วิธีเลี้ยงเด็กยุคใหม่ ที่โตมากับเทคโนโลยีพ่อแม่ควรสอนลูกเรื่องอะไรดี แต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าเด็กยุคนี้มักจะเป็นคนใจร้อน รอคอยไม่เป็น เอาแต่ใจตัวเอง และเชื่อมั่นในตัวเองสูง จนกระทั่งกลายเป็นโรคชนิดใหม่ขึ้นมา นั่นคือ “โรคตัวกูใหญ่” โดยเด็กจะมีนิสัยที่ชอบเอะอะก็จะเอาให้ได้ไว้ก่อน ต้องดีกว่าคนอื่น แล้วก็ชอบดูถูกคนอื่น เพราะคิดว่าคนอื่นด้อยกว่าตัวเองจึงอยากจะเอาเปรียบ และทำอะไรก็ไม่เคยคิดถึงคนอื่นไม่เห็นใจจะเอาตามใจฉัน
สำหรับพ่อแม่คนไหนที่กังวลว่าลูกจะกลายเป็นโรคนี้ แนะนำให้รีบป้องกันโรคร้ายนี้แต่เนิ่นๆ อย่าปล่อยให้สายเกินแก้ เพราะไม่เช่นนั้นเวลาที่คุณพูดอะไรลูกก็จะไม่ฟัง ดื้อ และชอบทำตามใจตัวเองที่สุด โดยคุณสามารถเริ่มที่จะปลูกฝังลูกได้ตั้งแต่ช่วงขวบปีแรก ดังนี้
วิธีเลี้ยงเด็กยุคใหม่ ดูแลเด็ก
1. ฝึกลูกให้รู้จักรอ: เวลาที่ลูกเรียกร้องหรือต้องการอะไรก็อย่าตให้ลูกได้ในสิ่งที่ต้องการทันที ฝึกให้ลูกรู้จักรอเพื่อสร้างความเข้าใจการรอคอยบ้าง เพราะการที่เราตอบสนองลูกแบบรวดเร็ว คือ ร้องปุ๊ปถึงตัวปั๊ปจะส่งผลให้เด็กเคยชิน เอาแต่ใจ และจะเคยตัวว่าถ้าฉันจะได้ก็ต้องได้ตอนนี้
2.ฝึกให้ผิดหวังบ้าง: อย่าเป็นพ่อแม่ที่พยายามค้นหา คว้าทุกสิ่งทุกอย่างที่ลูกต้องมาให้เพราะคุณกำลังสร้างให้ลูกเคยชินกับการต้องได้เพียงอย่างเดียวโดยสั่งจากคนอื่นไม่พยายามทำด้วยตัวเอง สุดท้ายลูกก็จะกลายเป็นคนทำอะไรไม่เป็นและอยู่ในสังคมยาก
3.ฝึกลูกแบ่งปันของตัวเองให้คนอื่น: โดยอาจเริ่มจากแบ่งของเล่นให้กับพี่น้องหรือเพื่อนๆ หรือจะให้แบ่งขนมให้พ่อแม่ เพื่อน คนในคอรบครัวก็ได้ เพราะการแบ่งปันของให้คนอื่นเป็นการฝึกลูกให้รู้จักการให้ อย่าทำให้ลูกเคยชินกับการได้รับจากของจากคนอื่นเพียงอย่างเดียว
4.อย่าให้รักลูกเกินไป: คนเป็นพ่อเป็นแม่ย่ิมรักลูกและอยากจะปกป้องลูกเป็นธรรมดา แต่ควรจะรักให้เป็นรู้จักเปิดใจมองลูก ยอมรับข้อเสียของลูกบ้าง และยอมรับว่ามันเกิดจากเราการเลี้ยงลูกที่ผิดๆ มาเอง ไม่ต้องโทษใครถ้าลูกมีนิสัยแย่ๆ ดังนั้นเราคือ ต้นเหตุในหลายๆ เรื่อง ต้องยอมรับสิ่งที่เกิดและรีบแก้ไขในสิ่งที่ควรจะเป็นซะ
วิธีเลี้ยงเด็กยุคใหม่ ดูแลเด็ก
ดูแลเด็ก ไม่เพียงแค่นั้น เด็กในยุคปัจจุบันอยู่ในเจเนอเรชั่นอัลฟ่า (Generation Alpha) ซึ่งคือเด็กที่เกิดระหว่างปี 2010-2024 เกิดมาได้แปปเดียวก็มีสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตเป็นของเล่นชิ้นแรกแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ และปลูกฝังลูกก่อนจะครบ 10 ขวบ ให้คุ้นชินกับการการใช้เทคโนโลยรอย่างสร้างสรรค์ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ และจิตสำนึก เพื่อจะได้ไม่ต้องมารับผิดกับปัญหาที่ตัวเองไม่ได้ก่อภายหลัง โดยพ่อแม่ต้องสอนลูกใน 8 ประการนี้ ได้แก่
1. อัตลักษณ์ของพลเมืองดิจิทัล: เด็กต้องรู้จักการสร้างตัวตน สร้างความเป็นตัวเองที่ดีทั้งในสื่อออนไลน์ และโลกของความเป็นจริง ซึ่งพ่อแม่หลายท่านคงจะเห็นว่าเด็กวัยรุ่นสมัยนี้ใช้โวโชียลอย่างเสื่อมโทรม ทำอะไรไม่รู้จักคิด ถ้าพ่อแม่ไม่อยากให้ลูกเป็นแบบนั้นต้องสอนลูกให้เข้าใจไว้ก่อน
2. การจัดสรรเวลาหน้าจอ: เรื่องเด็กติดมือถือ ติจอ อย่าว่าแต่ลูกเลยพ่อแม่บางคนติดหนักมากกว่าอีก แต่ถ้าลูกน้อยของคุณติดมือถือคงแย่ เพราะจะเป็นการรบกวนการพักผ่อนและทำให้ไม่สนใจการเรียนได้
3. การรับมือกับการกลั่นแกล้ง: การกลั่นแกล้งในโซเชียลถือเป็นการคุกคามที่น่ากลัวอย่างหนึ่งเพียงเพราะความสนุกคึกคะนองของเด็กบางกลุ่ม แต่ไม่รู้เลยว่ามันจะไปทำร้ายคนๆ เดียวเพียงชั่วข้ามคืน และตอนี้ก็มี พ.ร.บ.เกี่ยวกับการใช้สื่อ ซึ่งอนาคตอาจมีมาตรการและบทลงโทษที่รุนแรงกว่า หากไม่อยากให้ลูกเป็นทั้งคนทำและถูกกระทำควรต้องสอนการรับมือต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกับยกกรณีศึกษาให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย
4. การรักษาความปลอดภัยในโลกออนไลน์: รู้จักป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัยที่เข้มแข็ง และป้องกันการโจรกรรมข้อมูล หรือการโจมตีออนไลน์ เพราะเมื่อไหร่ที่เราเอาเรื่องส่วนตัวไปโพสลงโซเชียล เรื่องส่วนตัวก็ไม่ได้เป็นเรื่องส่วนตัวทันที เวลาจะทำอะไรต้องคิดมากๆ และนึกถึงผลกระทบตามมาด้วย
ดูแลเด็ก เลี้ยงลูกยุคใหม่
5. การรักษาข้อมูลส่วนตัว: ควรสอนลูกให้รู้จักกการจัดการข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์ที่เกี่ยวกับเบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน หรือข้อมูลที่สามารถเข้าถึงการโจรกรรมข้อมูลได้โดยง่าย
6. การคิดเชิงวิพากษ์: เป็นความสามารถวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ เนื่องจากข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ตมีทั้งเรื่องจริงและเรื่องไม่จริง และข่าวที่แชร์มั่ว สร้างกระแสก็เยอะ ต้องให้ลูกรู้จักแยกแยะและต้องดูด้วยว่ามาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือหรือไม่
7. ร่องรอยบนโลกออนไลน์: ต้องเข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตในโลกดิจิตอลว่า สิ่งที่ตนเองทิ้งเอาไว้บนโลกดิจิทัลเป็นร่อยรอยที่สามารถส่งผลกระทบกับชีวิตภายหลังได้ ดังนั้น ควรเข้าใจผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อการดูแลชีวิตบนโลกดิจิทัลอย่างมีความรับผิดชอบ
8. ความเอาใจใส่ทางดิจิทัล: มีความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นบนโลกออนไลน์ และแสดงน้ำใจอย่างเหมาะสม อย่าด่าทอโดยไม่สามารถข้อเท็จจริง และไม่ควรซ้ำตัวผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของสังคมด้วย
ที่มา: thaipost, voicetv
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
5 เหตุผลที่ชี้ว่าการเลี้ยงลูกในยุคสมัยใหม่อาจเป็นปัญหาขั้นวิกฤต
วิธีเลี้ยงลูกสมัยใหม่ฉบับคุณแม่มือใหม่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!