ถ้าคนท้องอ้วน ลูกจะอ้วนตามไปด้วยจริงไหม
จากงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกา (JAMA) นำโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ ที่ได้ทำการศึกษาพบว่า ถ้าคนท้องอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ที่กำหนด ก็มีโอกาสที่จะทำให้ลูกในท้องตัวใหญ่ และน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ได้เช่นกัน และจากการศึกษาดังกล่าว ที่ได้มีการค้นคว้า และสำรวจจากผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดกว่า 30,000 คน ได้ข้อสังเกตดังต่อไปนี้
- คนท้องที่มีน้ำหนักตัวมากมักจะมีปริมาณน้ำตาล และไขมันในเลือดสูง ซึ่งจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของทารกในครรภ์ตามไปด้วยเช่นกัน
- แม่ท้องที่อ้วน อาจจะส่งผลทำให้ทารกที่อยู่ในครรภ์มีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าปกติได้
ทารกตัวใหญ่ น้ำหนักเกินเกณฑ์ ส่งผลอย่างไร
- ขนาดของทารกในครรภ์มีผลโดยตรงต่อการคลอด หากทารกตัวใหญ่อาจทำให้รู้สึกเจ็บมากและยาวนานตอนเบ่งคลอด หากคลอดทางช่องคลอดอาจเป็นอันตรายได้ทั้งแม่และลูก
- ทารกตัวใหญ่มักคลอดยาก บางครั้งหัวคลอดออกมาแล้ว แต่ไหล่ติด ซึ่งอาจส่งผลให้กระดูกไหปลาร้าของทารกหักได้ และช่องคลอดของคุณแม่มีโอกาสฉีกขาดมากกว่าปกติ
- ทารกตัวใหญ่ทำให้มดลูกคุณแม่ยืดขยายมาก ดังนั้น หลังจากที่คลอดแล้ว อาจทำให้มดลูกหดรัดตัวได้ไม่ดี มีโอกาสทำให้ตกเลือดหลังคลอดได้
- การตกเลือดหลังคลอด อาจส่งผลทำให้คุณแม่บางรายอาจจะต้องตัดมดลูกทิ้ง เพราะเลือดออกไม่หยุด และมีเลือดคั่งค้างในมดลูกมาก
น้ำหนักคนท้อง ควรจะขึ้นเท่าไหร่
น้ำหนักของคนท้อง ควรจะขึ้นเท่าไหร่นั้น จะขึ้นอยู่กับดัชนีมวลกายของคุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยคำนวณจาก น้ำหนัก(เป็นกิโลกรัม) ÷ ด้วยส่วนสูง(เป็นเมตร)ยกกำลังสอง
หลังจากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางด้านล่าง เช่น คุณแม่ที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ระหว่าง 18.5 – 24.9 (น้ำหนักตัวปกติ) ควรมีการเพิ่มน้ำหนักตัวเพิ่มตลอดการตั้งครรภ์เท่ากับ 11.5 – 16 กิโลกรัม และควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 0.4 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ เป็นต้น
ตารางแสดงการเพิ่มน้ำหนักตัวของสตรีตั้งครรภ์
|
น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์(ดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์) |
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด |
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นช่วงในไตรมาสแรก |
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแต่ละสัปดาห์ในช่วงไตรมาสที่สองและสาม |
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (<18.5) |
12.5 – 18กิโลกรัม |
2.3 กิโลกรัม |
0.5 กิโลกรัม |
น้ำหนักปกติ (18.5-24.9) |
11.5 – 16 กิโลกรัม |
1.6 กิโลกรัม |
0.4 กิโลกรัม |
น้ำหนักตัวเกิน (25-29.9) |
7 – 11.5 กิโลกรัม |
0.9 กิโลกรัม |
0.3 กิโลกรัม |
อ้วน (≥30) |
5 – 9 กิโลกรัม |
– |
0.2กิโลกรัม |
วิธีดูแลน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์
แม่ท้องไม่ควรใช้วิธีอดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือเพื่อลดน้ำหนักนะครับ เพราะนั่นจะทำให้ทารกในครรภ์ไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโต และสร้างอวัยวะ
สิ่งที่แม่ท้องควรทำก็คือ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ภายใต้คำแนะนำของคุณหมอ และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในช่วงตั้งครรภ์ โดยยึดหลักการออกกำลังกายสำหรับคนท้อง คือ ไม่หักโหม ไม่รุนแรง และไม่ก่อให้เกิดอันตราย เช่น ว่ายน้ำ เดินช้าๆ เป็นต้น ซึ่งนอกจากการออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนักตอนท้องได้ส่วนหนึ่งแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพกาย สุขภาพใจของแม่ท้องเข้มแข็งขึ้น ช่วยให้นอนหลับได้ดี และยังทำให้ระบบขับถ่ายของเสียทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
แน่นอนว่า ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น น้ำหนักย่อมเพิ่มขึ้นมามากกว่าเดิมเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว แต่หากคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ น้ำหนักก็จะค่อยๆลดลงไปเอง และหากคุณแม่ออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วยก็จะช่วยให้น้ำหนักลดลงได้เร็วขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม คุณแม่อย่ากังวลใจมากไปนะครับ อย่าลืมว่าความเครียดของแม่ท้อง ก็สามารถส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ด้วยเช่นกัน หากมีความกังวล มีข้อสงสัย หรือพบความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ ก็อย่าชะล่าใจ และให้รีบปรึกษาคุณหมอที่คุณแม่ฝากครรภ์ เพื่อตรวจสอบอาการและขอคำแนะนำจะดีที่สุดครับ
ข้อมูลส่วนหนึ่งจาก sg.theasianparent.com, thaihealth.or.th
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
วิธีทำให้คลอดง่าย ช่วยแม่ท้องสบายก่อนเบ่งเจ้าตัวน้อย
ลูกในท้องตัวใหญ่ น้ำหนักเกิน เสี่ยงคลอดยาก สุขภาพแย่ ทำอย่างไร
ปากมดลูกเปิดรู้สึกยังไง ต้องกว้างแค่ไหนถึงจะคลอดง่าย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!