การหย่านม คือ การที่คุณแม่เปลี่ยนวิธีการให้นมลูก จากการดูดนมแม่จากเต้า ไปดูดนมแม่หรือดูดนมผงจากขวด หรือกินอาหารอย่างอื่นแทน ซึ่งกระบวนการนี้ต้องใช้เวลาและความอดทนเป็นอย่างมาก คุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจจะให้ลูกหย่านมเร็วกว่าปกติเล็กน้อย เพราะคุณแม่สมัยนี้ต้องทำงานนอกบ้าน คุณแม่จึงปั๊มนมแล้วเก็บไว้ให้ลูกดื่มทีหลัง จนในบางครอบครัวถึงขั้นตั้งคำถามว่า การหย่านมจำเป็นหรือไม่ หากลูกติดเต้าไม่ยอมดูดขวด ทำอย่างไรให้ได้ผล ? ซึ่งกุมารแพทย์และทันตแพทย์เด็ก ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็กก็มีความเห็นว่า เด็กควรจะเริ่มหย่านมเมื่ออายุได้ 12 เดือน หรือ 1 ขวบ หรืออย่างช้าที่สุดคือ 15 เดือน
วิธีการเลิกนมนั้นหลากหลายไม่ตายตัว คุณแม่สามารถใช้วิธีใดก็ได้ในการหย่านมลูก จะทำแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือจะหักดิบเลยก็ได้เช่นกัน แต่สิ่งสำคัญคือ คุณแม่จะต้องมีวิธีรับมือกับอาการร้องไห้งอแง อาการหงุดหงิดเมื่อลูกไม่ได้ในสิ่งที่เคยได้ หากสามารถเบี่ยงเบนความต้องการขวดนมของลูกได้ จะหย่านมแบบหักดิบ หรือจะเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป ก็สามารถทำได้ทั้งนั้น ดังนั้น เราควรฝึกให้ลูกดื่มนมจากขวดแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ทำร้ายจิตใจลูก
การหย่านมจำเป็นหรือไม่ ควรหย่านมแม่เมื่อใด ?
โดยปกติทารกควรดื่มนมแม่จนมีอายุประมาณ 6 เดือน จากนั้นจึงค่อยให้ทารกทานอาหารชนิดอื่นร่วมกับการดื่มนมแม่ โดยอาจยังคงดื่มนมแม่ต่อไป จนกระทั่งอายุ 1-2 ปี หรือนานกว่านั้น อย่างไรก็ตามทารกแต่ละคน อาจหย่านมในช่วงอายุที่แตกต่างกัน ซึ่งบางราย อาจต้องหย่านมตั้งแต่ยังอายุไม่ถึง 6 เดือน โดยปัจจัยหลักที่ทำให้คุณแม่อาจต้องเริ่มให้ลูกน้อยหย่านม ได้แก่
- ทารกสนใจอาหารชนิดอื่นมากกว่านมแม่ หรืออาจถูกสิ่งอื่นดึงดูดความสนใจไปมากกว่าการดื่มนมจากเต้า
- จำเป็นต้องกลับไปทำงาน ทำให้ไม่สามารถให้นมได้ แต่ก็สามารถปั๊มนมเพื่อเก็บสำรองเอาไว้ เพื่อให้ผู้ดูแลทำหน้าที่ป้อนนมแทน
- มีน้ำนมไม่เพียงพอให้ลูกดื่ม ซึ่งหากรู้สึกกังวลใจสามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีเพิ่มน้ำนมอย่างเหมาะสม
- รู้สึกเจ็บหัวนม หัวนมแตก หรือเจ็บหน้าอกขณะให้นม เกิดจากลูกดูดนมผิดวิธี คุณแม่ที่ประสบปัญหานี้ควรไปปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเรียนรู้การจัดท่าทางการดูดนมของลูกให้ถูกต้อง
- แม่ที่เคยมีประวัติแท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนด อาจต้องงดให้นมทารกอีกคน ก่อนวางแผนตั้งครรภ์ทารกคนต่อไป ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
ทั้งนี้ คุณแม่ที่มีปัญหาน้ำนมไม่พอหรือเจ็บหัวนมอาจไม่จำเป็นต้องบังคับให้ลูกหย่านม เพราะจะสามารถกลับมาให้นมลูกได้ตามปกติหากได้รับการรักษาดูแลหรือได้รับคำแนะนำอย่างถูกต้อง ซึ่งจริง ๆ แล้ว ลูกหย่านมจากเต้า หมายถึงยังดื่มนมจากอกแม่แต่ไม่ให้ลูกเข้าเต้า เริ่มทำได้ตั้งแต่ทารกอายุประมาณ 1 – 2 เดือนหลังคลอด แม่ก็สามารถฝึกให้ลูกน้อยดูดนมแม่จากขวดได้ แต่ก็ไม่ควรให้ลูกดูดนมจากขวดบ่อย เพราะลูกอาจจะสับสนระหว่างวิธีการดูดนมจากขวด กับวิธีการดูดนมจากเต้าแม่ได้
วิธีหย่านมที่ดี
1. หย่านม ต้องวางแผนไว้ก่อน อย่าหักดิบลูก
เริ่มต้นจากการลดจำนวนมื้อของการให้นมแม่ลงวันละ 1 มื้อก่อน โดยเริ่มจากมื้อกลางวันก่อน และเว้นช่วงระหว่างมื้อให้นานขึ้น ใช้ช่วงห่างประมาณ 1-3 วัน ลูกจะค่อย ๆ ปรับตัวได้จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยที่น้ำนมแม่ก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้คุณแม่ลดอาการปวดและรัดรึง ที่สำคัญในระยะนี้คุณแม่ควรแสดงความรัก และใกล้ชิดลูกให้เพิ่มมากขึ้นในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อทดแทนการสูญเสียที่ลูกต้องหย่านมแม่
2. หย่านม แบบค่อยเป็นค่อยไป
การ หย่านม แบบค่อยเป็นค่อยไป คือ ให้ลูกดูดนมจากขวดครึ่งหนึ่ง เอาลูกเข้าเต้าครึ่งหนึ่ง นอกจากการหย่านมแบบเข้าเต้าแล้ว คุณแม่สามารถให้ลูกรับประทานอาหารเสริมได้ เพื่อให้คุณแม่กลับมาให้นมใหม่ได้ เนื่องจากให้นมมาระยะยาวแล้ว และลูกสามารถกินนมอื่น และอาหารเสริมที่ได้รับสารอาหารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้นอกจากนมแม่ อาจใช้วิธีชักชวนให้ลูกกินนมแม่ให้สั้นลงได้ หรือเป็นแค่วันละมื้อก่อนนอนหากลูกยังติดเต้าแม่
3. การหย่านมแบบหักดิบที่ไม่ควรทำ
กรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้จากการเจ็บป่วยอย่างเฉียบพลัน หรือการที่แม่ลูกต้องแยกจากกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหา และความยากลำบากทั้งแม่ลูก เช่น
- คุณแม่อยู่ในภาวะกำลังสร้างน้ำนมอยู่ในขณะหย่านมอย่างเฉียบพลัน คุณแม่บางคน ให้ลูกเลิกเต้าแล้วปวดมาก เกิดปัญหาเต้านมคัด และนำไปสู่การเกิดเต้านมอักเสบ แนะนำให้คุณแม่คอยบีบน้ำนมออกบางส่วน หรือเพียงเล็กน้อย เพื่อป้องกันการคัดนม ไม่ควรบีบน้ำนมออกมากเหมือนเก็บสต๊อกนม และลดจำนวนครั้งของการบีบลง ในระยะแรกคุณแม่อาจบีบน้ำนมออกเล็กน้อยในเวลากลางวัน และอาจจำเป็นต้องบีบน้ำนมออกในเวลากลางคืนด้วย ซึ่งจะเป็นการทำให้กลไกการสร้างน้ำนมลดลงได้อย่างช้า ๆ ทดแทน
- ระหว่างการหย่านม คุณแม่ควรลดอาหารเค็ม เพื่อลดการคั่งของน้ำในร่างกายจนกว่าเต้านมแม่จะหายคัดตึง โดยตามปกติร่างกายจะหยุดการสร้างน้ำนมได้ภายใน 2 สัปดาห์หลังจากการหย่านมอย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าคุณแม่ยังคงเจ็บปวดเต้านม หรือมีน้ำนมไหลซึมออกนานเป็นเดือน หรือปี ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อดูอาการ และขอคำปรึกษา
- การหย่านมทันที ทำให้ฮอร์โมนโปรแลคตินลดลงส่งผลให้มีแนวโน้มต่อการทำให้แม่เกิดปัญหาซึมเศร้าได้
- เจ้าตัวน้อยที่ถูกเลิกเต้าทันทีนั้น จะส่งผลต่อจิตใจเป็นอย่างมาก ทำให้ลูกรู้สึกสูญเสียความรัก ขาดความอบอุ่น
- ลูกอาจจะไม่ยอมกินนมผสมได้เท่ากับที่ดูดนมแม่ จึงต้องคอยสังเกตภาวะโภชนาการ น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ของทารก และได้รับอาหารตามวัยทดแทนอย่างเหมาะสม และถูกวิธี
บทความที่เกี่ยวข้อง : เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องไม่เจ็บหัวนม มีเทคนิคแบบไหนบ้าง
10 เคล็ดลับสำหรับเด็กวัย 2 ขวบ หย่านม อย่างไร ให้ได้ผล
- หากลูกอายุ 2 ขวบแล้ว แต่ยังชอบเข้าเต้าแม่ คุณแม่ควรให้บ้างไม่ให้บ้าง แล้วค่อย ๆ ลดลงจนเขาสามารถดื่มนมจากแก้วหรือขวดเองได้
- พยายามหลีกเลี่ยงให้ลูกเข้าเต้าแม่ โดยหากิจกรรมที่เบี่ยงเบนความสนใจให้กับลูกทำทั้งในช่วงกลางวัน หรือก่อนนอนตอนกลางคืน
- คุณแม่ต้องให้ลูกได้กินอาหารแต่ละมื้อให้อิ่ม หรือมีของว่างเสริมระหว่างมื้ออาหาร
- หากลูกยังมีความต้องการนมแม่ กลัวการแยกจากแม่ และยังคงมีความรู้สึกอบอุ่นที่ได้คลอเคลียกับเต้าแม่ คุณแม่สามารถให้ลูกกินนมเป็นบางครั้ง เพื่อรักษาหัวใจลูก
- ปรับท่าทางในการป้อนนม ลองประคองเจ้าน้อยนั่งตักคุณ ลำตัวตั้งตรง โดยให้ศีรษะของลูกพิงอยู่กับอกของคุณ ท่านี้จะช่วยลดความอึดอัดจากลมในท้องและกรดไหลย้อนได้
- ควรเอียงขวดนมให้น้ำนมเต็มบริเวณจุกนม เพื่อลดปริมาณของอากาศที่เจ้าตัวน้อยอาจจะดูดเข้าไปและทำให้ลูกท้องอืด ไม่สบายท้อง ทำให้ไม่อยากดูดนมจากขวด
- เด็กบางคนชอบนมอุ่น ๆ เหมือนกับนมที่เพิ่งออกจากอกแม่ แนะนำให้คุณแม่ลองปั๊มนมใส่ขวดแล้วป้อนลูกน้อยทันที หรือลองเปลี่ยนเป็นจุกนมที่มีความนุ่มและรูปทรงใกล้เคียงกับหัวนม
- ค่อย ๆ เปลี่ยนมาป้อนจากถ้วย ช้อน หรือหลอดดูบ้าง คุณแม่ไม่จำเป็นต้องป้อนนมจากขวดเสมอไป เพราะวัตถุประสงค์คือ การให้ลูกยอมกินนมด้วยวิธีอื่นที่นอกเหนือจากการเข้าเต้า
- คุณแม่ต้องลองซ้อมไม่อยู่บ้านสักวัน ใจแข็งออกไปนอกบ้านจริง ๆ เพื่อให้เขาดื่มนมจากแก้วหรือขวด จะมีโอกาสประสบความสำเร็จในการป้อนนมจากขวดได้มากกว่า
- วันที่คุณแม่ต้องไปทำงาน แนะนำให้ป้อนนมซุกเต้าให้เต็มที่ก่อน แล้วเอานมสต๊อกให้เจ้าตัวน้อยกินตอนแม่ไม่อยู่ ระหว่างทำงานต้องปั๊มทุก 2-3 ชม. ไม่ปล่อยนมค้างเต้านานเกิน 4 ชม.
บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ติดโควิด ยังสามารถให้นมลูกได้หรือไม่
วิธีฝึกให้ลูกดูดนมจากขวด
- คุณแม่ต้องป้อนนมลูกก่อนที่จะถึงเวลาที่เคยเข้าเต้าแม่ประมาณ 15 นาที หรือตอนที่ลูกใกล้จะตื่น ซึ่งคุณแม่จะสังเกตได้จากการขยับตัว ขยับปากจุ๊บ ๆ จั๊บ ๆ เหมือนจะตื่น
- ไม่ควรให้ลูกดูดนมแม่จากขวดตอนที่ลูกร้องไห้หิวนม เพราะจะทำให้เด็กมีอาการหงุดหงิด จนไม่ยอมกินนมแม่ที่อยู่ในขวด และจะร้องหานมจากเต้าแม่เพียงอย่างเดียว
- ลองให้คนอื่นเป็นคนป้อนนม แล้วคุณแม่ควรหลบอยู่ห่าง ๆ แม้ว่าลูกจะมองไม่เห็น แต่ลูกจะได้กลิ่นแม่ และไม่ยอมกินนมจากขวดได้
- ช่วงที่ลองให้คนอื่นเป็นคนป้อน ควรเปลี่ยนท่าอุ้มป้อนนม ที่ไม่เหมือนท่าที่คุณแม่เคยอุ้มให้นมอยู่เป็นประจำ เพราะเด็กบางคนจะจำได้ว่า ถ้าแม่อุ้มท่านี้ จะต้องได้ดูดนมจากอกของคุณแม่
- ลองเปลี่ยนการเข้าเต้า มาให้ลูกน้อยนอนในเปล หรือวางนอนในขณะที่ป้อนนมแม่จากขวดแทน
- เด็กบางคนอาจจะชอบให้มีการเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ ดังนั้นจึงอาจจะลองนั่งเก้าอี้โยก หรือแก่งชิงช้าขณะที่ป้อนนมลูก ซึ่งก็อาจจะทำให้ทารกยอมกินนมจากขวดได้ง่าย
- ลองเปลี่ยนจุกนมหลาย ๆ แบบ เลือกจุกนมที่นิ่ม ๆ และมีความยืดหยุ่นมาก ๆ ยิ่งคล้ายหัวนมแม่ ลูกก็จะยิ่งดูดจากขวดได้ง่ายขึ้น
- ไม่ควรใช้จุกนมที่เย็นเกินไป หากเพิ่งเอาออกมาจากตู้เย็น ควรแช่น้ำอุ่นก่อน
- ในช่วงแรกที่ฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด ลูกอาจจะยังกินได้ไม่มาก ให้ใช้ความอดทน ค่อย ๆ ป้อนไปทุกวัน ลูกก็จะเริ่มชิน และดูดนมได้มากขึ้น
วิธีฝึกลูกให้กินนมจากแก้ว
- เตรียมนมแม่ที่จะป้อน กะเวลาไว้ประมาณ 15 นาทีก่อนที่ลูกจะหิว ห้ามฝึกตอนที่ลูกหิวจัด
- เตรียมแก้วใบเล็ก ที่มีลักษณะใส ๆ มองเห็นระดับน้ำนมได้ หรืออาจจะใช้แก้วตวงยาให้นมลูก
- รินน้ำนมใส่แก้วที่เตรียม ไว้ประมาณครึ่งแก้ว
- ป้อนในท่าที่นั่งสบาย โดยอุ้มลูกให้นั่งบนตัก ใช้ฝ่ามือรองต้นคอเด็กในท่าเอนตัวเล็กน้อย
- ถ้าหากลูกดิ้น ให้ใช้ผ้าห่อตัวไว้ หรืออาจให้ลูกนั่งในกระเช้าเด็กหรือคาร์ซีท
- การป้อนลูกโดยให้เอียงแก้วให้ระดับน้ำนมแตะที่ริมฝีปากบน เด็กจะสามารถจิบได้เอง
- จับเรอเมื่อลูกกินนมได้ 1–2 ออนซ์ และหลังจากที่กินนมเสร็จ
- เมื่อหัดบ่อย ๆ เด็กจะกินเก่งและจะรู้มากขึ้นจนสามารถกินนมได้เอง
วิธีฝึกลูกให้กินนมจากหลอด
- เตรียมนมแม่ที่จะป้อน แก้ว และหลอดกาแฟที่ไม่เล็กจนเกินไป
- ตัดหลอดกาแฟให้มีขนาดพ้นจากปากแก้วประมาณ 1 นิ้ว
- ห้ามฝึกลูกดูดหลอดตอนหิวจัด หรืองอแง
- อุ้มเด็กในท่านั่งกึ่งนอนหรือนั่งตัก
- เทนมใส่แก้วสะอาดที่เตรียมไว้ และจุ่มหลอดกาแฟลงไป
- ช่วงแรกให้ใช้หลอดจุ่มนม แล้วกดปลายไว้ จากนั้นจึงค่อยให้ลูกกินจากหลอด พอปลายหลอดเข้าปากเด็ก ก็ปล่อยให้น้ำนมไหลเข้าปาก
- ใช้เวลาประมาณ 1–2 วันเท่านั้นเด็กจะรู้ว่ามีน้ำนมไหลออกจากหลอด จากนั้นเขาจะดูดเอง โดยอัตโนมัติ
- เมื่อสังเกตว่าเด็กดูดนมเข้าปากเองได้ ก็ให้เขาลองดูดเองจากด้านบนของหลอดเอง เพียงแต่ในช่วงแรก ทารกอาจจะมีสำลักบ้าง เพราะเด็กยังกะแรงดูดไม่ได้
- อย่าลืมจับเรอหลังจากที่ดื่มนมเสร็จ
คุณแม่ต้องระวังไว้เสมอว่า ระหว่างที่พยายาม หย่านม ลูกไม่ให้เขาเข้าเต้า ลูกจะงอแงมาก ดังนั้น คุณแม่ต้องอดทน อย่าใจร้อน หงุดหงิด เพราะเขาต้องเรียนรู้และปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งคุณแม่เองก็ต้องปรับตัวไปกับลูก ซึ่งการหย่านมต้องเป็นไปอย่างอบอุ่น อ่อนโยน เพื่อไม่ทำร้ายจิตใจลูกจนเกินไป ไม่ให้เขารู้สึกว่ากำลังถูกทอดทิ้ง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
หย่านมแม่อย่างไรไม่ทำร้ายใจลูก
เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องไม่เจ็บหัวนม มีเทคนิคแบบไหนบ้าง
ของแสลงคืออะไร หลังคลอดห้ามกินของแสลง จริงไหม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 83
ที่มา : Mom Junction
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!