X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) มาพัฒนาพื้นฐานชีวิตลูกให้ประสบความสำเร็จกัน!

บทความ 5 นาที
พัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) มาพัฒนาพื้นฐานชีวิตลูกให้ประสบความสำเร็จกัน!

การเลี้ยงลูกในวันนี้ของคุณพ่อคุณแม่ แน่นอนว่าแต่ละครอบครัวจะมีสไตล์การเลี้ยงดูที่เป็นของตัวเอง แต่ถ้าการเลี้ยงดูลูกในแบบที่เป็นพื้นฐานของชีวิต น่าสนใจแล้วใช่ไหมคะ!! มาดูกันว่าพัฒนาทักษะ EF คืออะไร มีวิธีการอย่างไร ติดตามอ่านค่ะ

พัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) พ่อแม่สร้างได้ง่าย ๆ แต่วันนี้ เรามาทำความเข้าใจว่า พัฒนาทักษะEF คืออะไร วันนี้ TheAsianparent Thailand มีคำตอบ รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา จากศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายถึง EF ไว้ว่า EF ย่อมาจาก Executive Functions คือ กระบวนการทางความคิดในส่วน “สมองส่วนหน้า” ที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการชีวิตในเรื่องต่าง ๆ โดยมีแก่นสำคัญ 3 หลัก คือ

 

พัฒนาทักษะ EF

พัฒนาทักษะ EF

 

1. Inhibitory Control คือ การหยุดได้ หมายถึง ถ้าเราอยากจะทำอะไรตามอารมณ์ออกไปทันที เราสามารถหยุดมันไว้ด้วยตัวเองได้ ไม่ใช่คนอื่นสั่งให้หยุด

2. Cognitive Flexibility คือ การยืดหยุ่นความคิด และสามารถเปลี่ยนความคิดได้เพื่อไปทำสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมแทน

3. Working Memory คือ ความจำขณะทำงาน การคิดแก้ปัญหา การเรียบเรียงความคิด จัดอันดับความคิด

 

งานวิจัย พบว่า ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงโอกาสทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะ สมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย

Advertisement

 

พ่อแม่สร้างได้!! พัฒนาทักษะ EF (Executive Functions)พัฒนาพื้นฐานชีวิตลูก

การพัฒนาทักษะ EF หรือการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ คือ คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และมีความสุขเป็น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จให้แก่ลูก สามารถทำได้ตามแนวทางนี้ค่ะ

1. Active learning การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย

 

พัฒนาทักษะ EF

พัฒนาทักษะ

 

คุณพ่อคุณแม่ควรใช้เวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับลูก ไม่ว่าจะเป็นอ่านหนังสือ ร้องเพลง เล่นกีฬา ทำอาหาร ทำขนม เป็นต้น อาจจะชวนเพื่อน ๆ มามีส่วนร่วมเล่นด้วยกัน หรือทำกิจรรมต่าง ๆ ด้วยกันในวันหยุด สิ่งเหล่านี้อาจจะดูเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่การเรียนรู้จากการได้ทำกิจกรรมที่หลากหลายฝึกให้ลูกรู้จักกล้าแสดงออก คิดเป็น ทำเป็น และรู้จักการแก้ปัญหา รวมถึงการอยูร่วมกับผู้อื่นด้วย

2. Free play การเล่นอิสระ

 

บางครั้งการปล่อยให้ลูกได้เลือกเล่น กำหนดรูปแบบและสิ่งที่จะเล่นด้วยตัวเอง มีอิสระในการเล่น โดยเปิดโอกาสให้ลูกได้กำหนดกฎ กติกา ในการเล่น ช่วยฝึกความเป็นผู้นำและรู้จักรักษากฎเกณฑ์ ถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากต่อการพัฒนาทักษะ EF ให้กับลูก

3. Learning by Doing การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ

เปิดโอกาสให้ลูกได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัว ตามความสามารถและเหมาะสมกับวัย เช่น ช่วยงานบ้าน ลองคิดและทำอาหารที่อยากกินเอง โดยคุณพ่อคุณแม่คอยแนะนำ และ เพราะเมื่อทำสำเร็จลูกจะเกิดความภาคภูมิใจและมั่นใจในตนเอง แต่อย่าลืมคำชมนะคะ การชื่นชมในความสำเร็จของลูก รวมถึงช่วยกระตุ้นและให้กำลังใจลูกหากเกิดปัญหา

 

พัฒนาทักษะ EF

พัฒนาทักษะ EF

4. Do It Yourself การฝึกให้เด็กรับผิดชอบและช่วยเหลือตนเองอย่างเหมาะสมกับช่วงวัย

 

หากพ่อแม่ให้ลูกได้ทำอะไรด้วยตนเอง ได้เรียนรู้ถูกผิด เริ่มจากเรื่องง่าย ๆ เช่น ติดกระดุมเสื้อด้วยตนเอง สวมรองเท้า ถุงเท้าเอง จากเรื่องง่าย ๆ และเพิ่มความยากของกิจกรรมไปทีละนิด เพื่อท้าทายให้ลูกได้คิดและได้ลงมือทำ แต่ไม่ควรให้ยากจนเกินไปอาจทำให้ลูกเครียดได้นะคะ

 

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

5. Stories & Tales นิทานและเรื่องเล่าช่วยฝึกจินตนาการและการคิดอย่างเป็นระบบ

 

การอ่านหนังสือนิทานสำหรับเด็ก ๆ ยังถือเป็นเรื่องสำคัญ การอ่านหนังสือช่วยพัฒนาสมอง ความคิด ความจำ และเสริมสร้างจินตนาการ การเล่าเรื่องฝึกลูกให้คิดอย่างเป็นระบบ

 

พัฒนา ทักษะ EF

พัฒนาทักษะ EF

6. Reading & Thinking การอ่านช่วยพัฒนาทักษะสมอง สมาธิ และกระบวนการคิดของเด็ก

 

นิทานจะมีที่มาที่ไปของเรื่อง มีการลำดับเรื่อง สิ่งสำคัญเมื่อคุณพ่อหรือคุณแม่เล่านิทานให้ลูกฟัง ควรถามคำถามให้ลูกตอบเพื่อฝึกให้ลูกรู้จักคิด วิเคราะห์ เพื่อให้เกิดกระบวนการคิด นอกจากนี้ ขณะที่ลูกฟังนิทานลูกก็จะมีสมาธิในการฟังตามไปด้วย ส่งผลให้สมองเกิดการพัฒนา

7. Creative Toys & Board Games ของเล่นที่ต้องใช้สมาธิในการเล่น

เกมและบอร์ดเกมต่างๆ ช่วยพัฒนาสมอง ฝึกการคิดและการวางแผน มีการกำหนดกติกา และสร้างเงื่อนไข ท้าทายให้ลูกได้คิดและได้ลงมือทำ

 

8. Art & Music การเล่นดนตรีและทำงานศิลปะ

 

พัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) มาพัฒนาพื้นฐานชีวิตลูกให้ประสบความสำเร็จกัน!

พัฒนา ทักษะ EF

 

 

ช่วยให้สมองส่วนหน้าเกิดการตื่นตัวในการทำงาน การส่งเสริมกิจกรรมดังกล่าวควรทำให้เป็นประจำสม่ำเสมอ จะส่งผลดีต่อการพัฒนาสมอง อารมณ์ และสังคมของลูก

9. Sports & Plays กีฬาและการเล่นที่มีกฎกติกา

การเล่นเป็นทีม ช่วยฝึกเรื่องการคิด การวางแผน และการมุ่งเป้าหมาย รวมถึงการอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ การเล่นเป็นทีมทำให้เกิดความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองเพื่อนำพาทีมไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ การเล่นกีฬายังสอนให้เรียนรู้ความพ่ายแพ้ และจัดการกับอารมณ์ของตนเองแม้ต้องเจอเรื่องที่ผิดหวังก็ตาม

10. Bilingualism เด็กที่ฝึกพูดสองภาษา

ส่งผลต่อการพัฒนาการคิด การให้เหตุผลและทักษะการฟัง

 

พัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) มาพัฒนาพื้นฐานชีวิตลูกให้ประสบความสำเร็จกัน!

พัฒนา ทักษะ EF

การนอนหลับเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญ

เรื่องการนอนเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กิจกรรมอื่นใด ได้แก่ ทารกต้องนอนให้ได้วันละ 13 – 14 ชั่วโมง ส่วนเด็กวัย 3 – 4 ปีขึ้นไป ต้องนอนไม่น้อยกว่า 10 – 12 ชั่วโมง / คืน และต้องนอนยาว ๆ ในเวลากลางคืน เพราะในระหว่างนี้สมองส่วนหน้าของเด็กจะเติบโต เส้นใยประสาทในสมองเด็กจะเชื่อมต่อกัน และทำให้สมองทั้งสองซีกทำงานประสานกันแข็งแรงขึ้น ส่งผลต่อพัฒนาการ และการจัดระบบความคิดในสมองของลูกค่ะ

 

Source : khaosod

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ของเล่นฝึกสมอง เล่นแล้วลูกฉลาดขึ้น ของเล่นเพิ่มพัฒนาการลูก

ชี้เป้า ของตัวแม่ต้องมี (10 MUST HAVE ITEMS FOR WOMAN & MOM) ช้อปสนุก หยุดไม่อยู่ ในเดือนแห่งแม่ กับ JD CENTRAL ตลอดเดือนสิงหาคม

เลี้ยงลูกแบบธรรมชาติ เคล็ดไม่ลับฝึกลูกให้มีความพยายาม พร้อมประสบความสำเร็จในอนาคต

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • พัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) มาพัฒนาพื้นฐานชีวิตลูกให้ประสบความสำเร็จกัน!
แชร์ :
  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว