X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกแรกเกิดน้ำท่วมปอด เพราะผ่าคลอดตามฤกษ์ แม่เชื่อหมอดูมากกว่าหมอ

บทความ 3 นาที
ลูกแรกเกิดน้ำท่วมปอด เพราะผ่าคลอดตามฤกษ์ แม่เชื่อหมอดูมากกว่าหมอ

อยากผ่าคลอดตามฤกษ์ ลูกเกือบไม่รอด! ผ่าคลอดตามฤกษ์คลอด ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนหาฤกษ์จากหมอดู อย่ามัวเลือกแต่ฤกษ์คลอดจนลูกอาจไม่รอด

ลูกแรกเกิดน้ำท่วมปอด ความเสี่ยงของการผ่าคลอดตามฤกษ์คลอด โดยไม่คำนึงถึงสภาพร่างกายแม่ สุขภาพของลูกน้อย น้ำท่วมปอดเกิดจาก ก่อนคิดถึงฤกษ์คลอด คิดถึงชีวิตลูกด้วย

 

ลูกแรกเกิดน้ำท่วมปอดจากฤกษ์คลอดที่ไม่เหมาะสม

รศ.นพ.นพดล สโรบล MBBS,MRCOG สูตินรีแพทย์ กล่าวถึงลูกแรกเกิดน้ำท่วมปอด หรือน้ำท่วมปอดในทารกแรกเกิด จากการคลอดตามฤกษ์ที่ไม่เหมาะสม ว่า ทุกวันนี้ในบ้านเรามีทารกจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาน้ำท่วมปอดเนื่องจากถูกผ่าคลอดออกมาในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม เร็วเกินไป เด็กยังไม่พร้อม ยังไม่สามารถปรับตัวได้ ผมกำลังพูดถึงกรณีที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องกำหนดวันผ่าคลอด

สำหรับอายุครรภ์ที่เหมาะสมสำหรับผ่าคลอดคือระหว่าง 38-40 สัปดาห์ นั่นคือ ในช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ ในระยะ 5 ปีหลังผลงานวิจัยทั้งจาก ยุโรปและอเมริกาชี้ชัดว่า อายุครรภ์ที่ปลอดภัยที่สุด คือตั้งแต่ 39 สัปดาห์ขึ้นไป แม้กระทั่งช่วง 38-39 สัปดาห์ยังเร็วไปนิดนึง

 

น้ำท่วมปอด คืออะไร น้ำท่วมปอดเกิดจาก อะไร

ระหว่างที่อยู่ในท้องแม่ ปอดของทารกยังไม่ทำงาน เต็มไปด้วยน้ำ ทารกยังไม่ต้องหายใจ เขาได้รับออกซิเจนจากกระแสเลือดผ่านจากรกมาทางสายสะดือ ทันทีที่คลอดออกมา ทารกต้องเริ่มหายใจเอง ปอดของเขาจะขจัดน้ำออกไปเพื่อให้อากาศเข้ามาแทนที่ ในกรณีที่ทารกคลอดเร็วเกินไป ปอดไม่สามารถขจัดน้ำได้ทันท่วงที เขาตกอยู่ในสภาวะน้ำท่วมปอด หายใจเร็วและหอบ ขาดออกซิเจน ดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด เหมือนคนกำลังจมน้ำ ลองนึกภาพดูสิครับ น่าสงสารเหลือเกิน ต้องอยู่ในตู้อบ ช่วยด้วยออกซิเจน ถ้าโชคดีอาการจะค่อยๆดีขึ้นภายใน 2-3วัน แต่ทารกบางคนโชคไม่ดี ทรุดตัวลง มีภาวะแทรกซ้อน ปอดไม่ทำงาน ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ บางกรณีถึงกับเสียชีวิตก็มี แทนที่จะได้ออกมาลืมตาดูโลกอยู่ในอ้อมกอดแม่ ดูดนมแม่ กลับต้องมาทนทุกข์ทรมาน เพียงแค่เพราะถูกผ่าคลอดออกมาเร็วเกินไป เพียงแค่พ่อแม่ของเขาอยากให้เกิดตามฤกษ์

 

ตอนนี้ผมอยากให้ท่านทั้งหลายลองดูคลิปของทารกแรกเกิดที่มีปัญหาน้ำท่วมปอดตามในลิงค์ที่ผมแนบมา

Advertisement

น่าสงสารมากครับ ใครเห็นก็ต้องสงสาร คนที่เป็นพ่อเป็นแม่ก็ต้องหัวใจสลาย หลังจากดูคลิปนี่แล้ว ผมอยากถามพ่อแม่ทั้งหลายว่า “คุ้มไหม…คุ้มไหมครับ กับการได้ฤกษ์ที่ต้องการ”

ในเมื่อรู้ว่าไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นทำไมในบ้านเรายังมีการเลือกวันผ่าคลอดที่เร็วเกินไป ก่อน 38 สัปดาห์ ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อปัญหาน้ำท่วมปอดในทารกแรกเกิด อยู่เรื่อย ๆ ละครับ คำตอบคือ การขาดความรู้ความเข้าใจ การหลงเชื่อในฤกษ์ยามและผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง การตัดสินใจเลือกวันผ่าคลอดเป็นการตกลงกันระหว่างสูติแพทย์เจ้าของไข้กับแม่ที่ตั้งครรภ์

ที่มา : https://www.newtv.co.th/

 

ก่อนจะห่วงแต่ฤกษ์คลอด ห่วงชีวิตลูกด้วย

ศ.คลินิกเกียรติคุณ พญ.วิบูลพรรณ ฐิตะดิลก เปิดเผยถึงความนิยมการผ่าคลอดโดยใช้ฤกษ์คลอดว่า การผ่าตัดคลอดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน สำหรับเหตุผลที่พ่อแม่เลือกวิธีการผ่าตัดคลอดมาจากหลายปัจจัย เช่น กลัวความเจ็บปวดจากการคลอดธรรมชาติ หรือบางคนอาจจะไม่อยากให้ช่องคลอดฉีกขาด เป็นต้น แต่เหตุผลส่วนใหญ่เกิดจากการห่วงความปลอดภัยของเด็ก และการแพทย์ที่ก้าวหน้าก็ทำให้พ่อแม่เชื่อว่าการผ่าตัดและดมยาสลบ มีความปลอดภัยสูงขึ้นกว่าเดิม ส่วนเหตุผลรองลงมาคือ ความต้องการเลือกฤกษ์เกิดเด็ก แต่ก็ต้องคำนึงถึงความสะดวกของ 2 ฝ่าย ทั้งแพทย์และคนไข้

 

ข้อดี VS ข้อเสียของการผ่าตัดคลอด

 

ข้อดีของการผ่าคลอด

โอกาสที่ทารกจะบาดเจ็บจากการคลอด เช่น ติดไหล่ จะน้อยลง ขณะที่แพทย์ก็สามารถกำหนดเวลาที่เหมาะสมได้ ทำให้ไม่ต้องเฝ้าคลอดนาน

ข้อเสียของการผ่าคลอด

  1. คนไข้มีโอกาสต้องผ่าตัดซ้ำสูง ซึ่งกระทบต่อระบบสุขภาพในภาพรวม เช่น การแย่งห้องผ่าตัด และอาจเกิดปัญหาเมื่อตั้งครรภ์ใหม่แล้วไปคลอดในสถานพยาบาลที่ไม่มีห้องผ่าตัดอาจทำให้เกิดอันตรายได้
  2. เสียเลือดมากกว่าปกติ
  3. เพิ่มโอกาสที่จะติดเชื้อ
  4. เพิ่มความเสี่ยงจากเรื่องวิสัญญี
  5. บางครั้งการตามใจคนไข้อาจทำให้เกิดอันตราย เนื่องจากเลือกเวลาที่ไม่เหมาะสม เวลาที่แพทย์หรือบุคลากรผู้ช่วยไม่พร้อม
  6. คนไข้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
  7. การมีแผลผ่าตัดที่ตัวมดลูกทำให้เสี่ยงต่อมดลูกแตกเวลาตั้งท้องครั้งใหม่
  8. กรณีตั้งครรภ์ใหม่ พบรกเกาะต่ำได้บ่อยขึ้น และฝังตัวลึกกว่าปกติ อาจจำเป็นต้องตัดมดลูกทิ้ง

ที่มา : https://mgronline.com/home

 

จะเห็นได้ว่า การผ่าคลอดตามฤกษ์คลอดโดยไม่คำนึงถึงร่างกายของแม่ท้องและลูกในครรภ์ อาจก่อให้เกิดผลร้ายอย่างลูกแรกเกิดน้ำท่วมปอดได้ หากพ่อแม่หรือคนในครอบครัว อยากผ่าคลอดตามฤกษ์จริง ๆ ควรพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ก่อนตัดสินใจไปหาฤกษ์ผ่าคลอดจากหมอดูนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง แม่ผ่าคลอด มีลูกได้กี่คน อันตรายไหม และต้องดูแลตัวเองยังไง

บล็อกหลังคลอดลูก ปลอดภัยแค่ไหน มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง

ตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ลูกแรกเกิดน้ำท่วมปอด เพราะผ่าคลอดตามฤกษ์ แม่เชื่อหมอดูมากกว่าหมอ
แชร์ :
  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว