรคเป็นแบบไหน และสามารถติดต่อได้จากช่องทางไหนบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย นพ. วรณัฐ ปกรณ์รัตน์ (แพทย์จาก Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน) | ตุลาคม 2565
HIV คืออะไร? ย่อมาจากอะไร
โรคเอดส์ เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี โดย HIV ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus เป็นเชื้อไวรัส ในขณะที่โรคเอดส์หรือ Acquired Immune Deficiency Syndrome คือกลุ่มอาการของโรคนั้นเกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเชื้อไวรัสทำลายจนร่างกายผู้ป่วยไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคทั้งหลายที่อาจจะเข้าสู่ร่างกายได้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี อาจจะไม่พัฒนาอาการจนเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์เต็มขั้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : เอดส์ กับ HIV แตกต่างกันอย่างไร
อาการของโรค HIV
โรคเอดส์แสดงอาการตอนไหน สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ HIV นั้นในแต่ละบุคคลจะมีการแสดงอาการที่แตกต่างกันออกไป อาการคนเป็นเอดส์ ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการเหมือนกัน เอดส์อาการที่พบเจอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรคด้วย โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะใหญ่ ๆ ได้ดังต่อไปนี้
ระยะที่ 1 : ระยะเฉียบพลัน (Acute HIV Infections)
โรคเอดส์แสดงอาการตอนไหน ระยะแรกของการติดเชื้อ HIV ซึ่งจะเกิดขึ้นระหว่าง 2-4 สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อในระยะนี้ โดยผู้ติดเชื้อจำนวน 2 ใน 3 คนจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นอาการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่อเชื้อ HIV อาการส่วนใหญ่ที่ปรากฏได้แก่
-
- มีไข้
- หนาวสั่น
- มีผื่นขึ้นตามร่างกาย
- มีเหงื่อออกเวลากลางคืน
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- เจ็บคอ
- รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
- ต่อมน้ำเหลืองบวม
- มีแผลในปาก
โดยอาการเหล่านี้เรียกว่า acute retroviral syndrome หรือ ARS ซึ่งสามารถเกิดขึ้นตั้งแต่ 2-3 วันแรกจนถึงหลายสัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย แต่ในบางคนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลยช่วงแรก
อาการโรคเอดส์ผู้หญิง อาการแรกเมื่อเริ่มเป็นโรคเอดส์ในผู้ป่วยผู้หญิงกับผู้ชายจะไม่แตกต่างกัน โดยระยะแรกของโรคเอดส์เรียกได้อีกอย่างคือ ระยะที่ 3 หรือระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี (Third Stage)
ระยะที่ 2 : ระยะสงบทางคลินิก (Clinical Latency Stage)
ระยะที่เชื้อไวรัสจะอยู่ในร่างกาย และมีการแพร่กระจายของเชื้อไปทั่วร่างกายของเรา แต่อยู่ในระดับที่ต่ำมาก เป็นผลทำให้ไม่การแสดงอาการใด ๆ หรืออย่างมากสุดคือมีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย หากไม่ได้รับการรักษาผู้ติดเชื้อ HIV สามารถอยู่ในระยะนี้ได้เป็นเวลานานถึง 10-15 ปี หรือ อาจจะน้อยกว่านั้น
หากคุณตรวจพบ และอยู่ในระยะนี้ คุณหมอจะจ่ายให้คุณทานทุกวัน คุณต้องทานยาที่กำหนดเพื่อรักษาปริมาณเชื้อไวรัสภายในร่างกาย ซึ่งการทานยานั้นอาจทำให้ผลการตรวจร่างกายของคุณดีขึ้น พบเชื้อไวรัสน้อยลง หรืออาจตรวจไม่พบ (ไม่ได้หมายความรวมถึงการหายขาด) และยังช่วยในเรื่องของการลดความเสี่ยงของคู่นอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถึงอย่างไรก็ตามคุณควรที่จะป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากตัวของคุณด้วยถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
บทความที่เกี่ยวข้อง : เลือก ถุงยางอนามัย อย่างไร ถึงจะเจอในแบบที่ใช่สำหรับคุณ
ระยะที่ 3 : ระยะโรคเอดส์ (AIDS)
ระยะสุดท้ายของ HIV คือการพัฒนาเป็นโรคเอดส์ โดยระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง มีปริมาณเซลล์ CD4 อยู่ระหว่าง 500 ถึง 1,600 ในขณะที่ผู้ป่วยโรคเอดส์มี CD4 ต่ำกว่า 200 และระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลายอย่างรุนแรง จนผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อ และทำให้ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ โดยอาการของโรคเอดส์จะมีอาการดังต่อไปนี้
-
- น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
- มีไข้เป็นประจำ หรือเหงื่อออกเวลากลางคืน
- อาการเหนื่อยตลอดเวลา โดยไม่สามารถหาสาเหตุได้
- ต่อมเหลืองที่รักแร้ ขาหนีบ หรือมีอาการบวมที่บริเวณคอ
- พบอาการท้องร่วงเป็นนานกว่า 1 สัปดาห์
- มีแผลในปาก ทวารหนัก หรืออวัยวะเพศ
- มีรอยสีน้ำตาล หรือสีม่วงบนหรือใต้ผิวหนัง หรือในปาก จมูก และเปลือกตา
- สูญเสียความทรงจำ หรือมีภาวะซึมเศร้า
- อาจมีอาการปอดอักเสบร่วมด้วย
โรค HIV ติดได้จากช่องทางไหนได้บ้าง
คนเราสามารถติดเชื้อ HIV ได้โดยการสัมผัสกับเลือด อสุจิ ของเหลวจากช่องคลอด และน้ำนมของแม่ โดยสาเหตุการแพร่เชื้อส่วนใหญ่นั้นจะมาจากการมีเพศสัมพันธ์ และ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือ อาจจะส่งผ่านจากแม่สู่ลูกในช่วงตั้งครรภ์อีกด้วย ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรจะมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเข็มฉีดยา ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรค ไม่ว่าจะระหว่างการพบแพทย์ หรือ ใช้เพื่อสักลาย โดยยังมีความเข้าใจผิดกับสาเหตุของการติดเชื้อ HIV ไม่ว่าจะมาจากการทักทาย การกอด การจูบ การจาม การใช้ห้องน้ำร่วมกันอยู่ โดยกิจกรรมเหล่านี้ ไม่สามารถทำให้ติดเชื้อ HIV ได้
วิธีป้องกันการติดเชื้อ HIV
ถึงแม้ว่าในโลกของเราจะมีโรค HIV เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานมาแล้ว แต่นักวิจัย และพัฒนาก็ยังไม่สามารถผลิตวัคซีนขึ้นมาป้องกันเชื้อนี้ได้ ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดการรับ หรือแพร่เชื้อนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น และสำคัญที่สุดในตอนนี้ ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
-
การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย
วิธีที่พบบ่อยที่สุดสำหรับการโอนถ่ายเชื้อจากคนหนึ่งสู่อีกคนคือการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือทางทวารหนัก โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือวิธีการอื่น ๆ ความเสี่ยงนี้ไม่สามารถกำจัดได้ทั้งหมด เว้นแต่จะมีการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์นั่นเอง แต่ความเสี่ยงนี้ก็ยังคงมีอยู่ โดยคุณจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก คุณควรรู้วิธีการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง และต้องใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ และที่สำคัญจงจำไว้ว่า ของเหลวก่อนหลั่ง (ของผู้ชาย) นั้นอาจจะมีเชื้อ HIV ปะปนอยู่ก็เป็นได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีใส่ถุงยางอนามัย ข้อควรระวังในการใส่ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยป้องกันอะไรได้บ้าง
-
หลีกเลี่ยงการใช้เข็ม หรืออุปกรณ์ที่ทำให้เกิดบาดแผลร่วมกับคนอื่น
อีกหนึ่งปัจจัยที่พบไม่บ่อยมากนักในวงการแพทย์ แต่หากคุณมีการใช้เข็มฉีดยา หรืออุปกรณ์ที่ทำให้เกิดบาดแผลร่วมกับคนอื่นนั้นก็สามารถทำให้คุณได้รับเชื้อ HIV ได้ด้วยการใช้วัสดุที่มีเลือดของผู้ติดเชื้อติดอยู่ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายคุณผ่านบาดแผล
ผลกระทบของเอชไอวีและเอดส์ที่มีต่อร่างกายมนุษย์
โดยร่างกายที่ติดเชื้อเอชไอวี เชื้อเอชไอวีจะโจมตีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลงจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ จนสุดท้ายเชื้อไวรัสจะโจมตีร่างกายทั้งหมด โดยเป้าหมายของเชื้อไวรัส เอชไอวี นั้นคือการทำลายเซลล์ที่มีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค และ การติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ โดย เซลล์นี้มีชื่อว่า CD4 (หรือเซลล์ T-helper) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เอชไอวีจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของผู้ติดเชื้ออ่อนแอลง จนทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย
ความช้าและความเร็ว ของการดำเนินโรคและผลกระทบที่เชื้อเอชไอวี มีผลต่อร่างกายอยู่กับผู้ติดเชื้อแต่ละคน โดยมีปัจจัยหลายอย่างเช่น สุขภาพ อายุ รวมถึงความเร็วช้าในการได้รับการรักษา ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินโรคทั้งสิ้น บางคนอาจจะติดเชื้อเอชไอวีหลายปี แต่ไม่มีอาการของโรคเอดส์ ปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวี พัฒนาเป็นอาการของโรคเอดส์โดยรวดเร็ว รวมถึงปัจจัยทางกรรมพันธุ์ การมีอายุมากขึ้น ภาวะโภชนาการไม่ดี หรือติดเชื้อร่วมกับโรคอื่น เช่น ตับอักเสบซี หรือ วัณโรค
วิธีการรักษา HIV
ทางเลือกในการรักษา HIV นั้นควรเริ่มรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้หลังจากที่ตรวจพบเชื้อในเลือด โดยที่ไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณไวรัส การรักษาหลักสำหรับผู้ติดเชื้อคือการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นการใช้ยาที่ต้องรับประทานทุกวัน เพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ซึ่งจะช่วยป้องกันการทำลายเซลล์ CD4 ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันนั้นอ่อนแอลง นอกจากนี้ยังช่วยเรื่องการลดความเสี่ยงการเป็นโรคเอดส์ หรือการเป็นโรค HIV ระยะที่ 3 นั่นเอง แต่ถึงอย่างไรก็ตามหากตรวจไม่พบเชื้อไวรัสแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่เป็นโรคอีกต่อไป แต่คุณยังมีเชื้ออยู่ แค่ตรวจไม่พบ และหากคุณหยุดทานยาก็สามารถทำให้เชื้อไวรัสกลับมาแพร่กระจาย และทำลายเซลล์ในร่างกายได้อีกครั้ง
การมีเชื้อ HIV นั้นไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิด หากคุณรู้ตัวทัน และรักษาอย่างถูกวิธี แต่ทางที่ดีที่สุดคือคุณควรระมัดระวังการติดเชื้อให้ได้มากที่สุด ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์คุณควรสวมถุงยางอนามัย และไม่ใช้เข็มฉีดยา หรืออุปกรณ์ที่ทำให้เกิดบาดแผลร่วมกับคนอื่น เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณ และคู่นอนของคุณนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เตือนภัยสาว ๆ ที่ชอบทำเล็บ อันตรายใกล้ตัวสาว ติด HIV เพราะการทำเล็บ
เมื่อลูกน้อยเกิดมาพร้อมกับ เชื้อเอชไอวี
แพ็คเกจตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน 2564
ที่มา : hiv.gov, bumrungrad, cdc.gov, healthline
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!