X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการทารก 3 สัปดาห์ พัฒนาการทารกแรกเกิด วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

บทความ 5 นาที
พัฒนาการทารก 3 สัปดาห์ พัฒนาการทารกแรกเกิด วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

นับถอยหลังอีกไม่นาน แม่ก็จะผ่าน 1 เดือนแรกของการเลี้ยงลูกแรกเกิดแล้ว ช่วง 3 สัปดาห์แรก พ่อแม่ต้องเหนื่อยหน่อย เพราะลูกร้องทั้งคืน! แต่ลูกก็เริ่มมีพัฒนาการแล้วนะ พัฒนาการทารก 3 สัปดาห์ ปรับตัวกับโลกภายนอกไปถึงไหนแล้วลูกจ๋า วันนี้เราจะพามาดูว่าพ่อแม่ควรเล่นอะไรกับลูกวัยนี้ดี วิธีเช็กพัฒนาการของลูกน้อยว่าเติบโตสมวัยหรือไม่ พร้อมการดูแลเด็กแรกเกิด ไปดูกันเลยค่ะ

 

พัฒนาการทางด้านร่างกายของทารก 3 สัปดาห์

  • เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ผิวพรรณของลูกเริ่มลอกน้อยลงแล้ว ผิวทารกเริ่มกลายเป็นสีอมชมพูน่ารักน่าชัง ร่างกายอวบอ้วนขึ้น ส่วนคราบหนา ๆ เป็นสะเก็ดบนศีรษะของทารกแรกเกิด คือคราบไขมัน ลักษณะเป็นแผ่นหนาออกสีเหลือง ๆ อีกไม่นานก็จะหายไป
  • พัฒนาการทารก 3 สัปดาห์ด้านการเคลื่อนไหว ลูกกระตุกบ้างเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อกล้ามเนื้อของลูกแข็งแรงขึ้น ทารกจะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นเอง
  • ทารกแรกเกิดจะนอนมาก นอนนานประมาณวันละ 15 ชั่วโมง ซึ่งรวมทั้งเวลานอนปกติตอนกลางคืนและเวลานอนระหว่างวัน พ่อแม่ต้องคอยดู อย่าให้ลูกนอนหลับในท่าคว่ำ

 

พัฒนาการทางด้านความรู้ความเข้าใจของทารก 3 สัปดาห์

  • สิ่งเร้าต่าง ๆ ทำให้ลูกตกใจได้ พ่อแม่ควรใช้ผ้าห่อตัวทารกแรกเกิด เพื่อให้ลูกรู้สึกปลอดภัยเหมือนตอนนอนหลับอยู่ในท้องแม่
  • เมื่อลูกร้องไห้จากอาการตกใจ แม่สามารถปลอบลูกได้ด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน เพราะทารกน้อยจำเสียงแม่ได้ตั้งแต่อยู่ในท้องแล้วล่ะ การร้องเพลงกล่อมลูกด้วยน้ำเสียงที่คุ้นเคยจะช่วยให้ทารกสงบได้นะ
  • ขณะที่ลูกตื่น ตอนที่ลูกนอนคว่ำฝึกชันคอ แม่ลองเอาหน้าเข้าไปใกล้ ๆ พูดคุยกับลูกดูสิ ถ้าสังเกตดี ๆ จะรู้ว่า ลูกกำลังพยายามเลียนแบบแม่อยู่

 

 

วิธีส่งเสริม พัฒนาการทารก 3 สัปดาห์

  • เล่นกับมือและนิ้ว ของลูก เพราะเด็ก ๆ จะเริ่มสำรวจสภาพแวดล้อมด้วยมือ การเอื้อมมือออกไปจับหรือสัมผัส และนั่นมันจะกลายเป็นเรื่องบันเทิงของเจ้าตัวเล็ก ที่จะใช้เวลาต้องมองมือและนิ้วของตัวเอง และมันเป็นเรื่องธรรมดาที่ลูกจะเอาทุกอย่างที่ขว้าได้เข้าปาก คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องระมัดระวังในเรื่องของ ความสะอาดด้วยนะคะ
  • กำและแบ ลูกจะเรียนรู้วิธีกำมือและแบออก ให้ลูกถือของเล่นที่มีเสียงกรุ๊งกริ๊ง เด็ก ๆ จะเรียนรู้ไปเองค่ะว่า เขาเป็นคนที่ทำให้เกิดเสียงดังนี้ขึ้น
  • เปิดโลกด้วยการสัมผัส หาวัสดุที่มีสัมผัสที่แตกต่างกันให้ลูกได้จับเปลี่ยนเทียบกัน ทั้งรูปร่างที่หลากหลาย ขนาดที่ต่างกัน และสีสันที่ไม่เหมือนกัน เด็ก ๆ จะใช้เวลาสักพักเพื่อทำการสำรวจค่ะ
  • จับลูกนอนคว่ำบ้าง หลังจากที่ลูกเพิ่งตื่น จับลูกนอนคว่ำบ้าง เพื่อให้ลูกได้ออกกำลังบริเวณคอและไหล่ จะทำให้คอแข็งเร็วขึ้นค่ะ แต่อย่าเพิ่งให้ลูกนอนหลับให้ท่านอนคว่ำนะคะ เด็กในวัยนี้จะปลอดภัยที่สุดในท่านอนหงายค่ะ
  • ให้ลูกมองตาม โดนใช้ของเล่นที่ลูกชอบ หรือมือของคุณพ่อคุณแม่ เคลื่อนไหวไปตามทิศทางต่าง ๆ เป็นการให้ลูกเรียนรู้ที่จะมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้น ๆ

 

การดูแลทารกแรกเกิด 3 สัปดาห์

สำหรับการดูแลทารกแรกเกิด มีอยู่ 5 อย่างที่ต้องทำทุกวัน เป็นประจำ

  1. การให้นมลูก ช่วงแรกเกิด – 1 เดือน เด็กทารกจะใช้เวลานอนนานมาก และจะตื่นขึ้นมาเพื่อกินนมแม่ จากนั้นก็จะนอนหลับทันทีเมื่อดูดนมอิ่ม และสลับกับตื่นมากินนมวนไป ซึ่งเป็นรูปแบบการนอนปกติของทารกแรกเกิดในช่วงแรก ซึ่งคุณแม่ควรให้ลูกน้อยหรือปลุกให้ลูกตื่นขึ้นมาดูดนมทุก ๆ 2 – 4 ชั่วโมงในระยะนี้
  2. การอาบน้ำทารก การอาบน้ำทารกแรกเกิดควรใช้น้ำในอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ร้อนและเย็นจนเกินไป ให้พออุ่นสบายอาบน้ำลูก และใช้เวลาไม่เกิน 5-7 นาที ควรอาบน้ำทารกวันละ 2 ครั้ง สระผมวันละครั้ง และไม่ควรอาบน้ำตอนกลางคืน หรือไม่ควรอาบน้ำทันทีหลังให้นม
  3. การขับถ่ายของทารก ลูกแรกเกิดขับถ่ายบ่อย โดยเฉพาะทารกที่กินนมแม่ ดังนั้น คุณแม่ควรสังเกตเมื่อลูกมีอาการงอแง เพราะไม่สบายตัวหลังจากฉี่หรืออึ ให้เปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง และทำความสะอาดด้วยการใช้สำลีชุบน้ำเช็ด โดยเช็ดจากบนลงล่าง
  4. การดูแลสะดือทารก สำหรับลูกที่สายสะดือยังไม่หลุด ให้ใช้สำลีชุบน้ำเปล่าหรือน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดเบา ๆ รอบโคนสะดือจากด้านในออกด้านนอก วันละ 2 ครั้ง หลังจากสายสะดือหลุดแล้วดูแลทำความสะดือลูกต่อด้วยการเช็ดและทำให้แห้งเสมอ ไม่ควรใช้แป้ง หรือยาโรยสะดือทุกชนิด
  5. การทำความสะอาดเสื้อผ้าทารก แม่ต้องแยกผ้าที่สกปรกมากออก แยกเสื้อผ้าของลูกที่เลอะอุจจาระหรือปัสสาวะออกและทำความสะอาดก่อนนำไปซักรวมกับเสื้อผ้าตัวอื่น ๆ การใช้น้ำยาซักผ้าเด็กที่ไม่ใช้สารเคมีอันเป็นอันตรายต่อผิวลูกน้อยได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 เคล็ดลับพ่อแม่มือใหม่ กลัวเลี้ยงลูกไม่ได้ ไม่มั่นใจในการดูแลทารกแรกเกิด ต้องอ่าน!

 

พัฒนาการทารก 3 สัปดาห์

 

ของเล่นเสริมพัฒนาการทารก 3 สัปดาห์

  • พัฒนาการทารก 3 สัปดาห์ ชอบของเล่นที่มีเน้นสำหรับการจับและกัดได้ เพื่อเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง การหาของเล่นที่เน้นสำหรับการจับ เขย่า มีเสียง และที่สำคัญมีสีสันที่สวยงาม จึงเป็นของเล่นชิ้นแรกที่เหมาะสำหรับเด็ก ๆ ในวัยนี้ ที่สำคัญของเล่นที่ว่านี้จะต้องเป็นยางที่นิ่ม และทำจากวัสดุที่ปลอดภัยด้วย เพราะธรรมชาติของเด็กวัยนี้ นอกจากจะชอบกำมือแล้ว ยังชอบนำทุกอย่างที่หยิบได้ใส่ปากอีกด้วย
  • กระจกส่องของเด็ก เลือกกระจกสะท้อนเงาที่ไม่แตก ลูกจะสามารถนอนเล่นดูตัวเองได้นาน กระจกส่องยังช่วยในการเสริมพัฒนาการทางด้านสมองให้กับลูกได้ด้วย
  • ตุ๊กตาแขวนโมไบล์ ควรที่จะแขวนในตำแหน่งที่ลูกสามารถเอื้อมจับได้ เพราะลูกจะได้หยิบจับและเล่นเมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเขาอยากเล่น การเล่นของเล่นชิ้นนี้ นอกจากจะเสริมสร้างระบบประสาท การหยิบจับแล้ว ยังช่วยในเรื่องของสายตาและการสังเกต
  • พ่อแม่คือของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูก อย่าลืมข้อนี้นะคะ หมั่นเล่นกับลูกบ่อย ๆ จะดีต่อพัฒนาการลูกมากที่สุด

 

ข้อควรระวังการเลี้ยงดูทารก 3 สัปดาห์

อย่าเขย่าลูกเด็ดขาด การเขย่าทารกอย่างรุนแรงจะทำให้ทารกเกิดอาการ Shaken Baby Syndrome สมองของทารกจะได้รับการกระทบกระเทือน โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบต้องระวัง เพราะมีกล้ามเนื้อคอที่ยังไม่แข็งแรง อาจทำให้เส้นเลือดบริเวณเยื่อหุ้มสมองฉีกขาด จนเกิดเลือดออกในสมอง ลุกลามไปจนถึงเส้นเลือดในจอตาขาดได้ด้วย

จากสถิติพบว่า เด็กที่มีอาการ Shaken Baby Syndrome 1 ใน 3 สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ ในขณะที่อีก 1 ใน 3 กลายเป็นคนพิการไปตลอดชีวิต เช่น ไร้สมรรถภาพในการเรียนรู้ ตาบอด หรือเป็นอัมพาตในสมองใหญ่ เป็นต้น และที่น่าเสียใจที่สุดคืออีก 1 ใน 3 นั้นอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 วิธีดูแลทารกแรกเกิด การเลี้ยงเด็กทารกแรกเกิด ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไรบ้าง

 

พัฒนาการทารก 3 สัปดาห์

 

สิ่งที่แม่ต้องระวังสำหรับเด็กแรกเกิด

ควรสังเกตอาการต่าง ๆ ของทารกอย่างใกล้ชิด ที่พบบ่อย เช่น

  • อาการตัวเหลืองหลังคลอด
  • อาการสะดืออักเสบ
  • อาการแหวะนมบ่อย
  • ท้องเสีย
  • อาการง่วงซึม
  • อาการหยุดหายใจหรือตัวเขียวขณะหลับ

 

พัฒนาการทารก 3 สัปดาห์ ลูกจะค่อย ๆ เติบโตไปอย่างช้า ๆ และอีกไม่นานลูกก็จะอายุ 1 เดือนแล้ว ดังนั้นคุณแม่อย่าลืมเสริมพัฒนาการลูกง่าย ๆ ด้วยการพูดคุย หรือเล่นกับลูกบ่อย ๆ นะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

พัฒนาการทารก 1 สัปดาห์ ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการทารก 2 สัปดาห์ พัฒนาการทารกแรกเกิด วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

พัฒนาการทารก 4 สัปดาห์ ลูกต้องมีพัฒนาการอย่างไรบ้างนะ?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
  • /
  • พัฒนาการทารก 3 สัปดาห์ พัฒนาการทารกแรกเกิด วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย
แชร์ :
  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว