X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการครรภ์เป็นพิษ ครรภ์เป็นพิษ อันตรายไหม วิธีป้องกันครรภ์เป็นพิษ เพื่อแม่ท้องและทารกในครรภ์

บทความ 3 นาที
อาการครรภ์เป็นพิษ ครรภ์เป็นพิษ อันตรายไหม วิธีป้องกันครรภ์เป็นพิษ เพื่อแม่ท้องและทารกในครรภ์

อาการครรภ์เป็นพิษ

อาการครรภ์เป็นพิษ อันตรายไหม แม่ท้องไม่อยากเป็น มีวิธีป้องกันครรภ์เป็นพิษได้ไหม แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ามีอาการครรภ์เป็นพิษ

ภาวะครรภ์เป็นพิษ

ภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) พบได้ร้อยละ 5-10 แม้ว่าความเสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษจะไม่สูงมาก แต่เมื่อเป็นแล้วอาการรุนแรงก็จะนำไปสู่การเสียชีวิตของแม่ตั้งครรภ์และลูกในท้องได้ ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในระหว่างตั้งครรภ์ สำหรับสาเหตุของครรภ์เป็นพิษยังไม่แน่ชัด แต่อธิบายได้ว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ จึงส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนอื่นทั่วร่างกาย สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการพัฒนาของรกที่ผิดปกติ

สำหรับอาการครรภ์เป็นพิษมักเกิดหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์จนถึง 48 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนใหญ่จะพบภาวะนี้หลังอายุครรภ์ 32 สัปดาห์

 

อาการครรภ์เป็นพิษเป็นอย่างไร

  • มือและเท้าบวมมากในขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ร่วมกับมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ
  • ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว คลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจากความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น รวมถึงสมองบวม
  • เจ็บจุกแน่นที่ลิ้นปี่หรือบริเวณชายโครงขวา เนื่องจากตับโตขึ้น หรือมีเลือดออกในตับ -เหนื่อยหอบ, หายใจลำบาก, นอนราบไม่ได้ เนื่องจากน้ำท่วมปอด
  • หากมีเลือดออกในสมองอาจทำให้เสียชีวิตได้ รวมถึงการทำงานของหลายระบบอวัยวะอาจล้มเหลวจากครรภ์เป็นพิษ เช่น มีไตวาย ตับวาย เกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งทารกในครรภ์จะได้รับผลกระทบโดยตรง โดยจะอยู่ในภาวะขาดออกซิเจน ทารกตัวเล็ก รกลอกตัวก่อนกำหนด จนอาจเสียชีวิตในครรภ์เช่นกัน

สำหรับอาการครรภ์เป็นพิษนั้น สามารถตรวจพบได้จากภาวะความดันโลหิตสูง โปรตีนรั่วในปัสสาวะ และปัญหาการไหลเวียนโลหิตที่มีส่วนทำให้เกิดครรภ์เป็นพิษทั้งชนิดที่ไม่รุนแรงและชนิดรุนแรง

 

วิธีป้องกันครรภ์เป็นพิษ

ถ้าแม่ท้องไม่อยากเจอกับอาการครรภ์เป็นพิษ ต้องลดความเสี่ยงดังนี้

  1. ฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด
  2. ลดอาหารเค็ม อาหารมัน และกินอาหารที่มีโปรตีนเพิ่มขึ้น
  3. ดื่มน้ำให้มากกว่าหรือเท่ากับ 8 แก้วต่อวัน
  4. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  5. ยกเท้าสูงเวลานั่งหรือนอน

 

ภาวะครรภ์เป็นพิษเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน

แม่ท้องมักจะไม่รู้ตัวว่ามีอาการครรภ์เป็นพิษ ทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทั้งตัวแม่ท้องและทารกในครรภ์ อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

ครรภ์เป็นพิษเสี่ยงต่อแม่ท้อง

  • ชัก
  • การทำงานของไตผิดปกติหรือไตวาย
  • ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
  • มีเลือดออกในระหว่างตั้งครรภ์
  • ภาวะเลือดออกในสมอง
  • น้ำท่วมปอด

ครรภ์เป็นพิษเสี่ยงต่อทารกในครรภ์

  • ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
  • ทารกแรกคลอดน้ำหนักตัวน้อย
  • ทารกคลอดก่อนกำหนด
  • ทารกเสียชีวิตในครรภ์

 

แม่กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการครรภ์เป็นพิษ

  • ตั้งครรภ์ครั้งแรก
  • ตั้งครรภ์แฝด
  • ตั้งครรภ์ในขณะอายุน้อยกว่า 20 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
  • มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
  • เคยมีประวัติครรภ์เป็นพิษหรือโรคหลอดเลือดหัวใจในครอบครัว
  • ตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
  • มีภาวะเลือดแข็งตัวง่าย
  • มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง ไต เบาหวาน โรคแพ้ภูมิตนเอง (SLE) ข้ออักเสบรูมาตอยด์

 

อาการครรภ์เป็นพิษถือเป็นอันตรายร้ายแรง ทั้งกับตัวแม่ท้องเองและทารกในครรภ์ ดังนั้น แม่ท้องควรไปหาหมอทุกครั้งตามนัด ดูแลตัวเองระหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะแม่ท้องกลุ่มเสี่ยง

 

รู้กันไปแล้วว่าอาการครรภ์เป็นพิษ ต้องสังเกตอย่างไร มาโหวตกันหน่อยว่า ขณะตั้งครรภ์ คุณพ่อแพ้ท้องด้วยหรือไม่ ถ้ากดโหวตไม่ได้ คลิกที่นี่

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

 

 

อ่านประสบการณ์จริงของคุณแม่เกี่ยวกับอาการครรภ์เป็นพิษ

อาการครรภ์เป็นพิษ ตามใจปากช่วงท้องต้องระวัง ครรภ์เป็นพิษ ครรภ์เป็นพิษเกิดจากสาเหตุใด

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาการคนท้องไตรมาสแรก ที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง

โรคแทรกซ้อนแม่ท้องต้องระวัง 10 โรคอันตรายที่คุณหมอพบบ่อย

ไข้หวัดใหญ่อันตรายกว่าที่คิด เด็กเล็กเสี่ยงตาย แม่ท้องเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

เรื่องจริงที่แม่ท้องใกล้คลอดต้องเจอ โค้งสุดท้ายแล้วคนท้องต้องเจออะไรบ้าง?

ที่มา : bumrungrad, 2, mamastory

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • อาการครรภ์เป็นพิษ ครรภ์เป็นพิษ อันตรายไหม วิธีป้องกันครรภ์เป็นพิษ เพื่อแม่ท้องและทารกในครรภ์
แชร์ :
  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว