X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ระวังลูกเกิดมาผิดปกติ เพราะแม่ไม่ระวังเรื่องเหล่านี้ตอนท้อง

บทความ 3 นาที
ระวังลูกเกิดมาผิดปกติ เพราะแม่ไม่ระวังเรื่องเหล่านี้ตอนท้อง

บางครั้ง แม่ท้องก็อาจจะเคยชินกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่ทันระวังว่ามีอีกหนึ่งชีวิตอยู่กับคุณแม่ในท้องด้วย ระวังลูกเกิดมาผิดปกติ เพราะแม่ไม่ระวังเรื่องเหล่านี้ตอนท้อง

ระวังลูกเกิดมาผิดปกติ เพราะแม่ไม่ระวังเรื่องเหล่านี้ตอนท้อง

ระวังลูกเกิดมาผิดปกติ เพราะสุขภาพแม่ท้อง อาหารการกิน อีกทั้งสภาพแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวแม่ท้อง ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อลูกในครรภ์ ทั้งเรื่องของสุขภาพ และนิสัยของเด็ก ซึ่งบางครั้งคุณแม่ท้องอาจจะไม่ทันได้ระวัง หรืออาจจะเคยชินกับกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ หรือสภาพแวดล้อมที่คุณแม่อาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนก่อนตั้งครรภ์ จนส่งผลเสียมายังลูกน้อยในครรภ์ได้ เรามาดูกันว่า เรื่องรอบตัวที่แม่ท้องไม่ทันได้ระวัง ที่อาจจะทำร้ายลูกในครรภ์มีอะไรบ้าง

ระวังลูกเกิดมาผิดปกติ

1. รถติด และมลพิษตามท้องถนน

คุณแม่ท้องหลายท่าน โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในตัวเมือง และยังคงต้องไปทำงานในช่วงก่อนคลอด อาจจะต้องเผชิญกับปัญหารถติด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ท้องเกิดความเครียด อีกทั้งควันพิษในเมือง ทั้งจากท่อไอเสีย และฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง ที่แม่ท้องสูดดมเป็นประจำทุกวันโดยไม่ทันระวัง ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้ลูกในครรภ์เกิดมามีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ได้

2. พิษจากควันบุหรี่

แม้ว่าแม่ท้องบางท่านจะไม่ได้สูบบุหรี่ เพราะทราบถึงพิษภัยของควันบุหรี่กันอยู่แล้ว แต่ควันบุหรี่มือสอง ควันบุหรี่มือสามจากคนรอบข้าง ก็เป็นตัวการที่ทำให้ลูกในครรภ์มีปัญหาด้านสุขภาพได้เช่นกัน ดังนั้น การที่แม่ท้องอยู่ใกล้คนที่สูบบุหรี่ ทั้งที่บ้าน หรือตามที่สาธารณะ ก็อาจเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ อีกทั้งยังอาจทำให้ลูกโตขึ้นมาเป็นเด็กก้าวร้าวได้อีกด้วย

3. ขาดวิตามินดี

Advertisement

สำหรับแม่ท้องที่ทำงานอยู่แต่ในห้องแอร์ ทำงานกลางคืน หรือแม่ท้องที่อยู่แต่ในบ้านโดยไม่โดนแสงแดดเลย อีกทั้งทานอาหารน้อย ก็อาจจะทำให้ร่างกายมีวิตามินดีในปริมาณน้อย จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยคัลการี ประเทศแคนาดา พบว่า แม่ท้องที่มีปริมาณวิตามินดีต่ำกว่าเกณฑ์ จะมีความเสี่ยงมากกว่าปกติที่จะเกิดอาการครรภ์เป็นพิษ และโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ อีกทั้งยังอาจทำให้ลูกที่เกิดมามีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ได้อีกด้วย

วิตามินดี ช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์ ซึ่งสามารถหาได้จากการทานอาหารอย่างเช่น น้ำมันตับปลา ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาเฮอร์ริง นม และผลิตภัณฑ์จากนม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาหารที่คุณแม่ท้องทานเข้าไปในแต่ละวันมักจะมีปริมาณวิตามินดีไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย คุณแม่ท้องสามารถเพิ่มระดับวิตามินดีเสริมจากการทานอาหารได้ โดยการออกไปเดินรับแสงแดดอ่อน ๆ ยามเช้า หรืออาจจะเลือกที่จะไปเดินรับแสงแดดอ่อน ๆ ยามเย็น แต่ที่สำคัญ อย่าโดนแดดที่แรงจัด และนานเกินไปนะครับ เพราะจากผลดีอาจจะกลายเป็นผลเสียได้นะครับ

4. กาแฟ เรื่องเคยชินที่ทำร้ายลูกในท้อง

แม่ท้องบางท่านอาจจะเคยชินกับการที่ต้องดื่มกาแฟตอนเช้า หรือในระหว่างวันมาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ หรือบางท่านก็ดื่มกาแฟวันละหลาย ๆ แก้วจนติดมาจนถึงตอนตั้งครรภ์ ซึ่งการดื่มกาแฟในปริมาณมาก ๆ สามารถส่งผลเสียต่อลูกในท้องได้

มีงานวิจัยพบว่า การดื่มกาแฟในปริมาณมาก ๆ จะทำให้ร่างกายได้รับปริมาณคาเฟอีนมากเกินขนาด มีผลทำให้หัวใจของทารกในครรภ์เต้นเร็วผิดปกติ และอาจเกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ตามมาได้ นอกจากนี้คาเฟอีนยังไปขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสารสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อีกด้วย

ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น แม่ท้องอาจจะค่อย ๆ ลดปริมาณการดื่มกาแฟลงทีละน้อย จนไม่ดื่มเลย โดยอาจจะหันไปดื่มเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ชนิดอื่นแทน หรือหากคุณแม่ท้องจำเป็นต้องดื่มกาแฟจริง ๆ ก็อย่าให้เกิน 160 กรัมต่อวันนะครับ

5. ไม่คุมน้ำหนัก

ถ้าคนท้องอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ที่กำหนด ก็มีโอกาสที่จะทำให้ลูกในท้องตัวใหญ่ และน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ได้เช่นกัน และแม่ท้องที่มีน้ำหนักตัวมากมักจะมีปริมาณน้ำตาล และไขมันในเลือดสูง ซึ่งจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของทารกในครรภ์ไปด้วย

อย่างไรก็ตาม แม่ท้องไม่ควรใช้วิธีอดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือเพื่อลดน้ำหนักนะครับ เพราะนั่นจะทำให้ทารกในครรภ์ไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างอวัยวะและการเจริญเติบโต

แต่สิ่งที่แม่ท้องควรทำก็คือ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ภายใต้คำแนะนำของคุณหมอ และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในช่วงตั้งครรภ์ โดยยึดหลักการออกกำลังกายสำหรับคนท้อง คือ ไม่หักโหม ไม่รุนแรง และไม่ก่อให้เกิดอันตราย เช่น ว่ายน้ำ เดินช้า ๆ เป็นต้น ซึ่งนอกจากการออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนักตอนท้องได้ส่วนหนึ่งแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพกาย สุขภาพใจของแม่ท้องเข้มแข็งขึ้น ช่วยให้นอนหลับได้ดี และยังทำให้ระบบขับถ่ายของเสียทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


ข้อมูลบางส่วนจาก momjunction

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อยากให้ลูกในท้องเกิดมาฉลาด หัวไว สมองดี ทำอย่างไร?

เพิ่มน้ำหนักตัวอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัยขณะตั้งครรภ์?

โฟลิก คืออะไร เหมือนโฟเลตไหม อันตรายเมื่อแม่ท้องขาดโฟลิก

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ระวังลูกเกิดมาผิดปกติ เพราะแม่ไม่ระวังเรื่องเหล่านี้ตอนท้อง
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว