X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การแพ้อาหารของทารก

บทความ 3 นาที
5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การแพ้อาหารของทารก

ทารกวัยแรกเกิดมักจะมีภูมิต้านทางที่ต่ำ ทั้งยังไม่ทราบได้ว่าลูกน้อยจะแพ้อาหารอะไรหรือไม่ จนกว่าเขาจะได้รับเชื้อเข้าไป ซึ่งกว่าที่พ่อแม่จะทราบก็อาจทำให้อาการของลูกแย่ลง

5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การแพ้อาหารของทารก

ปัจจุบันนี้ มีความเชื่อและความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับ การแพ้อาหารของทารก แพร่หลายกันมากขึ้น โดยเฉพาะตามสื่อออนไลน์ต่างๆ วันนี้หมอจะมาเล่าเรื่องความเข้าใจผิดที่พบบ่อยเกี่ยวกับการแพ้อาหารของทารกจากประสบการณ์ของกุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ เพื่ออธิบายข้อเท็จจริง รวมถึงข้อควรปฏิบัติให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้ทราบนะคะ

 

1. คุณแม่ตั้งครรภ์และคุณแม่ให้นมลูกต้องงดอาหารกลุ่มเสี่ยงต่อการแพ้ได้บ่อย เช่น นมวัว ไข่ ถั่ว แป้งสาลีและอาหารทะเล ทั้งในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมลูก เพราะหากทางเข้าไปจะทำให้ลูกแพ้อาหารได้

ความจริง : คุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมลูกมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับสารอาหารครบถ้วนโดยทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่อย่างหลากหลาย หากคุณแม่และลูกไม่ได้แพ้อาหารชนิดใด ก็ไม่จำเป็นต้องดอาหารทุกชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งนี้คุณแม่ควรเลือกทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ไม่ทานอะไรซ้ำกันมากเกินพอดี โดยเฉพาะอาหารกลุ่มเสี่ยงต่อการแพ้ดังกล่าว เช่น คุณแม่ที่ชอบดื่มนมก็สามารถดื่มนมได้ตามปกติวันละ 1 แก้ว ไม่ควรดื่มนมวัววันละเป็นลิตร เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงที่ลูกจะแพ้นมวัวได้

 

2. ทารกแรกเกิดมีผื่นแดงขึ้นตามตัวเกิดจากโรคภูมิแพ้ เช่น การแพ้อาหาร อย่างแน่นอน

ความจริง : ผื่นผิวหนังหลายชนิดในทารกแรกเกิดเป็นผื่นซึ่งสามารถยุบหายไปได้เองเมื่อทารกอายุ 1-2 เดือนขึ้นไป โดยไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด ไม่จำเป็นต้องรักษา หรืองดอาหารชนิดใด และมีผื่นบางชนิดเกิดจากโรคที่ต้องรับการรักษาเช่นการติดเชื้อ ส่วนการแพ้อาหารหรือโรคภูมิแพ้ก็เป็นเพียงสาเหตุหนึ่งของการเกิดผื่นในทารกเท่านั้น การจะทราบว่าผื่นนั้นเกิดจากสาเหตุใด ต้องได้รับการตรวจร่างกายจากคุณหมอนะคะ

 

การแพ้อาหารของทารก

 

3. ทารกร้องกวนมากผิดปกติ นอนหลับไม่ได้นาน คุณแม่ต้องงดอาหารกลุ่มเสี่ยงทันทีเพราะเกิดจากการแพ้อาหาร

ความจริง : ทารกโดยเฉพาะวัยแรกเกิดอาจร้องกวนได้จากหลายสาเหตุ เพราะการร้องไห้เป็นวิธีการสื่อสารแบบเดียวของทารกเนื่องจากยังพูดไม่ได้ เมื่อลูกร้องไห้คุณพ่อคุณแม่ควรหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร เช่น หิวนม ไม่สบายตัว อากาศร้อนหรือเย็นจนเกินไป ปัสสาวะหรืออุจจาระเปียกเปื้อน มีไข้ตัวร้อน หรืออาจแค่อยากให้อุ้มกอด ซึ่งเมื่อได้รับการตอบสนองและจัดการกับสาเหตุอย่างถูกต้องทารกก็จะหยุดร้องได้เอง ทั้งนี้หากทารกน้อยร้องกวนมากและนานผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจร่างกาย เพราะการที่ทารกร้องกวนมากนั้นอาจเกิดจากความเจ็บป่วยทางกายได้ค่ะ

 

4. ทารกถ่ายมีเลือดปนเกิดจากการแพ้อาหาร โดยเฉพาะนมวัวเท่านั้น คุณแม่ให้นมลูกควรงดนมวัวและอาหารกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ แล้วอาการจะหายได้เองโดยไม่ต้องไปพบคุณหมอ

ความจริง : ทารกถ่ายมีเลือดปนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่ทำให้มีการอักเสบของลำไส้หรือภาวะที่มีเลือดออกผิดปกติในทางเดินอาหาร ไม่ได้เกิดจากการแพ้อาหารเสมอไป เช่น ลำไส้อักเสบติดเชื้อ ลำไส้กลืนกัน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุต่างๆเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที มิฉะนั้นอาจเกิดอันตรายต่อทารกได้ ตั้งนานหากทารกถ่ายมีเลือดปนควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุนะคะ

 

การแพ้อาหารของทารก

 

5. ทารกหายใจเสียงดัง ครืดคราด มักเกิดจากการแพ้อาหาร เมื่องดอาหารกลุ่มเสี่ยงแล้วอาการจะดีขึ้นเอง

ความจริง : ทารกหายใจเสียงดังมีสาเหตุมากมาย เช่นความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ จมูกช่องปาก ลำคอ ไล่ลงไปจนถึง หลอดลม และปอด ส่วนการแพ้อาหารก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งเท่านั้น การจะทราบสาเหตุได้ต้องได้รับการตรวจร่างกายจากคุณหมอ ซึ่งบางสาเหตุอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงหากไม่รีบรักษา แต่บางสาเหตุอาจไม่รุนแรง เช่นเป็นหวัดคัดจมูก จึงมีน้ำมูก หายใจเสียงดัง หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาการหายใจเสียงดังครืดคราดก็จะหายไปโดยไม่ต้องอดอาหารชนิดใด

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ คุณพ่อคุณแม่มีความเข้าใจที่ผิด 5 ข้อเหล่านี้บ้างหรือเปล่า ถ้าหากมีก็ควรจะรีบแก้ไขโดยทำตามที่หมอแนะนําเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยนะคะ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

แม่แชร์ ลูกแพ้อาหาร เพราะไม่ได้ทดสอบก่อนทาน

วิธีเริ่มอาหารเสริม ป้องกันลูกแพ้อาหาร

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การแพ้อาหารของทารก
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว