X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกแรกเกิด สะดือจุ่น สะดือโป่ง คนโบราณให้ใช้เหรียญปิดเพื่อรักษา หรือหาหมอดี?

บทความ 5 นาที
ลูกแรกเกิด สะดือจุ่น สะดือโป่ง คนโบราณให้ใช้เหรียญปิดเพื่อรักษา หรือหาหมอดี?

อีกหนึ่งภาวะเด็กแรกเกิดที่มักพบได้บ่อยก็คือ สะดือจุ่น นับเป็นอาการที่พ่อแม่หลายคนกังวล และยังไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น แล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นอันตรายต่อลูกเราหรือเปล่านะ ควรพาไปหาหมอดีไหม หรือจริง ๆ แล้วมันหายไปเองได้ วันนี้เรามีคำตอบเกี่ยวกับสะดือจุ่นของทารกแรกเกิดมาฝากเรียบร้อยแล้วค่ะ

 

สะดือจุ่น สะดือโป่ง คืออะไร ?

สะดือจุ่น สะดือโป่ง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อลำไส้บางส่วนของทารกเคลื่อนตัวออกมาอยู่ที่สะดือ จึงทำให้สะดือยื่นหรือบวมออกมา หรือจะเรียกง่าย ๆ ว่า ไส้เลื่อนที่สะดือก็ได้ และอาการสะดือจุ่นสามารถพบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด และอาจมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเห็นได้ชัดเมื่อเด็กร้องไห้ หัวเราะ ไอ หรือขับถ่าย และมันสามารถหดตัวลงได้เมื่อลูกรู้สึกผ่อนคลาย เช่น การนอน เป็นต้น

 

สะดือจุ่น

 

ลูกสะดือจุ่นเป็นอันตรายไหม ?

เมื่อเห็นลูกน้อยมีภาวะสะดือจุ่น คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องตกใจไปนะคะ เพราะว่าเด็ก ๆ ในวัยแรกเกิด สามารถหายเองได้ตามปกติค่ะ แต่ถ้าหากมีอาการแทรกซ้อนมาด้วย ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอทันที ซึ่งอาการที่แทรกซ้อนมีดังนี้

  • สะดือของทารกมีอาการบวม
  • ปวดท้อง
  • มีน้ำสีเหลืองหรือเขียวหยดออกจากสะดือของลูก
  • มีเลือดออกซิบ ๆ บริเวณสะดือ
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • กดเจ็บบริเวณสะดือจุ่น
Advertisement

 

ถ้าสะดือจุ่นไม่หายเอง ควรพาลูกไปหาหมอไหม ?

หลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ยินความเชื่อโบราณที่ว่า หากสะดือลูกน้อยจุ่นให้ใช้เหรียญปิดสะดือไว้เพราะมันรักษาสะดือจุ่นได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การทำแบบนี้ไม่ได้ทำให้มันหายไปได้นะคะ แต่เป็นเพราะว่าอาการมันค่อย ๆ ดีขึ้นแล้วต่างหาก โดยส่วนใหญ่จะหายเองตามธรรมชาติก่อนอายุประมาณ 2 – 3 ปี แต่ถ้าหากคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูกยังมีอาการสะดือจุ่นอยู่หลังจากอายุได้ 2 ปีแล้ว และก้อนที่สะดือทำให้ลูกมีอาการเจ็บ ตึง บวมหรือแดง รวมถึงอาเจียนร่วมด้วย แบบนี้อย่ามองข้ามเชียวนะคะ ควรพาไปหาคุณหมอทันทีค่ะ

 

การรักษาเมื่อลูกสะดือจุ่น หรือภาวะไส้เลื่อน

ภาวะไส้เลื่อนที่สะดือไม่ต้องทำการรักษาอะไร แค่รอเวลาให้หายได้เองภายในอายุ 2-3 ปี อาจทำการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อความสวยงาม ถ้าอายุ 3-5 ปีแล้วยังไม่หาย หรือขนาดรูของไส้เลื่อนใหญ่กว่า 1.5 เซนติเมตร หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากลำไส้เข้าไปติดในช่องท้องแล้วไม่ยุบกลับเป็นปกติ หรือ มีการบิดขั้วของลำไส้ซึ่งทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ความเชื่อที่อาจไม่เคยรู้ ทำไมโบราณถึงต้องเก็บสายสะดือลูก

 

สะดือจุ่น

 

สะดือจุ่นจำเป็นต้องรักษาหรือไม่ ?

หากสะดือจุ่นหากเป็นผู้ใหญ่ บางครั้งก็จำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนในเด็กยังไม่ต้องถึงขั้นผ่าตัดก็ได้ เพราะส่วนใหญ่จะหายได้เอง อย่างไรก็ตาม แพทย์จะรอดูอาการก่อน เพื่อตัดสินใจว่าควรผ่าตัดหรือไม่ ดังนี้

  • มีอาการเจ็บตรงสะดือ
  • มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าครึ่งนิ้วหรือประมาณ 1.5 เซนติเมตร
  • ขนาดยังไม่เล็กลง
  • ไม่หายไปเองตามปกติ ซึ่งปกติเด็กจะเริ่มหายเมื่ออายุได้ 2-3 ปี
  • มีภาวะไส้เลื่อนติดค้าง หรือภาวะลำไส้อุดกั้นค่ะ

 

วิธีทำความสะอาดสะดือทารก

แม้ว่าสะดือจะเป็นสายสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่และลูกน้อย แต่เมื่อคลอดออกมาแล้วก็แทบจะไม่มีความหมายอะไรเลย และสิ่งที่ต้องดูแลต่อไปก็คือการทำความสะอาดสะดือของทารก เพื่อป้องกันไม่ให้บริเวณสะดือของลูกติดเชื้อ มาดูกันว่าวิธีดูแลสะดือของลูกน้อยต้องทำอะไรบ้าง

 

สะดือจุ่น

 

  1. เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาดสะดือลูกให้พร้อม ได้แก่ คอตตอนบัดหรือสำลี น้ำยาสำหรับเช็ดสะดือที่ทางโรงพยาบาลเตรียมมาให้ หรือแอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำสะอาด และล้างมือให้สะอาดก่อนทำความสะดือทารก
  2. เทน้ำยาสำหรับเช็ดสะดือลงบนปลายคอตตอนบัดพอชุ่ม
  3. จับที่ปลายสะดือลูก และใช้คอตตอนบัดรูดเช็ดบริเวณโคนสะดือ ถึงปลายทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งอาจมีเศษเนื้อเยื่อรอบสะดือยังติดอยู่ให้สะอาด และเปลี่ยนคอตตอนบัดก้านใหม่มาเช็ดซ้ำ
  4. เวลาเช็ดให้ใช้สำลีเช็ดวนรอบ ๆ สะดือ เริ่มตั้งแต่บริเวณโคนสะดือ และบริเวณผิวหนังรอบ ๆ ของสะดือ โดยให้เช็ดจากด้านในออกมาด้านนอก และไม่เช็ดย้อนไปย้อนมาค่ะ เช็ดเที่ยวเดียวแล้วเปลี่ยนสำลีใหม่เช็ดทันที
  5. หลังเช็ดควรปล่อยสะดือแห้งทุกครั้ง ไม่ใช้แป้ง หรือยาโรยสะดือทุกชนิดกับทารก และไม่ควรให้เสื้อผ้า หรือผ้าอ้อมทับบริเวณสะดือ หากเป็นไปได้ พยายามใส่ผ้าอ้อมให้ต่ำกว่าสะดือของลูกน้อย เพราะหากสะดือไม่แห้งและอับชื้น จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและติดเชื้อง่าย

 

การผ่าตัดมีความเสี่ยงอะไรหรือไม่ ?

แม้ว่าความเสี่ยง หรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดจะพบได้น้อย แต่มันก็สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น

  • แผลผ่าตัดติดเชื้อ และอาจต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  • เกิดการกลับมาเป็นซ้ำ ๆ
  • รู้สึกไม่สบาย และมีอาการปวดศีรษะ หรือมีอาการชาที่บริเวณขา หลังจากที่เข้ารับการผ่าตัดเสร็จแล้ว
  • เมื่อผ่าตัดแล้ว ส่วนใหญ่แผลจะหายจนดูเป็นปกติดี แต่ในบางรายอาจมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตามแต่ละบุคคลค่ะ

 

ทางการแพทย์วินิจฉัยสะดือจุ่นอย่างไร ?

ปกติแพทย์จะวินิจฉัยการตรวจดูที่สะดือ และอาจทดสอบดูว่าสามารถผลักกลับเข้าไปในโพรงช่องท้องได้ไหม หรือไม่ก็อาจตรวจสอบว่ามีภาวะไส้เลื่อนติดค้างหรือเปล่า เพราะเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ค่อนข้างเป็นอันตราย และอาจทำให้ลำไส้ส่วนที่ติดค้างขาดเลือดได้ค่ะ นอกจากนี้ แพทย์อาจทำอัลตราซาวนด์หรือเอกซเรย์ที่ช่องท้องเพิ่มเติม เพื่อตรวจหาภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือทำการตรวจเลือดเพื่อตรวจการติดเชื้อร่วมด้วย โดยเฉพาะกรณีภาวะไส้เลื่อนติดค้างค่ะ

 

คุณพ่อคุณแม่สบายใจได้แล้วนะคะว่า ภาวะสะดือจุ่นของลูกน้อยที่เราเห็นนั้น จริง ๆ แล้วมันสามารถหายเองได้ตามธรรมชาติค่ะ แค่ต้องรอเวลาและห้ามใช้เหรียญกดทับตามคำโบราณเด็ดขาด เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก ๆ และที่สำคัญอย่าลืมเฝ้าระวังและดูแลเช็ดทำความสะอาดสะดือลูกน้อยอยู่เสมอ แต่หากลูกน้อยมีอาการที่ดูไม่ปกติ หรืออาการแทรกซ้อน ให้พาไปหาคุณหมอดีที่สุดค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เตือนใจพ่อแม่ ห้ามทำแบบนี้ กับสะดือทารก

อย่าเพิ่งคิดว่าทำได้ 5 สิ่งที่ห้ามทำกับ สะดือทารก เด็ดขาด!

สะดือลูกติดเชื้อ ระวังโรคสะพั้นโรคที่คนโบราณมักบอกว่าไม่รอด

ที่มา : cottonbaby, pobpad

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ลูกแรกเกิด สะดือจุ่น สะดือโป่ง คนโบราณให้ใช้เหรียญปิดเพื่อรักษา หรือหาหมอดี?
แชร์ :
  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว