คนท้อง ท้องผูก ตั้งครรภ์ท้องผูกหนักมาก เบ่งอุจจาระไม่ออก แม่ท้องหลายคนเป็นอยู่ใช่ไหม ตั้งครรภ์แล้วท้องผูก โดยเฉพาะแม่ท้องไตรมาสสุดท้ายจะรู้สึกว่าท้องผูกบ่อยมาก เนื่องจากขนาดของมดลูกที่ใหญ่ขึ้นส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็มาจากชีวิตประจำวันของคุณแม่นั้นเอง แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าแบบไหนท้องผูก ถ้าท้องผูกต้องทำอย่างไร กินยาระบายได้ไหม
ท้องผูกขณะตั้งครรภ์ แต่ละไตรมาสเป็นอย่างไรบ้าง
ช่วงไตรมาสแรก เดือนที่ 1-3
ในช่วงที่คุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ที่มักจะประสบปัญหากับอาการแพ้ท้อง จนทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เมื่อยล้าง่าย รวมถึงอาการท้องผูก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น มีส่วนทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ผ่อนคลาย กลไกดังกล่าวไปส่งผลกระทบต่อการบีบตัวของลำไส้ลดลง ทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ช้าลง รวมถึงขนาดของมดลูกขยาย-หดรัดตัว และกดทับลำไส้ การเคลื่อนไหวของลำไส้จึงช้าลงเช่นกัน ทำให้ระบบการขับถ่ายเริ่มเปลี่ยนไปด้วย เช่น ขับถ่ายน้อยลง หรืออุจจาระมีลักษณะแข็ง เป็นต้น
ช่วงไตรมาสที่สอง เดือนที่ 4-6
ช่วงนี้มดลูกเริ่มขยายใหญ่มากขึ้น คุณแม่สามารถสังเกตเห็นหน้าท้องตัวเองที่เริ่มขยายจนเห็นได้ชัดมากกว่าในช่วง 3 เดือนแรก บางคนผิวเริ่มอาจแตกลายและมีอาการคัน อาการท้องผูกในช่วงนี้หากคุณแม่ปล่อยไว้ ไม่ดูแลสุขภาพ จะทำให้มีโอกาสเกิดภาวะริดสีดวงทวารเป็นไปได้ง่ายมาก
ช่วงไตรมาสที่สาม เดือนที่ 7-9
อาการท้องผูกที่อาจเกิดขึ้นในช่วงใกล้คลอดนี้ เนื่องจากการขยายตัวของเส้นเลือดบริเวณทวารหนักไปกดทับมดลูกบนเส้นเลือดในช่องท้อง ขัดขวางการไหลเวียนของเส้นเลือดบริเวณทวารหนัก ทำให้เส้นเลือดโป่งพองออก ในระยะนี้แม่บางรายอาจมีอาการริดสีดวงขณะตั้งครรภ์ได้ ซึ่งบางคนที่ไม่มีอาการมากนัก อาจมีอาการคันที่ก้นเล็กน้อย แต่ถ้าหากมีอาการมากจะพบว่ามีก้อนปูดออกมา และมีอาการปวดร่วมด้วยตรงบริเวณก้น ระบมจนทำให้ไม่สามารถนั่งเก้าอี้ได้ เวลาที่ถ่ายอุจจาระครูดกับติ่งริดสีดวงอาจทำให้มีเลือดติดออกมาด้วย ดังนั้นแม้จะรู้สึกท้องผูกในช่วงนี้ คุณแม่อย่าพยายามที่จะใช้แรงเบ่งมากไปนะคะ เพราะจะทำให้เส้นเลือดบริเวณนี้ยิ่งโป่งพองมากขึ้น อาจทำให้มีเลือดออกได้
บทความที่น่าสนใจ : คนท้องท้องเสีย ปวดท้องบิด อาการแบบนี้ส่งผลต่อลูกในท้องหรือไม่

อึแบบไหนที่เรียกว่าท้องผูก ตั้งครรภ์แล้วท้องผูก เบ่งอุจจาระไม่ออก
ถ้าคุณแม่นานๆ ถ่าย อาจไม่ได้เรียกว่าท้องผูกเสมอไป แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเราผูกต้อง คำตอบคือดูจากหัวอุจจาระ หากหัวอุจจาระแข็งมาก เวลาเบ่งจะรู้สึกเจ็บ ขับถ่ายลำบากไม่คล่อง ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ จะทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวารได้ค่ะ
ถ้าเมื่อไหร่ที่คุณแม่ถ่ายอุจจาระแล้วรู้สึกว่ามันออกมาเหมือนกระสุน แสดงว่าคุณแม่ท้องผูกอย่างหนักทำให้มันไม่สามารถถ่ายออกมาเป็นก้อนได้ คุณแม่ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน
ทำไมคนท้องถึงท้องผูกบ่อยๆ ตั้งครรภ์ท้องผูก คนท้อง ท้องผูก
- ทานอาหารที่มีกากใยน้อย เช่น กินแต่ข้าว ขนมปังขาว
- ผลข้างเคียงของการทานวิตามินบางชนิด เช่น เหล็กและแคลเซียม
- มีนิสัยการขับถ่ายที่ไม่ถูกวิธี
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลต่อกระบวนการย่อยอาหารของคนท้อง
- มดลูกขยายตัวไปกดทับลำไส้ ทำให้การทำงานของลำไส้ช้าลง
- ความเครียดก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ทำให้ร่างกายระงับการขับถ่ายชั่วคราว
- การกลั้นอึ เพราะจะทำให้ร่างกายเคยชินจนกลายเป็นไม่ถ่าย อึก็จะแข็งขึ้นเรื่อยๆ

ตั้งครรภ์เบ่งอุจจาระ ลูกในท้องจะเป็นอันตรายไหม
คุณแม่ที่มีอาการท้องผูกแล้วต้องออกแรงเบ่งเพื่อถ่ายอุจจาระออกมา หากไม่มีเลือดออกมาทางช่องคลอดก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อลูกในท้องแต่อย่างใดค่ะ แต่การออกแรงเบ่งอึแรงๆ จะมีผลเสียกับคุณแม่เองมากกว่า เพราะอาจทำให้คุณแม่เกิดโรคริดสีดวงทวาร ซึ่งโดยปกติคนท้องเป็นง่ายอยู่แล้วด้วย ดังนั้น คุณแม่ต้องดูแลตัวเองพยายามทานผักและผลไม้จะได้ไม่เป็นริดสีดวงทวารนะคะ
วิธีลดอาการท้องผูกในคนท้อง ตั้งครรภ์แล้วท้องผูก
1. เพิ่มอาหารที่มีเส้นใย
เมื่อคุณแม่ท้องจำเป็นต้องเพิ่มอาหารที่มีเส้นใยมากขึ้น เพราะมันจะช่วยให้ขับถ่ายได้สะดวก เคลื่อนที่ได้ง่าย และทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มไม่แข็งด้วย ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคริดสีดวงทวารของคนท้องได้เป็นอย่างดี อาหารที่มีเส้นใยมาก มีดังต่อไปนี้
- ผัก: คนท้องควรกินผักให้ได้อย่างน้อยวันละ 200-300 กรัม และควรกินให้ได้ 3 มื้อถึงจะดีที่สุด ผักที่แนะนำ เช่น ผักโขม บรอกโคลี มะเขือเทศ พริกหยวก แครอท ใบชะพลู ใบขึ้นฉ่าย ใบยอ มะเขือพวง ใบตำลึง ใบกะเพรา ใบขี้เหล็ก ชะอม เป็นต้น
- ผลไม้: คุณแม่ควรกินผลไม้วันละ 2-3 ชนิด เช่น มะม่วงสุก องุ่น ส้ม เงาะ มังคุด แอปเปิ้ล ฝรั่ง กล้วย มะละกอสุก มะพร้าว แตงโม สับปะรด ลูกพรุน เป็นต้น พยายามหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวาน ผลไม้แปรรูป
- ธัญพืช: เช่น ข้าวกล้อง ลูกเดือย ข้าวโอ๊ต และขนมปังโฮลวีต อาหารที่ไม่ขัดสี
2. ตั้งครรภ์ ท้องผูก ต้องดื่มน้ำมากๆ
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ร่างกายจะต้องการน้ำเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ทำให้ท้องผูกง่ายขึ้น ดังนั้น แม่ควรดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละ 8-10 แก้ว และนอกจากน้ำเปล่าแล้ว การดื่มน้ำผลไม้ก่อนนอน เช่น น้ำมะเขือเทศ น้ำแอปเปิ้ล หรือน้ำลูกพรุน ก็จะช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดีเช่นกัน

3. เคี้ยวอาหารให้นานขึ้น
เวลาเคี้ยวอาหาร ควรเคี้ยวให้ละเอียด และช้าลงกว่าเดิม เพื่อช่วยให้กระเพาะอาหารไม่ทำงานหนักจนเกินไป และช่วยลดปัญหาอาการแน่นท้องด้วย
4. สร้างนิสัยที่ดี
หากเป็นไปได้คุณแม่ควรออกกำลังกายทุกวัน เวลาที่จะถ่ายอุจจาระไม่ควรนั่งเบ่งเป็นเวลานาน หากจะเบ่งก็อย่ารุนแรงจนเกินไป ที่สำหรับควรสร้างสุขลักษณะในการขับถ่ายที่ดี พยายามถ่ายทุกวันให้เป็นเวลาค่ะ
5. เลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดท้องผูก
เครื่องดื่มที่มักจะทำให้คุณแม่ท้องผูก ได้แก่ แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และน้ำอัดลม สำหรับคุณแม่ที่อยากทานอย่างอื่นนอกเหนือจากผักและผลไม้ ลองเปลี่ยนมากินโยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว เพราะทั้งสองสิ่งนี้ช่วยในเรื่องของการขับถ่ายเช่นเดียวกัน แถมยังมีหลากหลายรสชาติให้คุณแม่ได้เลือกอีกด้วยค่ะ
สำหรับเรื่องยาระบายนั้น ถ้าคุณแม่จำเป็นต้องพึ่งยาควรปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุด เพราะหากทานยามากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อทั้งคุณแม่เองและลูกในท้อง อีกทั้ง หากกินบ่อย ๆ จะทำให้ร่างกายเคยชิน ไม่สามารถขับถ่ายได้เองจำเป็นต้องใช้ยาเร่งระบายอยู่ตลอด ทางที่ดีที่สุดคือการกินอาหารที่มีเส้นใยเพื่อช่วยเรื่องการระบายถึงจะดีที่สุดค่ะ
ที่มา: paolohospital
ถ้าหากคุณเป็นคุณแม่สายโซเชียล ชอบเล่น Facebook หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
มาร่วม join กรุ๊ป เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ต่างๆ ใน คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club) กันได้นะคะ

เคลียร์ทุกข้อสงสัย เจาะลึกทุกประเด็นของคุณแม่ผ่าคลอด
ค้นหาคำตอบกันได้ที่ “คลับแม่ผ่าคลอด” คลิก!! https://bit.ly/32T4NsU
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
อาหารแก้ท้องผูกสําหรับคนท้อง ตั้งครรภ์ท้องผูก มีวิธีแก้ยังไงบ้าง
วิธีบํารุงคนท้อง คนท้องกินอะไรดี อาหารบํารุงครรภ์ ไตรมาสแรกจนไตรมาสสุดท้าย
จะรอให้ท้องลายกันทำไม? ป้องกันการแตกลายเมื่อตั้งครรภ์แต่เนิ่นๆด้วยวิธีนี้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!