X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกปอดติดเชื้อ ไอจนตัวโยน หายใจครืดคราด สัญญาณอันตรายต้องไปโรงพยาบาล

บทความ 5 นาที
ลูกปอดติดเชื้อ ไอจนตัวโยน หายใจครืดคราด สัญญาณอันตรายต้องไปโรงพยาบาล

แม่เล่าอุทาหรณ์ลูกปอดติดเชื้อ ลูกไอจนตัวโยน หายใจครืดคราด แต่ไม่มีไข้ ไม่มีน้ำมูก เห็นอย่างนี้ห้ามวางใจ แม่ฝากเตือนอย่ามองว่าเป็นเรื่องแค่นี้

ลูกปอดติดเชื้อ ไอจนตัวโยน หายใจครืดคราด

คุณแม่เล่าอุทาหรณ์ ลูกปอดติดเชื้อ ไอจนตัวโยน หายใจครืดคราด สัญญาณอันตรายแม่ห้ามมองข้าม โดยโพสต์ว่า

ด้วยความที่น้องไม่มีไข้ ไม่มีน้ำมูก แต่น้องหายใจครืดคราด อยู่แล้วตั้งแต่เกิด ก็เลยไม่ได้เอะใจอะไร

จนมาไอทีหลัง เวลาไอ ไอจนตัวโยนแบบสุดตัวเหมือนคนโตเราเลย (ไอจนร้องโว๊ยย ภาษาเด็ก) ไอแล้วชอบสำลักเสลดตัวเอง กินนมก็ลำบาก ตัดสินใจพาไปคลินิก (ความที่ไม่อยากไปโรงพยาบาล เพราะต้องรอคิวนานมาก)

  • วันที่ 13 เช้า 1 รอบ (หมอบอกไม่มีอะไร เขาแค่อ้วนเกินเลยทำให้หายใจลำบาก กินนมต้องจับเรอ แล้วเขาจะไม่สำลักเสลด) ตอนเย็นทนไม่ไหวเลยไปอีกรอบ (รอบนี้หมอให้ยาฆ่าเชื้อกับแก้ไอ) กินอยู่ 2 วัน ไม่ดีขึ้น จะหายเฉพาะเวลายาออกฤทธิ์ พอหมดฤทธิ์ยาก็ไออีก เหมือนยาขับเสลดออกมาจริง แต่เด็กเขาขากออกมาไม่ได้เหมือนผู้ใหญ่ น้าสาวสงสารทนไม่ไหวเลยให้โทรตามพ่อ ให้พาไปโรงพยาบาล

หมอถามเป็นมากี่วัน กินยาอะไรมาแล้วบ้าง ไม่นานหมอถามไม่กี่คำจริง ๆ ส่งให้เจาะเลือด เอ็กซเรย์ พ่นยา แอดมิด (ตอนเจาะเลือด 3 ที่ก็ไม่ออก จนพยาบาลไล่แม่ไปไกล ๆ แล้วเขาจับเอง) … งงเลยจ้า ก็มาแค่หาหมอ จะให้ดูดเสลดออกเพราะสงสารลูกเวลาสำลัก ผลเลือดออกมาคือ #ลูกปอดติดเชื้อ ต้องนอนให้ยาทางเข็มฉีดยา 3-5 วัน ครบ 3 วันนึกว่าจะได้กลับ ให้อยู่ต่อจนครบ 5 วัน

วันที่เปลี่ยนที่แทงเข็มใหม่ เพราะที่เก่าเส้นบวมให้ยาต่อไม่ได้แล้ว

พยาบาลให้แม่ช่วยจับ (ลูกร้องแล้วมองหน้าแม่แบบว่าแม่จับหนูทำไม) แม่ร้องสะอึกสะอื้นไม่อายพยาบาลเลย 5 ที่แทงแล้วไม่ได้ ๆ ก็เลยพักก่อน พยาบาลคงสงสารด้วย ร้องจนสั่นทั้งตัว แล้วมาแทงใหม่ตอนหัวค่ำอีก แต่รอบนี้อุ้มไปแทงในห้อง

มีวันหนึ่งกลางวันร้องวางไม่ได้ พยาบาลคงเห็นใจ เดินมาถามอยู่บ้านน้องเค้านอนเปลเหรอแม่ เดี๋ยวพี่ลองผูกให้ดูซิจะนอนมั๊ย แม่จะได้พักบ้าง สรุปนางหลับปุ๋ยเลย ต้องขอบคุณพวกพี่ ๆ พยาบาลและพี่ผู้ช่วยมากนะคะ ที่ช่วยกันผูกเปลบนเตียง (เตียงเสริม 555) …ไม่เคยนอนโรงพยาบาลเฝ้าใครแบบนี้เลย พ่อกับแม่ยังไม่เชื่อด้วยซ้ำว่า แม่จะนอนคนเดียวได้ ??

(ปล.แม่บ้านนี้เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวค่ะ พ่อน้องทิ้งไปตั้งแต่ท้องได้ 3 เดือน) เหตุการณ์นี้ ตั้งแต่ 15-20 กันยายนที่ผ่านมาค่ะ ตอนนั้นน้องได้ 2 เดือน ปัจจุบันน้อง 4 เดือนกว่าแล้ว

#ข้อคิดจากเหตุการณ์นี้จึงอยากฝากเตือนแม่ ๆ ทุกคนไว้ด้วยค่ะ

อย่ามองว่าเป็นเรื่องแค่นี้ เจอมากับตัวถึงรู้ ทีแรกคิดว่าแค่ไอเอง เสียงครืดคราดก็มีอยู่แร้ว คงไม่มีอะไร ไปคลีนิกหมอก็แค่วินิจฉัยว่าไอ มีเสมหะ ให้ยาแค่นั้น ความที่ไม่อยากไปโรงพยาบาล เพราขี้เกียจต้องรอคิวนาน ๆ เลยมาถึงจุดนี้ จุดที่ลูกต้องนอนโรงพยาบาลแต่น้อย คนเป็นแม่สงสารใจจะขาด

ที่มา : กลุ่มคนท้องคุยกัน

Advertisement

 

อ่านโรคปอดอักเสบทารก โรคปอดอักเสบติดเชื้อ โรคปอดบวม หน้าถัดไป

โรคปอดต้องกังวลในวัยทารก

โรคปอดอักเสบทารก โรคปอดอักเสบติดเชื้อ หรือที่เรียกกันว่า ปอดบวม มีเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุได้ทั้งไวรัสหรือแบคทีเรีย

  • เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น RSV หรือแบคทีเรีย เช่น นิวโมคอคคัส หรือ ฮิบ
  • เด็กที่อายุมากกว่า 5 ปีสาเหตุมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไมโคพลาสมา,นิวโมคอคคัส มากกว่าไวรัส

 

อาการของโรคปอดอักเสบในเด็ก

3 ลักษณะอาการ เด่นที่ทําให้นึกถึงโรคปอดอักเสบ ได้แก่ ไข้ ไอ และหอบ ซึ่งสังเกตได้จากการที่เด็กหายใจเร็วกว่าปกติของวัยนั้น เช่น

  • อายุ < 2 เดือน อัตราการหายใจตั้งแต่ 60 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป
  • อายุ 2 เดือน – 1 ปี อัตราการหายใจตั้งแต่ 50 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป
  • อายุมากกว่า 1-5 ปี อัตราการหายใจตั้งแต่ 40 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป

 

ร่วมกับมีลักษณะอาการหายใจลําบาก มีหน้าอกบุ๋มขณะหายใจ ริมฝีปากเขียว คุณหมอตรวจร่างกายฟังได้เสียงปอดผิดปกติ นอกจากนี้ ในเด็กเล็กอาจแสดงอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ซึม หยุดหายใจเป็นพัก ๆ อาเจียน ไม่ยอมดูดนมหรือน้ำ

อ่านเพิ่มเติม ลูก 3 เดือน หายใจหอบจนอกบุ๋ม ระวัง โรคปอดอักเสบ ทารก เสี่ยงเสียชีวิตได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แม่เตือน! พิษควันบุหรี่ติดเสื้อพ่อ ทำลูกปอดหายไปครึ่ง และต้องพ่นยาทุก 2 ชม.

เสมหะลงปอด ทารก ปอดอักเสบ ปอดบวม วิธีดูดเสมหะ ช่วยให้ลูกหายใจโล่ง

ลูกจำเป็นต้องฉีดวัคซีนไหม ในเมื่อฉีดแล้วแพ้ มีไข้ บางทีต้องแอดมิน

 

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกปอดติดเชื้อ ไอจนตัวโยน หายใจครืดคราด สัญญาณอันตรายต้องไปโรงพยาบาล
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว