เกิน 1 ขวบปีมาได้หลายเดือน ลูกน้อยวัย 15 เดือน มีพัฒนาการอะไรให้คุณพ่อคุณแม่ต้องติดตาม และสร้างเสริม พัฒนาการเด็ก 15 เดือน ได้ด้วยวิธีอะไรบ้าง
พัฒนาการที่สำคัญของเด็กวัย 15 เดือน
พัฒนาการเด็กวัย 15 เดือน ที่สำคัญ เด็ก15 ลูกวัยนี้เริ่มมีทักษะการสื่อสารที่ก้าวหน้ามากขึ้น สามารถชี้ แสดงความต้องการ และส่งเสียงโต้ตอบกับคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว แต่ความสามารถนี้ ก็จะมาพร้อมกับความงอแง และเอาแต่ใจ ให้คุณพ่อคุณแม่ต้องรับมือหนักขึ้นอีกหน่อย
การที่ลูกงอแง และแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว เป็นหนึ่งในพัฒนาการเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง 1 – 3 ขวบ และมักมาพร้อมกับทักษะทางด้านการสื่อสาร เนื่องจากลูกเริ่มแสดงความต้องการได้บ้าง แต่ยังไม่สามารถใช้คำพูด หรือเรียนรู้ที่จะแสดงท่าทางได้มากนัก การกรีดร้อง ร้องไห้ หรือถีบเตะ จึงเป็นพฤติกรรมเพียงไม่กี่อย่าง ที่พวกเขาจะสามารถแสดงออกถึงความไม่ชอบใจได้
ลูกมีทักษะการควบคุมนิ้วมือที่ดีขึ้น มีความสามารถในการหยิบ จับ คว้า วางและปล่อยสิ่งของต่าง ๆ ได้แม่นยำ และนุ่มนวล สามารถนั่งยอง ๆ เพื่อหยิบของได้
พัฒนาการเด็ก 15 เดือน ทางด้านร่างกาย และการเคลื่อนไหว
- ลูกสามารถก้าวเดินได้ โดยไม่ต้องจับ อาจจะคลาน วิ่ง เดิน อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย คุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยของลูก ระวังของต่าง ๆ ที่วางระเกะระกะอยู่ตามพื้น ซึ่งอาจจะทำให้ลูกสะดุดล้ม ระวังลูกเอานิ้วไปแหย่รูปลั๊กไฟ หรือเดินไปชนขอบชั้น เหลี่ยมโต๊ะ เป็นต้น
- ลูกสามารถนั่งยอง ๆ เพื่อหยิบสิ่งของได้
- มีทักษะการควบคุมนิ้วมือที่ดีขึ้น มีความสามารถในการหยิบ จับ คว้า วาง และปล่อยสิ่งของต่าง ๆ ได้แม่นยำ และนุ่มนวล
- เริ่มเรียนรู้ที่จะดื่มน้ำจากถ้วย หรือแก้ว
- สามารถเรียงวัตถุซ้อนกัน เป็นชั้น ๆ ได้ประมาณ 3 ชั้น
- สามารถใช้สีเทียนขีดเขียนลงบนกระดาษได้
พัฒนาการทางความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ ของเด็กวัย 15 เดือน
- ลูกมีความเข้าใจ และสามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้
- ยังคงมีพฤติกรรมเลียนแบบ เช่น ทำท่ากวาดบ้าน ทำท่าคุยโทรศัพท์ ส่งเสียงตาม เป็นต้น
- ชอบเล่นสำรวจ หยิบ จับ รื้อ ค้น สิ่งที่อยู่รอบตัว ไม่เพียงแต่ของเล่นเท่านั้น แต่รวมไปถึงของใช้ต่าง ๆ ที่อยู่ในระยะการมองเห็น หากคุณแม่วางกระเป๋าสตางค์ไว้ใกล้ ๆ หากลูกคว้าได้ก็จะรื้อ ดึงทั้งบัตร ทั้งแบงก์ออกมาเล่น
- รู้จักใช้ความคิดมากขึ้น เริ่มแก้ปัญหาง่าย ๆ อย่างการเรียงลำดับสิ่งของได้
- สนใจเรื่องระยะ ขนาด รูปร่าง และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น เช่น เมื่อเห็นลูกบอลกลิ้งออกไป ก็จะเริ่มสังเกตได้ว่า ลูกบอลจะกลิ้งไปทางไหน อาจจะเดินตามไป แทนที่จะนั่งรอที่จุดเดิม
ความรู้สึกมั่นใจ และเป็นตัวเอง มีความมุ่งมั่นในสิ่งที่ทำ แม้จะถูกห้ามการแสดงออกแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าลูกจะเป็นเด็กดื้อ จริง ๆ แล้วเป็นขั้นตอนหนึ่งของพัฒนาการของลูกน้อย
พัฒนาการทางอารมณ์ และสังคม ของเด็กวัย 15เดือน
- ใช้เวลาง่วนอยู่กับการเล่น ชอบทำอะไรด้วยตัวเอง อีกทั้งยังเป็นวัยที่ชอบแสดงออก หากทำอะไรแล้วได้รับเสียงปรบมือ เสียงชม หรือเสียงหัวเราะชอบใจ ก็จะทำท่าทางเหล่านั้นไม่หยุดเลยทีเดียว
- รู้สึกสนใจ เมื่อได้เห็นตัวเองในกระจก แม้กระทั่งการเห็นรูปภาพของตัวเอง ก็ถือเป็นการค้นพบอันยิ่งใหญ่สำหรับเจ้าตัวน้อยในวัยนี้
- เริ่มมีความรู้สึกมั่นใจ และเป็นตัวเองมากขึ้น เวลาที่ลูกต้องการจะทำอะไร ก็จะมุ่งมั่น แม้จะถูกห้ามก็ตาม เช่น ไม่ยอมไปนอน ถ้าหากยังเล่นสนุกอยู่ เป็นต้น การแสดงออกแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าลูกจะเป็นเด็กดื้อ จริง ๆ แล้วเป็นขั้นตอนหนึ่งของพัฒนาการเด็ก คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลใจไป
- เรียนรู้วิธีที่จะดึงความสนใจจากผู้ใหญ่ รู้ว่าผู้ใหญ่ชอบเวลาที่เขาหัวเราะ หรือรู้ว่าจะได้สิ่งที่ต้องการ หากร้องไห้
- เริ่มติดสิ่งของ เช่น ผ้าห่ม หรือตุ๊กตา
- แสดงอาการไม่ชอบ ไม่พอใจ หรือหวาดกลัวได้
- แสดงความรัก ด้วยการกอด หอมแก้มพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิดได้
พัฒนาการด้านภาษา และการสื่อสาร ของเด็กวัย 15เดือน
- ช่วงนี้ลูกน้อยเริ่มพูดคำที่มีความหมายได้มากขึ้น และสามารถเข้าใจประโยคง่าย ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่พูดอย่างเช่น “มานี่หน่อย” “หยิบลูกบอลให้คุณแม่หน่อย”
- ลูกสามารถพูด และเข้าใจความหมายของคำ 3 – 5 คำ รวมถึงคำว่า พ่อ แม่
- ลูกสามารถหยิบวัตถุ หรือสิ่งของมาให้คุณพ่อคุณแม่ได้
- ลูกสามารถแสดงความต้องการ หรือไม่ต้องการได้ เช่น ดึงขาคุณพ่อคุณแม่ เมื่อเขาต้องการความสนใจ และขว้างปาของเล่น เมื่อไม่ต้องการ หรือปัดอาหารที่อยู่ตรงหน้าจนหกเลอะเทอะ หากไม่อยากรับประทานอาหาร เป็นต้น
- ลูกรู้จักส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมากขึ้น เช่น สามารถชี้ไปที่จมูกได้ เมื่อคุณแม่ถาม เป็นต้น
เคล็ดลับเลี้ยงลูกในวัย 15 เดือน
- เด็กวัยนี้ชอบการเต้นรำ ชอบโยกตัวไปมาตามจังหวะเพลง คุณพ่อคุณแม่ควรหาเพลงสำหรับเด็กมาเปิดให้ลูกฟัง และเต้นตามจังหวะ ลูกจะชอบให้เปิดเพลงโปรดซ้ำ ๆ จนร้องตามได้เลยทีเดียว
- การเล่นอีกอย่างที่จะช่วยเสริมพัฒนาการให้ลูกได้ คือการให้ลูกได้จับ หรือสัมผัสของเล่น หรือสิ่งของที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น วัตถุที่มีความนิ่ม แข็ง พื้นผิวเรียบ ขรุขระ พ่อแม่ให้ลูกสิ่งของเหล่านี้ พร้อมพูดคำสั้น ๆ ชัด ๆ เพื่ออธิบายรายละเอียดไปด้วย
- ผลการค้นคว้าวิจัยระบุว่า การร้องเพลงให้ลูกได้ฟัง ด้วยเสียงของคุณพ่อคุณแม่ จะเป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านการฟัง และการพูดได้ดี
อารมณ์ฉุนเฉียว เป็นหนึ่งในพัฒนาการเด็ก มักมาพร้อมกับทักษะการสื่อสาร เนื่องจากลูกเริ่มแสดงความต้องการได้บ้างแล้ว แต่ยังไม่สามารถใช้คำพูด หรือแสดงท่าทางได้มากนัก
เมื่อไหร่ที่ควรพาลูกไปพบแพทย์
- ลูกไม่สามารถส่งเสียงได้ หรือไม่สามารถใช้เสียงเพื่อแสดงออกถึงความต้องการได้
- ลูกไม่สามารถแสดงความรัก เช่น การกอด การหอมแก้มพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิดได้
- ลูกไม่มีแสดงความสนใจในสิ่งเดียวกันกับเด็กคนอื่น ๆ ในวัยเดียวกันเลย
พัฒนาการของเด็กแต่ละคนในช่วงวัยเดียวกัน อาจมีความแตกต่างกัน เด็กบางคนมีทักษะบางอย่างที่พัฒนาไปเร็ว ในขณะที่เด็กบางคนอาจพัฒนาได้ช้ากว่าเล็กน้อย ช่วงเวลาที่แตกต่างกันนี้ ไม่ได้หมายความว่า ลูกจะมีความผิดปกติแต่อย่างใด หากแต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ หลายประการ เช่น ลูกที่คลอดก่อนกำหนด อาจจะมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กที่คลอดปกติ
อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรมีการพูดคุย และปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับพัฒนาการของลูกเป็นประจำ เพื่อให้เจ้าตัวเล็กเติบโตอย่างสมวัย และไม่พลาดพัฒนาการที่สำคัญช่วงใดช่วงหนึ่งไป
*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว
source kidshealth.org
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
พัฒนาการเด็ก 14 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี
พัฒนาการเด็ก 13 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี
อาหารกินแล้วลูกฉลาด อาหารบํารุงสมองลูกน้อย กินอะไรให้ฉลาด ความจําดี
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!