X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คุณรู้ไหม 24 ชั่วโมงแรงหลังคลอดที่โรงพยาบาล ทารกต้องเจอกับอะไรบ้าง

บทความ 5 นาที
คุณรู้ไหม 24 ชั่วโมงแรงหลังคลอดที่โรงพยาบาล ทารกต้องเจอกับอะไรบ้าง

วันแรกหลังลูกเกิด เกิดอะไรขึ้นกับลูกในโรงพยาบาลบ้าง !!!

วันที่ลืมตาดูโลก: เกิดอะไรกับลูกบ้างที่โรงพยาบาล?

ช่วงที่อยู่โรงพยาบาลหลังลูกลืมตาดูโลก 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด คุณอาจไม่ทราบว่าลูกน้อยแรกเกิดของคุณจะมีธุระยุ่งวุ่นวายมากกว่าคุณเป็นสองเท่า เพียง 5 นาทีหลังลืมตาดูโลก ลูกจะถูกจิ้ม ถูกเขี่ย ถูกวัด ถูกทดสอบ ได้รับการชำระล้างทำความสะอาดและห่อตัวมิดชิด ขั้นตอนการทำคลอดของทุกโรงพยาบาลแตกต่างกันไป แต่นี่คือสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในชีวิตวันแรกของลูกน้อยค่ะ

24 ชั่วโมงแรงหลังคลอด

24 ชั่วโมงแรงหลังคลอด

24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด

วันแรกของคุณกับลูกจะน่าตื่นเต้น (และเปี่ยมด้วยหลากอารมณ์) ขณะที่หมอกับพยาบาลตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกแข็งแรงดีและสอนเรื่องจำเป็นในการดูแลลูกน้อยให้แก่คุณ การได้รู้ถึงสิ่งที่อาจคอยอยู่เบื้องหน้าจะช่วยให้คุณสุขใจกับช่วงเวลาแสนพิเศษนี้มากขึ้น และรู้สึกท่วมท้นน้อยลง แม้ว่าแต่ละโรงพยาบาลจะมีกระบวนการต่างกันไป แต่ตารางเวลาของเราต่อไปนี้จะช่วยให้คุณทราบคร่าว ๆ ว่าตามปกติแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เริ่มตั้งแต่นาทีที่ลูกลืมตาดูโลกเลยค่ะ

5 นาทีแรก

ทันทีที่ลูกน้อยลืมตาดูโลก หมอจะดูดปากและจมูกเพื่อกำจัดเมือกและน้ำคร่ำให้หมดไปและลูกควรเริ่มหายใจได้ด้วยตัวเอง จากนั้นหมอจะหนีบและตัด (หรือให้คู่ชีวิตของคุณเป็นคนตัด) สายสะดือก่อนจะตรวจลูกน้อยของคุณเพื่อให้คะแนนแอพการ์สกอร์ (Apgar Score) ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราการเต้นของหัวใจ สีของทารก การตอบสนองต่อสิ่งเร้า การเคลื่อนไหวและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ รวมถึงการหายใจใน 1 นาทีและ 5 นาทีแรกหลังคลอด คะแนนจะอยู่ในระดับ 0-10 ถ้าได้เจ็ดขึ้นไปก็ถือว่าแข็งแรงดีแล้วค่ะ ทารกส่วนใหญ่ได้ 8 หรือ 9 คะแนน แต่หากลูกของคุณได้คะแนนต่ำ ก็จะมีการค้นหาสาเหตุ (เช่น ลูกอาจหายใจลำบาก) และทดสอบต่อทุก 5 นาทีจนกว่าปัญหาจะหมดไป ไม่ต้องวิตกไปนะคะ ทารกส่วนมากที่ได้คะแนนต่ำตอนแรกเกิดเติบโตขึ้นเป็นเด็กสุขภาพแข็งแรงดี

นพ.ไมเคิล เอ. โพเซนเชก ผู้อำนายการด้านการแพทย์ห้องเด็กแรกเกิดของโรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลับเพนน์ซิลเวเนียกล่าว “ขณะที่คุณคลอดรก ลูกน้อยจะถูกชั่งน้ำหนักและวัดความยาวตัว โดยปกติแล้วพยาบาลจะเช็ดตัวลูกจนสะอาดและวางลูกลงบนเครื่องให้ความอบอุ่นทารกจนกว่าลูกจะรักษาอุณหภูมิร่างกายได้ด้วยตนเอง นี่เป็นขั้นตอนที่อาจกินเวลาตั้งแต่ 2-3 นาทีไปจนถึง 2 ชั่วโมง” คุณอาจได้เห็นเหตุการณ์ทั้งหมดนี้หรือหมออาจจะกำลังเย็บแผลให้คุณหากจำเป็น

Advertisement

ชั่วโมงที่ 1

ระหว่างที่คุณยังอยู่ในห้องคลอด ลูกน้อยจะได้รับน้ำมันหยอดตาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันดวงตาติดเชื้อซึ่งอาจเป็นผลจากการที่ลูกผ่านทางช่องคลอดออกมา นอกจากนี้ลูกยังอาจถูกฉีดวิตามินเคที่ต้นขาเพื่อป้องกันปัญหาเลือดเป็นลิ่ม คุณควรลองให้นมลูกทันที แม้ว่าคุณจะผ่าคลอด แต่ก็สามารถเริ่มให้นมลูกได้ทันทีที่ออกจากห้องผ่าตัดถ้าคุณรู้สึกสบายดี ตื่นตัวและไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ถ้าหมอส่งลูกน้อยไปห้องอภิบาลทารกแรกเกิด (NICU) เพราะลูกคลอดก่อนกำหนดหรือมีความเสี่ยงติดเชื้อ ช่วงเวลาแห่งการผูกสายสัมพันธ์นี้จะถูกเลื่อนออกไปก่อนค่ะ

24 ชั่วโมงแรงหลังคลอด

24 ชั่วโมงแรงหลังคลอด

ชั่วโมงที่ 2 ถึง 3

เมื่อการทดสอบขั้นต้นของลูกน้อยครบถ้วนแล้ว คุณกับลูกจะใช้เวลาร่วมกันในห้องพักคนไข้หรือห้องพักฟื้นหลังคลอด ตราบใดที่คุณทั้งคู่แข็งแรงดี พยาบาลจะตรวจลูกน้อยเป็นระยะเพื่อดูว่าทารกปรับตัวกับชีวิตแรกเกิดได้ดีมากน้อยเพียงใด รวมทั้งวัดชีพจร กดท้อง ตรวจว่าอวัยวะเพศสมบูรณ์ดีและมีนิ้วมือนิ้วเท้าครบ พยาบาลจะบันทึกบัลลาร์ดสกอร์ (Ballard Score) ซึ่งประกอบด้วยความยาวเส้นรอบศีรษะ เส้นรอบอกและความยาวตัวเพื่อยืนยันระยะเวลาที่ลูกอยู่ในครรภ์ของคุณ

ถ้าคุณคลอดก่อนกำหนด ก็มีความเป็นไปได้มากว่าลูกจะต้องอยู่ในห้องเด็กแรกเกิด ซึ่งจะมีการเฝ้าติดตามอุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราหายใจของลูกอย่างใกล้ชิด คุณสามารถไปเยี่ยมลูกได้ สัญญาณชีพของลูกจะได้รับการตรวจวัดทุก 30 นาทีในช่วง 2 ชั่วโมงแรก จากนั้นจะเป็นทุก 4-6 ชั่วโมงหากทุกอย่างปกติดี ถ้าสัญญาณชีพของลูกไม่เสถี

ชั่วโมงที่ 4 ถึง 22

คุณจะใช้เวลาช่วงนี้เรียนรู้การดูแลลูกน้อยแรกเกิด คุณอาจช่วยพยาบาลอาบน้ำให้ลูกเป็นครั้งแรกและเปลี่ยนผ้าอ้อมเมื่อลูกถ่ายอุจจาระครั้งแรกหรือที่เรียกว่าขี้เทา คุณยังจะได้เรียนรู้วิธีห่อตัวและอุ้มลูก การดูแลขั้วสายสะดือและแผลขลิบ (ถ้าลูกชายของคุณขลิบ) สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณจะให้นมลูกทุก 2-3 ชั่วโมง โรงพยาบาลส่วนมากมีคลินิกนมแม่ซึ่งจะเข้ามาดูแลว่าคุณให้นมเป็นอย่างไรบ้าง แม้ว่าคุณจะเคยให้นมลูกมาก่อนก็ตาม

ชั่วโมงที่ 23-24

ถึงตอนนี้ลูกน้อยของคุณจะได้รับการประเมินอย่างเป็นทางการจากกุมารแพทย์แล้ว เว้นแต่ในกรณีที่พบปัญหาตั้งแต่แรกคลอดซึ่งกุมารแพทย์จะตรวจตอนนั้นในทันทีค่ะ หมอจะประเมินปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ ตรวจหาความพิการและดูให้แน่ใจว่าลูกน้อยของคุณดื่มนมและหายใจได้ดี ลูกจะได้รับการตรวจหาภาวะตัวเหลืองซึ่งเกิดจากการที่สารบิลิรูบินไม่ถูกย่อยในตับ ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองอาจต้องรับแสงพิเศษซึ่งช่วยย่อยบิลิรูบินและคุณควรหมั่นให้นมลูกเพื่อกำจัดสารดังกล่าวทางอุจจาระของลูก ในน้อยกรณีที่เด็กไม่ได้รับการรักษา ภาวะตัวเหลืองอาจทำให้สมองบกพร่องได้ นอกจากนี้ยังอาจมีการจิ้มส้นเท้าของลูกเพื่อเอาเลือดไปตรวจหาโรคต่าง ๆ มากถึง 50 โรค รวมทั้งโรคเม็ดเลือดแดงผิดปกติและโรคทางพันธุกรรมฟีนิลคีโตนูเรีย (PKU) การตรวจหาโรคเหล่านี้ก่อนหน้านี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด เนื่องจากระดับเลือดของทารกจะไม่สูงขึ้นจนกว่าจะ 24 ชั่วโมงหลังเริ่มได้รับนมแม่หรือนมผงดัดแปลงสำหรับทารก จึงอาจก่อให้เกิดผลลบลวงได้มากหากตรวจหาเร็วเกินไป การประเมินนี้มีความสำคัญยิ่งยวด ถ้าลูกน้อยเป็นโรคใดโรคหนึ่งที่กล่าวมา การตรวจพบและรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยบรรเทาอาการของโรคได้อย่างมาก

24 ชั่วโมงแรงหลังคลอด

24 ชั่วโมงแรงหลังคลอด

ก่อนออกจากโรงพยาบาล

คุณจะอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลา 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังการคลอดตามธรรมชาติ แต่ถ้าคุณผ่าคลอด ก็อาจต้องอยู่ 3-4 วันเป็นปกติ ก่อนที่คุณจะออกจากโรงพยาบาล จะมีการทดสอบการได้ยินของลูกน้อยซึ่งลูกจะต้องสวมหูฟังและนักโสตสัมผัสวิทยาจะดูการตอบสนองของคลื่นสมองลูกต่อเสียง นอกจากนี้ก็จะมีการชั่งน้ำหนักตัวลูก คุณอาจสังเกตว่าลูกน้ำหนักลดลงเมื่อเทียบกับตอนแรกเกิด ไม่ต้องตกใจไปนะคะ ของเหลวกำลังเคลื่อนจากระบบนอกหลอดเลือดสู่หลอดเลือด เพิ่มความดันโลหิตและการไหลเวียนออกซิเจนสู่อวัยวะของลูก ลูกปัสสาวะของเหลวส่วนเกินออกมา จึงทำให้น้ำหนักตัวลดลงร้อยละ 5 ถึง 7 ของน้ำหนักแรกเกิด แต่ลูกจะกู้น้ำหนักคืนมาได้หลังดื่มนมไป 2-3 วันค่ะ

เมื่อคุณออกจากโรงพยาบาลแล้วและตระหนักว่าจากนี้ไปคุณต้องพึ่งตัวเอง คุณอาจรู้สึกว่ามันท่วมท้นล้นมือ “อย่าตื่นตระหนกไป” ดร.บราวน์กล่าว “ไม่มีใครกลับบ้านโดยรู้สึกว่าพร้อมเต็มร้อยหรอกค่ะ” พยายามผ่อนคลาย พอรู้ตัวอีกทีคุณจะกลายเป็นคุณแม่มือโปรไปแล้วค่ะ


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าทารกไม่ยอมส่งเสียงร้องไห้หลังคลอด!!

ทำไมจึงหนาวสั่นหลังคลอด ที่หนาวใน เพราะไม่ได้อยู่ไฟจริงไหม?

หลังคลอดกินยาสตรีได้ไหม อยากให้น้ำคาวปลาไหลดี มดลูกเข้าอู่เร็ว ทำอย่างไร

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • คุณรู้ไหม 24 ชั่วโมงแรงหลังคลอดที่โรงพยาบาล ทารกต้องเจอกับอะไรบ้าง
แชร์ :
  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • 4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

    4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • 4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

    4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว