X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เคล็ดลับเสริมสร้างพลังสมองลูกให้ฉลาด

บทความ 5 นาที
เคล็ดลับเสริมสร้างพลังสมองลูกให้ฉลาด

เมื่อเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก คุณแม่รู้ไหมมีวิธีการมากมายที่สามารถ เสริมสร้างพลังสมองลูก เลี้ยงลูกให้ฉลาด ด้วยเทคนิค A-Z ที่จดจำง่ายและไม่ควรพลาด

เคล็ดลับ เสริมสร้างพลังสมองลูก ให้ฉลาด

A – Attention

การให้ความรักความเอาใจใส่ของผู้เลี้ยงดูมีผลต่อการเรียนรู้ของทารกมากที่สุด และวิธีการที่ดีที่สุดในการพัฒนาสมองลูกรักคือการตอบสนองทารก ทำให้เจ้าตัวน้อยรู้ว่า เมื่อเขาร้อง คุณจะปลอบโยนเขา เมื่อเขาพร้อมที่จะเล่น คุณก็จะเล่นกับเขา

B – Breast Milk

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยบราวน์พบว่า เด็กที่กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 3 เดือนมีพื้นที่สมองที่เต็มไปด้วยเยื่อไมอิลิน (myelin) มากขึ้น 20-30% ซึ่งเยื่อไมอิลินนี้มีความสำคัญในการช่วยให้สมองส่งสัญญาณประสาทได้เร็วขึ้น

C – Calming

การทำให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัยเป็นการทำให้สมองสงบ เมื่อเจ้าตัวน้อยร้องไห้และคุณเข้าไปอุ้มเขา สัมผัสของคุณ และการตอบสนองอย่างอ่อนโยนช่วยให้ระบบประสาทของลูกผ่อนคลาย และป้องกันฮอร์โมนคอร์ติซอลอันเป็นสาเหตุของความเครียดไม่ให้เข้ามาขัดขวางพัฒนาการของลูก

D – Doubling

ขนาดสมองของทารกสามารถขยายใหญ่ขึ้นเป็นสองเท่าภายในขวบปีแรก ในขณะที่พื้นที่ด้านหลังของสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการประสานของอวัยวะและการทรงตัวขยายเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า ซึ่งเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับทักษะการเคลื่อนไหวของทารกในขวบปีแรก

E – Eye Contact

วางโทรศัพท์มือถือของคุณลงและจ้องเข้าไปในตาคู่น้อยของลูก เพื่อสร้างสายสัมพันธ์ทางอารมณ์ความรู้สึกกับเจ้าต้วน้อย การสบตากับทารกจะช่วยให้ลูกเรียนรู้ภาษาและเข้าใจโลกรอบตัวได้ดีขึ้น

บทความแนะนำ พ่อแม่ติดมือถือ กระทบพัฒนาการลูกแค่ไหน

F – Focus

เมื่อลูกน้อยสำรวจของเล่นหรือหนังสือ นั่นคือช่วงเวลาที่ลูกกำลังเรียนรู้ ในช่วงวัย 3 เดือน การโฟกัสกับวัตถุเป็นเวลา 10-15 นาทีนั้นเทียบได้กับผู้ใหญ่ตั้งใจอ่านหนังสือเป็นชั่วโมงเลยทีเดียว

G – Grouping

ทารกจะเริ่มจัดกลุ่ม แยกแยะจำนวนและรูปร่างที่แตกต่างกันได้เมื่ออายุ 11 เดือน แม้จะไม่ใช่นักคณิตศาสตร์ตัวน้อย แต่เขารู้จักจำนวนมาก-น้อย สามารถแยกบล็อกตามสีหรือขนาดได้

H – Hearing

ทารกจำเสียงคุณแม่ได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เขารับรู้ได้ว่าเสียงคุณแม่แบบนี้มีความสุขหรือกำลังเศร้า งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า แม้ในยามที่เจ้าตัวน้อยกำลังหลับ ระดับฮอร์โมนความเครียดของทารกเพิ่มขึ้น เมื่อได้ยินผู้ใหญ่พูดด้วยน้ำเสียงเกรี้ยวกราด

I – Iron

ทารกต้องการธาตุเหล็กในการสร้างเม็ดเลือดแดงเพื่อส่งออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์สมองและเซลล์ทั่วร่างกาย สำหรับทารกที่ทานนมแม่ คุณแม่ควรได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ โดยทานยาเสริมธาตุเหล็กตั้งแต่ตั้งครรภ์ไปจนถึง 6 เดือนหลังคลอด และในทารกอายุ 7-12 เดือน ควรได้รับธาตุเหล็ก 11 mg จากอาหารเพิ่มเติม

J – Jiggle

Advertisement

จับเจ้าตัวน้อยนั่งตักแล้วโยกเบาๆ เป็นการกระตุ้นสมองทารกให้ปล่อยฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตออกมา จากการศึกษาทารกคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับการโยกเบาๆ และยืดแขนยืดขาเพียง 15 นาทีวันละ 3 ครั้ง สามารถกลับบ้านได้เร็วขึ้น ตื่นตัวมากขึ้น และควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดีกว่าทารกที่ได้รับการสัมผัสน้อยกว่า

K – Kicking

ทารกสื่อสารกับคุณด้วยภาษากาย เช่น เมื่อคุณทำหน้าตลกๆ ที่ลูกชอบ แล้วหยุดทำ เจ้าตัวน้อยอาจจะเตะหรือตีคุณ เพื่อเป็นการบอกว่า อย่าเพิ่งหยุดซิคุณแม่ การกระทำของลูกเช่นนี้เป็นเรื่องดี เพราะมันคือปฏิกริยาสะท้อนกลับจากการที่ทารกพยายามจะสื่อสารนั่นเอง

L – Looking

ทารกเริ่มเรียนรู้ด้วยการมองราวสัปดาห์ที่ 6 งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยไอโอวาพบว่า ทารกมองวัตถุใหม่ได้ได้นานขึ้นเมื่อเห็นสิ่งนั้นเป็นครั้งแรก จากนั้นจะค่อยๆ ลดความสนใจลงเมื่อเริ่มคุ้นเคยกับสิ่งนั้น อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งเปลี่ยนของเล่นหรือหนังสือเล่มใหม่เร็วเกินไป เพราะงานวิจัยพบว่า ทารกที่ไม่ได้ใช้เวลากับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างเพียงพอก็จะไม่เข้าใจสิ่งนั้นเช่นกัน

บทความแนะนำ โมบายล์สีขาวดำดีต่อพัฒนาการมองเห็นของลูก

M – Music

งานวิจัยจากแคนาดาพบว่า การที่คุณแม่และลูกน้อยวัย 1 ขวบได้เข้าคลาสเรียนดนตรีร่วมกัน ได้สัมผัสเครื่องดนตรีและร้องเพลงกับเจ้าตัวน้อยช่วยให้ลูกอารมณ์ดี มีพัฒนาการด้านการสื่อสารที่ดีขึ้น และแสดงการตอบสนองของสมองต่อเสียงดนตรีที่ซับซ้อนขึ้นมากกว่าการฟังเพลงทั่วไป

N – Nurture

พันธุกรรมและการเลี้ยงดูมีผลต่อการพัฒนาสมองของเด็ก แม้ว่าพันธุกรรมจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่คุณสามารถให้การเลี้ยงดูที่ดีได้ คุณพ่อคุณแม่ที่ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยและได้รับประสบการณ์การเลี้ยงดูที่ดีจะส่งผลไปยังสมองของเด็ก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อลูกในระยะยาว

O – Feeling Overwhelmed

ทารกมีระดับความอดทนต่อสิ่งเร้าต่างกัน เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ หากเจ้าตัวน้อยเริ่มร้องไห้ ทิ้งตัว ไม่สบตา ลองให้ลูกเล่นของเล่นที่ง่ายขึ้น ปิดเสียงเพลง หรือพาลูกออกจากที่มีเสียงดัง เมื่อระบบประสาทของลูกรู้สึกท่วมท้นจนรับไม่ไหว คุณจำเป็นต้องหาวิธีทำให้สมองของลูกผ่อนคลาย

บทความแนะนำ วิธีสังเกตเมื่อลูกงอแอ เพราะถูกกระตุ้นมากเกินไป

P – Peekaboo

การเล่นจ๊ะเอ๋เป็นวิธีที่ดีมากในการสอนเจ้าตัวน้อยเกี่ยวกับการคงอยู่ของวัตถุ แม้จะไม่เห็นสิ่งนั้นในสายตาก็ตาม เจ้าตัวน้อยจะได้เรียนรู้ว่า แม่ยังอยู่แม้ว่าเขาจะไม่เห็นหน้าของแม่ก็ตาม

Q – Quiet Time

คุณทราบดีว่า เวลาอยู่ในห้องที่มีเสียงดัง หรือได้ยินเสียงทีวีอยู่ตลอดเวลา สมองจะไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เด็กก็เช่นกัน ดังนั้น จึงควรให้ลูกอยู่ในที่ที่เงียบสงบ

R – Repetition

การทำซ้ำๆ ช่วยให้ทารกเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งเบื่อหากเจ้าตัวน้อยขอให้คุณอ่านนิทานเรื่องเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อคุณเล่านิทานจนลูกจำได้ เขาจะรู้สึกภูมิใจที่สามารถเดาได้ว่าเรื่องราวในหน้าต่อไปจะเป็นอย่างไร

S – Synapses

เด็กแรกเกิดถึง 3 ปี การเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทที่เรียกว่าไซแนปส์พัฒนาอย่างรวดเร็วกว่าช่วงอื่นๆ ของชีวิต ยิ่งเซลล์ประสาทถูกใช้งานมาก สมองของลูกก็ยิ่งแข็งแรงมากขึ้น

T -Tummy Time

การนอนคว่ำในขณะที่ลูกตื่น เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของทารก เจ้าตัวน้อยจะได้ฝึกชันคอ ยกศีรษะ กลิ้งตัว และฝึกนั่ง ซึ่งจะช่วยพัฒนาสมองจากการมองเห็นโลกในอีกมุมมองหนึ่ง รู้จักในเรื่องของมิติสัมพันธ์และพัฒนาความสามารถในการรู้จักสถานที่ที่สัมพันธ์กับวัตถุและผู้คน

U – Understanding

แม้แต่ทารกวัย 8 เดือนก็สามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้ เมื่อลูกเจอคนแปลกหน้า เขาจะสังเกตความรู้สึกทางสีหน้าของคุณแม่ เพื่อประเมินว่าคนๆ นั้นเป็นมิตรหรือเปล่า ถ้าคุณแม่ดูเป็นกังวล ลูกก็จะไม่มีความสุขเช่นกัน แต่ถ้าคุณแม่ผ่อนคลาย ลูกก็จะผ่อนคลายเช่นกัน

V –Being Verbal

ยิ่งคุณคุยกับลูกมากเท่าไหร่ยิ่งดี การได้รู้จักคำเยอะๆ จะช่วยปูทางสำหรับการเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้น ไม่ว่าคุณจะทำกิจกรรมใดๆ ร่วมกับลูกในแต่ละวันก็ให้พูด คุย เล่าให้ลูกฟังไปพร้อมๆ กัน

W – Baby’s Words

ทารกส่วนใหญ่สามารถพูด 2-3 คำง่ายๆ เช่น มามา ปาปา เมื่ออายุได้ 12 เดือน และเมื่อเจ้าตัวน้อยอายุ 18 เดือน คำศัพท์ของลูกควรมีประมาณ 50 คำ เมื่อลูกพูดคุณแม่ควรตอบสนองเพื่อกระตุ้นให้ลูกพูดมากยิ่งขึ้น

บทความแนะนำ 7 ปัจจัยที่สำคัญต่อพัฒนาการด้านภาษาของทารก

X – Xs

แสดงความรักกับเจ้าตัวน้อยให้มากที่สุด การจูบ กอด ยิ้มให้ลูก เป็นอาหารสมองชั้นยอดของลูกเลยล่ะ เพราะคุณกำลังทำให้เขารู้สึกปลอดภัย เป็นที่รัก และพร้อมที่จะเรียนรู้โดยไม่ต้องกังวลใดๆ

Y – You

เมื่อลูกอายุ 12 เดือน ลูกจะเริ่มสื่อสารด้วยการชี้ คุณคือคนที่จะตอบและอธิบายให้ลูกรู้จักและเข้าใจสิ่งนั้นๆ ดียิ่งขึ้น ในตอนแรกเจ้าตัวน้อยอาจเพียงชี้เมื่อเห็นสิ่งต่างๆ คุณควรบอกลูกว่าสิ่งนั้นคืออะไร จากนั้นลูกจะเริ่มชี้อย่างมีเหตุผล เช่น ชี้ขนมเพราะอยากทานขนม เป็นต้น

Z – ZZZs

ในช่วงที่สมองของลูกกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทารกต้องการการนอนหลับ 12-18 ชั่วโมงต่อวัน การนอนหลับทำให้สมองทารกได้พักผ่อน และหลั่งฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นส่วนต่างๆ ของสมองในการเรียนรู้ จดจำ อันเป็นรากฐานสำคัญของพัฒนาการของสมองที่ดี การฝึกลูกนอนเป็นเวลาจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาสมองของลูกได้

ที่มา www.fitpregnancy.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ลูกนอนดึก เสี่ยงตัวเตี้ย เพราะขาดโกรทฮอร์โมน

เลี้ยงเบบี๋ให้ฉลาดและสมองดีด้วย 30 วิธีง่าย ๆ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • เคล็ดลับเสริมสร้างพลังสมองลูกให้ฉลาด
แชร์ :
  • ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

    ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

    ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว