เขย่าลูกแรง ทารกถูกเขย่า รุนแรงเกินไป
แม่จ๋าต้องระวัง เขย่าลูกแรง ทารกถูกเขย่า รุนแรงเกินไป ระวัง Shaken Baby Syndrome อย่าลืมว่า เจ้าตัวน้อยตัวเล็กนิดเดียว ผู้ใหญ่อยากเล่นอะไร ก็ต้องยั้งมือ ไม่เล่นกับลูกหรือหลานแรงเกินไป เพราะการเขย่าลูกแรง ๆ ไม่ว่าจะโกรธหรือเล่น อาจทำให้ทารกพิการหรือเสียชีวิตได้เลย
ทําไมถึงห้ามเขย่าทารก
พ่อแม่บางคนรู้ว่า ไม่ควรเขย่าลูกแรง เพราะทารกถูกเขย่าแรง ๆ กระทบต่อร่างกายเจ้าตัวน้อย แต่สำหรับคนอื่น ๆ เช่น ญาติผู้ใหญ่ เพื่อน ก็อาจจะไม่เข้าใจ นึกว่าเราหวงลูก ทำไมเล่นด้วยแค่นี้ทำไม่ได้ อย่างแรก พ่อแม่ก็ต้องทำความเข้าใจ อย่าตอบโต้ด้วยอารมณ์ ให้บอกเหตุผลไป ดังนี้
- การเขย่าทารกอย่างรุนแรงจะทำให้ทารกเกิดอาการ Shaken Baby Syndrome
- Shaken Baby Syndrome สมองของทารกจะได้รับการกระทบกระเทือน โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบต้องระวัง
คิดง่าย ๆ ว่า เมื่อคอและศีรษะของทารก ถูกแรงเหวี่ยงไปมาข้างหน้า ข้างหลัง เป็นไปได้หรือ ที่ทารกตัวแค่นี้จะไม่เกิดอันตราย
ทารกถูกเขย่ารุนแรงเกินไป อันตราย!
เนื่องด้วยทารกที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ มีกล้ามเนื้อคอที่ยังไม่แข็งแรง ขนาดพ่อแม่จะอุ้มแต่ละที ยังต้องคอยประคับประคองกันเต็มที่ ดังนั้น การเขย่าลูกแรง ๆ จึงเป็นสิ่งต้องห้าม โดยเฉพาะการเชคหรือเขย่าทารก จนคอและหัวเหวี่ยงไปเหวี่ยงมา เนื่องจากหัวของทารกในตอนเล็ก ๆ นั้นใหญ่กว่าลำตัว ภายในสมองก็มีเนื้อที่มาก ส่วนที่ป้องกันอันตรายจากการถูกเขย่านั้นก็น้อย
เขย่าทารก อันตราย
อันตรายจากการเขย่าลูกแรง ๆ คือ เส้นเลือดบริเวณเยื่อหุ้มสมองฉีกขาด จนเกิดเลือดออกในสมอง ลุกลามไปจนถึงเส้นเลือดในจอตาขาดได้ด้วย
จากสถิติพบว่า เด็กที่มีอาการ Shaken Baby Syndrome 1 ใน 3 สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ ในขณะที่อีก 1 ใน 3 กลายเป็นคนพิการไปตลอดชีวิต เช่น ไร้สมรรถภาพในการเรียนรู้ ตาบอด หรือเป็นอัมพาตในสมองใหญ่ เป็นต้น และที่น่าเสียใจที่สุดคืออีก 1 ใน 3 นั้นอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
เหวี่ยงลูกไปมาก็เป็น Shaken baby syndrome ได้
ไม่ใช่แค่เขย่าลูกแรง ๆ แต่การเหวี่ยงลูกไปมาก็เป็น Shaken baby syndrome ได้เช่นกัน เพราะกลุ่มอาการนี้ อาจเกิดขึ้นกับกระโหลกจะกระแทกกับกระโหลกศีรษะเกิดสมองช้ำ ตามมาด้วยสมองบวม จนเสียชีวิตได้
อ่านเพิ่มเติม https://www.facebook.com/pg/Drnextdoor
วิธีสังเกตว่าลูกมีอาการ Shaken baby syndrome
- เซื่องซึม ง่วง นอนตลอด
- หงุดหงิด ร้องโยเยจนผิดสังเกต
- ไม่ยอมกินนม กินนมได้น้อย
- อาเจียนบ่อยๆ
หากลูกเล็กอายุไม่เกิน 1 ขวบครึ่ง กระหม่อมยังไม่ปิด ถ้าลูบแล้วบวมหรือนูนผิดปกติ ต้องพาไปโรงพยาบาลทันที
ทารกถูกเขย่า ทารกถูกเหวี่ยง แรง ๆ อาจทำให้เกิด Shaken Baby Syndrome ดังนั้น พ่อแม่ห้ามเขย่าลูกแรง และต้องคอยสังเกตคนที่มาเล่นกับลูกด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัยของลูก
ที่มา : https://www.doctor.or.th/
www.facebook.com/LikenowVideo/videos/1750073155112149/?t=0
ชมคลิปเขย่าลูกแรง ทารกถูกเขย่า รุนแรงเกินไป
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
สัปดาห์แรกของลูกแรกเกิด แม่ต้องดูแลทารกแรกเกิดอย่างไร วิธีดูแลลูก หลังคลอด
ฝันเห็นเด็ก ฝันเห็นทารก ฝันว่าได้อุ้มเด็ก หมายความว่าอะไร มาดูคำทำนายฝันแม่นๆ กัน!
14 วิธีสร้างเสียงหัวเราะให้ทารก เทคนิคเลี้ยงลูกให้ฉลาดและอารมณ์ดีตั้งแต่แบเบาะ
ลูกแรกเกิดสะดือจุ่น สะดือโป่ง คนโบราณให้ใช้เหรียญปิดสะดือเพื่อรักษา หรือหาหมอดี?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!