ถ้าพูดถึงภาวะ Asphyxia หลายๆ คนอาจจะยังไม่คุ้นหูนัก ซึ่งภาวะนี้โรคนี้เป็นการขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่นำเป็นสู่อาการอันตรายหลายๆอย่าง โดยพบในเด็กถึง 2 ใน 3 จาก 1,000 คน เราเลยมาพูดคุยกับ นายเเพทย์ ธนินทร์ เวชชาภินันท์ นายเเพทย์เชี่ยวชาญด้านกุมารประสาทวิทยา จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เกี่ยวกับรายละเอียดของภาวะนี้กัน
ทารกขาดออกซิเจน ระหว่างคลอด เรื่องจริงจากหัวอกแม่
สาเหตุของภาวะ Asphyxia
สาเหตุเแรก คือ เริ่มตั้งเเต่ในท้องเเม่ก่อนคลอด มาจากหลายอย่าง เช่น
- เด็กสายรกเสื่อม
- ปัญหาจากการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์
- ภาวะครรภ์เป็นพิษเนื่องจากเเม่มีความดันโลหิตสูง
- ภาวะที่เเม่ช็อกเพราะเสียลือดมากดังนั้นเลือดจึงไม่สามารถไปเลี้ยงเด็กได้เพราะความดันโลหิตต่ำ
- กรณีแม่ประสบอุบัติเหตุ ที่ส่งผลต่อความดันโลหิตของแม่
- เด็กติดอยู่ในปากมดลูกนานเกินไปเนื่องจากการคลอดมีปัญหาเเละขาดออกซิเจนในที่สุด
ซึ่งถ้าเเพทย์หรือผู้ดูเเลวิเคราะห์ว่าเด็กมีภาวะ Asphyxia ตั้งเเต่อยู่ในท้องเเล้ว ก็อาจจต้องคลอดด้วยวิธีอื่น เช่น ผ่าตัดออกทางหน้าท้องโดยด่วน เพื่อให้เด็กคลอดออกมาในช่วงที่สมองเด็กไม่ขาดออกซิเจนมากไปกว่านี้ จากนั้นก็พาออกมาดูแลข้างนอกแทน
หรือในบางราย เด็กอาจมีภาวะบางอย่างจนทำให้เกิดการ “คลอดก่อนกำหนด” โดยที่จริงเเล้วปกติการคลอดจะต้อง 38 สัปดาห์ขึ้นไป หรือ 9 เดือน เด็กจึงจะร่างกายสมบูรณณ์ มีปอด เเละสมองสมบูรณ์พร้อมที่จะออกมาหายใจภายนอกได้ เเต่การที่เด็กคลอดก่อนกำหนดอาจมาจากที่ในท้องมีความผิดปกติบางอย่าง ดังนั้นเด็กจึงเกิดการป้องกันตัวเอง ด้วยการพยายามออกมาจากในท้องเเม่ จนเกิดเป็นภาวะเกิดก่อนกำหนดในที่สุด
ทารกขาดออกซิเจน ระหว่างคลอด เรื่องจริง จากหัวอกแม่
โดยการคลอดก่อนกำหนดนี้ อาจทำให้ปอดยังไม่พร้อมทำงาน เพราะขาดสารยืดหยุ่นของปอด ดังนั้นปอดจึงไม่ขยายตัว ประกอบกับปอดยังขยายตัวไม่เต็มที่ มีปัญหาในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ออกซิเจนที่ไปเลี้ยงสมองจึงน้อย เเละสมองเองก็เป็นอวัยวะที่ต้องใช้ออกซิเจนมาก และอาจมีอาการเเสดงออกทางสีผิว คือ อาจจะตัวเขียว (ภาวะ“เด็กเขียว”) หรือ บางรายมาโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเเล้ว หรือมีอีกประเภท คือ เด็กที่คลอดตามเวลาปกติครบ 38 สัปดาห์ เเต่มีปัญหาเกิดขึ้นขณะคลอด เช่น
- ภาวะรกมีปัญหาเช่นรกเกาะต่ำ
- คลอดปกติเเล้วมาขาดออกซิเจนข้างนอก
- เด็กปอดอักเสบติดเชื้อตั้งเเต่อยู่ในท้องเเล้วออกมาขาดออกซิเจนอยู่ข้างนอกทำให้ระบบเเลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่สมบูรณ์เป็นผลให้ได้รับออกซิเจนน้อย
ทารกขาดออกซิเจน ระหว่างคลอด เรื่องจริง จาก หัวอกแม่
เด็กกลุ่มอายุครรภ์ปกตินี้เมื่อเกิดสภาวะ Asphyxia จะทำให้ความดันในปอดสูง เลือดผ่านเข้าปอดไม่ได้ พอเลือดผ่านปอดไม่ได้ ก็ไม่สามารถเเลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ ทำให้สมองขาดออกซิเจนอีก นั่นหมายความว่าแม้เด็กอายุครรภปกติก็อาจเกิดภาวะ Asphyxia ได้เช่นกัน
เมื่อคุณแม่หนึ่งในสมาชิกเฟสบุ๊คนามว่า Pakgad Naka ได้แบ่งปันประสบการณ์ตรงของตัวเองผ่านเพจดังชื่อ คนท้องคุยกัน ว่า เมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา เวลาตี 3.55 น. คุณแม่ลุกเข้าห้องน้ำเพื่อถ่ายอุจจาระปกติ และรู้สึกเจ็บอีกครั้งในเวลาตี 4 น. โดยคุณแม่คิดว่าน่าจะเป็นการเจ็บท้องหลอก และก็ยังคงถ่ายอุจจาระอยู่ แต่ดูเหมือนว่า อาการทั้งหมดจะไม่ใช่การเจ็บท้องหลอกอีกต่อไป เพราะคุณแม่รู้สึกว่า ตนเองเจ็บทุก ๆ ห้านาที จึงรีบเก็บของเตรียมไปโรงพยาบาล แต่ในตอนนั้น คุณแม่ลุกขึ้นเดินไม่ไหวแล้ว จึงได้รีบโทรขอความช่วยเหลือผ่านเบอร์ 1669
ทารกขาดออกซิเจน ระหว่างคลอดเรื่องจริง จาก หัวอกแม่
และในเวลาตี 4.55 น้ำคร่ำเกิดแตก ขาเด็กได้หลุดออกมาแล้ว ซึ่งระหว่างที่รอหมอคุณแม่ก็เบ่งลูกไปด้วย และถึงแม้ว่าระหว่างที่รอหมอมานั้นจะใช้เวลาเพียง 5-10 นาทีก็ตาม แต่ความรู้สึกของแม่ในตอนนั้นมันดูนานมากจริง ๆ
และเมื่อหมอมาถึงก็ช่วยทำคลอด แต่พอน้องออกมาได้ครึ่งกลางลำตัว ก็เกิดหมดแรง และรอลมเบ่งอีกประมาณ 1-2 นาที ถึงจะสามารถเบ่งต่อได้ คราวนี้เบ่งน้องได้สำเร็จ แต่สภาพของน้องในตอนนั้นตัวเป็นสีม่วงแล้ว หมอรีบใช้เครื่องช่วยหายใจในทันที และรีบประสานงานกับโรงพยาบาลบริเวณใกล้เคียง แต่ไม่มีใครรับเลย จนกระทั่งมาถึงโรงพยาบาลเด็กจึงจะยอมรับให้เด็กเข้ารับการรักษา “งงมากค่ะ ไม่ทราบว่าเพราะอะไร ทำไมถึงไม่ยอมรับลูกเข้ารับการรักษา เคยได้ยินเรื่องราวนี้ แต่ไม่คิดว่าจะต้องมาเจอกับตัวเอง ตอนที่ขึ้นรถพยาบาลนั้น หมอบอกว่าน้องอาการน่าเป็นห่วงมาก ใจคิดแต่เพียงว่า น้องจะต้องรอด”
คุณหมอแจ้งว่า น้องมีอาการขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองนานเกินไป มีความดันต่ำ เสี่ยงเป็นไตวายและตับวาย ทั้งยังมีอาการชักด้วย ซึ่งหมอบอกว่าน้องจะหายหรือไม่ขึ้นอยู่กับตัวของน้องเอง แต่ถ้าหายก็มี 2 แบบคือ หายเป็นปกติแต่จะเป็นโรคลมชัก หรือหายแต่เป็นเด็กนอนติดเตียง
คุณหมอใช้วิธีการรัษาโดยใช้วิธีทำให้ตัวน้องเย็นเพื่อรักษาเซลล์สมองและอวัยวะภายในไม่ให้มีของเสียออกมามาก โดยน้องคลอดมาด้วยน้ำหนักตัวเกือบ 3,500 กรัม และในขณะนี้ยังคงรักษาตัวอยู่ในห้อง NICU โรงพยาบาลเด็ก
คุณแม่ได้ฝากข้อคิดให้กับคุณแม่ท่านอื่น ๆ ว่า “อยากฝากให้ดูแลตัวเองมาก ๆ ค่ะ ถ้ามีอาการเจ็บท้อง ท้องแข็งให้รีบไปหาหมอโดยทันที ถึงจะเป็นการเจ็บท้องหลอกก็ตาม เพราะมันคือความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตลูกเราได้”
อย่างไร ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคน ขอเป็น กำลังใจ ให้คุณแม่และลูกชาย ขอให้น้องหายเป็นปกติโดยเร็วที่สุดค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ
ที่มา: คนท้องคุยกัน และ Pakgad Naka
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
5 สัญญาณใกล้คลอด ส่ออาการเจ็บท้องคลอดจริง
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!