สิ่งหนึ่งที่คุณแม่ท้องทุกคนจะต้องประสบปัญหาก็คือ อาการท้องผูกและเป็นริดสีดวงขณะตั้งครรภ์ จนในบางครั้งทำให้มีการถ่ายอุจจาระออกมาเป็นเลือด วันนี้เราจึงจะมาไขข้อสงสัยกันว่า อาการท้องผูกในแม่ท้อง อันตรายต่อคุณแม่ท้องหรือไม่
อาการท้องผูกในแม่ท้อง อันตรายหรือไม่?
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนนะคะว่าอาการท้องผูกในคุณแม่ท้องนั้นถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงของการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อลำไส้ ทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวและย่อยอาหารได้ช้าลงจนเกิดอาการท้องผูกตาม ก่อให้เกิดอุจจาระจับตัวเป็นก้อนแข็ง อาการดังกล่าวจะเป็นมากขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ค่ะ
นอกจากนี้ เพราะมดลูกของคุณแม่ท้องนั้นเริ่มมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นจนไปกดทับเส้นเลือดใหญ่ ส่งผลทำให้การไหลเวียนของเส้นเลือดในส่วนล่างของร่างกายนั้นช้าลง นอกจากนี้สาเหตุอื่นที่พบยังเกิดจากยาที่คุณแม่ท้องรับประทาน อันได้แก่ ยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กและแคลเซียมเม็ดที่คุณแม่รับประทานนั่นเองค่ะ ส่วนจะผูกมากหรือผูกน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของแคลเซียมละคะ
อาการท้องผูกในแม่ท้อง มีวิธีดูแลอย่างไร?
ดังนั้น สิ่งที่จะสามารถช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับอาการท้องผูกได้ก็คือ
1) การดื่มน้ำเปล่าจะช่วยลด อาการท้องผูกในแม่ท้อง
ในทุก ๆ วันคุณแม่ที่ตั้งท้องควรดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละ 8 – 10 แก้ว เพราะการดื่มน้ำจะช่วยให้อุจาระอ่อนนุ่ม ง่ายต่อการขับถ่าย และนอกจากน้ำเปล่าแล้ว การดื่มน้ำผลไม้ก่อนนอน เช่น น้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ น้ำแอปเปิ้ลหรือน้ำลูกพรุน ก็จะจะสามารถไปช่วยเสริมในเรื่องระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดีอีกด้วยค่ะ
2) ออกกำลังกายเบา ๆ หลังมื้ออาหาร
การออกกำลังกายเบา ๆ วันละ 20-30 นาที ที่ใช้แรงกระแทกน้อย เช่น โยคะ ว่ายน้ำ หรือการเดินช้า ๆ ส่งผลให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น และที่ยังช่วยลดอาการท้องผูกได้ดีอีกด้วยค่ะ
3) รับประทานอาหารที่มีกากใย
สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การรับประทานอาหารที่มีกากใยให้มาก ยกตัวอย่างเช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช เพราะอาหารเหล่านี้จะจะช่วยในการขับถ่ายได้ดี และช่วยลดปัญหาอาการแน่นท้องด้วยค่ะ ที่สำคัญเพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร คุณแม่ท้องควรรับประทานอาหารมื้อละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ นะคะ เช่น มื้อเล็ก ๆ 5 – 6 มื้อ ต่อวัน นอกจากนี้เวลาเคี้ยวอาหาร ควรเคี้ยวให้ละเอียด และช้าลงกว่าเดิม เพื่อช่วยให้กระเพาะอาหารไม่ทำงานหนักจนเกินไป และช่วยลดปัญหาอาการแน่นท้องด้วย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ คือ คุณแม่ควรสังเกตการขับถ่ายของตนเองเป็นประจำ ไม่ควรปล่อยให้เกิดอาการท้องผูกเป็นเวลานานจนเกินไป เพราะทำให้อุจจาระยิ่งแข็ง และเป็นปัญหามากขึ้นไปอีก สิ่งที่สำคัญเลยคือแม่ควรขับถ่ายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพอื่นที่อาจตามมาได้ค่ะ หากคุณแม่ขับถ่ายน้อยกว่านั้น หรืออุจจาระแข็งมาก ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลทันทีค่ะ
คนท้องเบ่งอุจจาระ จะเป็นอันตรายกับลูกในท้องหรือไม่?
สำหรับแม่ ๆ ที่กำลังสงสัยกันว่า การเบ่งอุจจาระในระหว่างการตั้งครรภ์ จะเป็นการกระตุ้นให้คลอดลูกเร็วขึ้นหรือเปล่า ในความเป็นจริงแล้ว การเบ่งอุจจาระเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ หากเป็นการออกแรงเบ่งอุจจาระตามปกติ ไม่ได้เป็นการเบ่งรุนแรง รวมทั้งไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด จะไม่เป็นอันตรายกับลูกน้อยในท้อง อย่างไรก็ตาม แม่ ๆ ควรหลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระที่รุนแรง เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดอาการริดสีดวงทวาร ซึ่งอาการนี้โดยปกติคนท้องเป็นง่ายอยู่แล้ว และทำให้คุณแม่เกิดความรู้สึกเจ็บบริเวณทวารหนักได้
บทความที่เกี่ยวข้อง: คนท้อง ท้องผูก ถ้าต้องเบ่งอุจจาระแรงๆ ลูกในท้องจะเป็นอันตรายไหม
หากแม่ท้องมีอาการ ท้องผูก ควรกินยาอะไร?
โดยปกติแล้ว คุณหมอจะไม่แนะนำให้คนท้องท้องผูกซื้อยาประเภทยาระบายมารับประทานเพื่อรักษา หรือบรรเทาอาการท้องผูก เนื่องจากยาบางชนิดอาจจะเป็นอันตรายกับร่างกายและทารกในครรภ์ได้ อย่างไรก็ตามคุณแม่อาจใช้ยาบางชนิดที่มีขายตามทั่วไปตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ผงไฟเบอร์ ซึ่งจะช่วยในการทำงานของระบบสำไส้และทำให้อาการท้องผูกลดลง แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เพื่อความปลอดภัย หรือทางที่ดีควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำหากจำเป็นต้องใช้ยาบรรเทาอาการท้องผูก
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่เกิดอาการท้องผูกแล้ว และพยายามทุกวิธีแล้วก็ยังแก้ไม่หาย ควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำและช่วยรักษาอาการ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ค่ะ การรักษาอาการท้องผูกโดยเร็วที่สุด จะช่วยบรรเทาความไม่สบายตัวของคุณแม่ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคริดสีดวงทวาร หรือการอุดตันของลำไส้ ดังนั้น คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง และปรึกษาคุณหมอหากมีข้อสงสัยใด ๆ ค่ะ
ที่มา: Whattoexpect, Enfababy, Pobpad
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
คนท้องท้องเสีย ปวดท้องบิด อาการแบบนี้ส่งผลต่อลูกในท้องหรือไม่
แม่ท้องอยากกินกล้วยน้ำว้า แต่โบราณบอกว่ากินแล้วคลอดยาก จริงหรือมั่ว!
วิธีบํารุงคนท้อง คนท้องกินอะไรดี อาหารบํารุงครรภ์ ไตรมาสแรกจนไตรมาสสุดท้าย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!