X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการทารก 2 สัปดาห์ พัฒนาการทารกแรกเกิด วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

บทความ 5 นาที
พัฒนาการทารก 2 สัปดาห์ พัฒนาการทารกแรกเกิด วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

ไม่น่าเชื่อว่าลูกน้อยในท้องที่แม่เฝ้าดูแล ตอนนี้คลอดออกมาได้ 2 สัปดาห์แล้ว จากที่เคยสัมผัสลูกดิ้นได้แค่ในท้อง แม่ได้จับมือน้อย ๆ จุ๊บลูกรักได้แล้ว พัฒนาการทารก 2 สัปดาห์ กำลังปรับตัวในโลกกว้างอย่างค่อยเป็นค่อยไปอยู่นะแม่ เรามาดูกันว่าทารก 2 สัปดาห์ ทำอะไรได้แล้วบ้าง พ่อแม่ควรเล่นอะไรกับลูกวัยนี้ดี พร้อมวิธีเช็กพัฒนาการของลูกน้อยว่าเติบโตสมวัยหรือไม่ มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ

 

พัฒนาการทางด้านร่างกายของทารก 2 สัปดาห์

  • พัฒนาการทารก 2 สัปดาห์ทางด้านร่างกาย น้ำหนักที่หายไปในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด ได้กลับมาแล้ว ทำให้น้ำหนักของทารกแรกเกิดค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ขณะที่ศีรษะของทารกก็ใหญ่กว่าตัว แต่แม่ไม่ต้องห่วงนะคะ อีกเพียงไม่กี่เดือนร่างกายของลูกก็จะสมสัดส่วนมากขึ้น
  • ทารกแรกเกิดบางคนคลอดออกมาผมหนา ทารกบางคนผมบาง ผมเป็นหย่อม ๆ ขอให้แม่อดใจเฝ้าดู ลูกจะผมขึ้นทั่วทั้งหัวในอีกไม่ช้า
  • เมื่อยื่นนิ้วเข้าไปใกล้ ๆ ลูกก็จะกำนิ้วของแม่ไว้แน่น นี่คือปฏิกิริยาการกำของเด็กทารก หรือ Palmar Grasp Reflex
  • พ่อแม่อย่าลืมดูแลสายสะดือทารกแรกเกิดให้ดี โดยทั่วไป สะดือลูกแรกเกิดจะหลุดใน 7 วัน หรือช้าที่สุด 4 สัปดาห์ สิ่งสำคัญคือต้องทำให้รอบ ๆ แห้งอยู่เสมอ

 

พัฒนาการทางด้านความรู้ความเข้าใจของทารก 2 สัปดาห์

  • พัฒนาการวัยทารกแรกเกิด 2 สัปดาห์ จะเริ่มมีปฏิกิริยากับเสียงและแสง ลูกจึงตกใจง่ายเมื่อได้ยินเสียงดัง ส่วนสายตาและการมองเห็นนั้นกำลังพัฒนาอยู่ ทำให้เห็นได้ไม่ชัด ลูกจึงจ้องมองใบหน้าของพ่อแม่อยู่เสมอ
  • สิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของทารกแรกเกิดนั้นซ้ำเดิม ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับ การกิน และการขับถ่าย แต่แม่รู้ไหมว่า การกินนมของลูกนั้น คือการเติมพลังให้กับสมอง เปรียบเสมือนเชื้อเพลิงขับเคลื่อนให้สมองได้พัฒนา
  • การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอของทารกแรกเกิด จะช่วยให้ร่างกายและสมองของทารกเติบโต ในสัปดาห์ที่ 2 นี้ ทารกเริ่มจำเสียงแม่ได้แล้ว แถมยังจำกลิ่นแม่ได้ด้วย และสิ่งที่ลูกต้องการมากที่สุดจากแม่คือการสัมผัสและอุ้มลูกไว้แนบอก
  • ผลวิจัยบอกว่า การอุ้มลูกเป็นประจำช่วยพัฒนาสมองลูกน้อย และทำให้ร่างกายของลูกเติบโตไวขึ้นได้ด้วย ดังนั้น แม่ควรกอดลูก หอมลูก จูบลูก เพื่อแสดงความรักกับลูกบ่อย ๆ จะช่วยเรื่องพัฒนาการทารก 2 สัปดาห์ได้นะคะ

 

Advertisement

 

วิธีส่งเสริม พัฒนาการทารก 2 สัปดาห์

  • เล่นกับลูกผ่านเสียงและการสื่อสาร พูดคุยแบบเห็นหน้าสบตา หรือจะลองคุยกับลูกด้วยเสียงในแบบต่าง ๆ พูดด้วยโทนเสียงสูงและช้า เป็นน้ำเสียงที่พูดเกินจริง วิธีเล่นกับลูกแบบนี้ นอกจากลูกจะเพลิดเพลินแล้วยังช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษาของลูกได้ด้วย
  • การร้องเพลงก็คือการสื่อสารอย่างหนึ่ง แม่แค่เพิ่มโทนเสียงและจังหวะเข้าไป เพราะลูกวัยทารกสามารถแยกแยะรูปแบบจังหวะได้แล้ว จริง ๆ ลูกมีความสามารถนี้ตั้งแต่อยู่ในท้อง ตอนแม่ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25 แล้วด้วย
  • อ่านหนังสือ การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือหนังสือใด ๆ ก็ตาม คือการเพิ่มคลังคำศัพท์ที่มีอยู่อย่างมากมายมหาศาลให้กับลูก

 

โภชนาการของทารก 2 สัปดาห์

  • ในช่วงวัยแรกเกิดจวบจนทารก 6 เดือน นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก ไม่จำเป็นต้องป้อนน้ำ ไม่ต้องเสริมน้ำผลไม้ เพราะน้ำนมแม่เพียงพอทั้งสารอาหารและคุณประโยชน์สำหรับลูกแล้ว ในช่วงวันแรก ๆ น้ำนมแม่ยังมีปริมาณไม่มาก ควรสลับให้ทารกได้ดูดนมแม่ทั้ง 2 เต้าบ่อย ๆ ในทุก 1-3 ชั่วโมง การให้ทารกได้ดูดนมแม่บ่อย ๆ ร่างกายคุณแม่จะสร้างกลไกการหลั่งน้ำนมขึ้นมา และถูกกระตุ้นให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีน้ำนมเพียงพอกับความต้องการของทารก
  • ทารก 2 สัปดาห์มักเกิดการร้องโคลิกบ่อย ๆ แม่ให้นมลูกจึงต้องอุ้มลูกเรอทุกครั้ง เพื่อลดอาการปวดท้อง แน่นท้องจากลมในกระเพาะที่มีมากเกินไป สำหรับทารกดูดขวดอย่าปล่อยให้ลูกดูดขวดนมเปล่าหรือดูดจุกนมที่มีรูใหญ่เกินไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : นมผงสำหรับเด็ก 1 เดือน วิธีเลือกนมผงหากให้นมแม่ไม่ได้

 

พัฒนาการทารก 2 สัปดาห์

 

วัคซีนจำเป็นสำหรับทารก

  • วัคซีนวัณโรค (BCG) ซึ่งจะมีประสิทธิภาพดีต่อการป้องกันโรคระยะแรกในเด็ก โดยเฉพาะวัณโรคเยื่อหุ้มสมอง และวัณโรคชนิดแพร่กระจาย สำหรับวัคซีนสามารถฉีดได้ตั้งแต่แรกเกิด หากไม่ได้รับก็สามารถฉีดได้ ในทุกช่วงอายุ
  • วัคซีนตับอักเสบบี (HBV) โรคไวรัสตับอักเสบบีจะทำให้มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง ตับแข็ง และอาจเป็นมะเร็งตับในระยะต่อมาได้ จึงจำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนชนิดนี้ โดยจะต้องฉีดทั้งหมดให้ครบ 3 ครั้งคือ ฉีดวัคซีนในวัยทารกแรกเกิด, ฉีดวัคซีนในอายุ 1-2 เดือน และฉีดวัคซีนในวัย 6 เดือน

 

การดูแลทารกแรกเกิด 2 สัปดาห์

  • ลูกแรกเกิดในวัย 2 สัปดาห์นั้นบอบบางมาก ไม่ว่าจะอุ้มหรืออาบน้ำทารก แม่ก็ต้องระวัง โดยเฉพาะช่วงคอของทารกที่ต้องประคอง เพราะศีรษะเจ้าตัวน้อยขนาดใหญ่มาก
  • ฝึกลูกชันคอเพราะกล้ามเนื้อคอลูกยังไม่แข็งแรง แม่ต้องเล่นและพูดคุยกับลูก เพื่อให้ลูกคุ้นเคยกับเสียงของคุณแม่เร็ว ๆ และคอยหันหาเสียงนั้นยามที่เขานอนเพลิน ๆ เอียงหน้าไปมาช้า ๆ ให้ลูกมองตาม พร้อมอุ้มพาดบ่าบ่อย ๆ หาโอกาสให้ลูกได้นอนคว่ำเพื่อฝึกชันคอบ้าง
  • ทารกแรกเกิดมีผิวหนังบอบบาง ถ้าอาบน้ำให้ทารกแรกเกิดบ่อยเกิน อาจทำให้ทารกเกิดอาการผิวแห้ง ผิวเกิดการอักเสบได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 วิธีดูแลทารกแรกเกิด การเลี้ยงเด็กทารกแรกเกิด ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไรบ้าง

 

พัฒนาการทารก 2 สัปดาห์

 

ข้อควรระวังการเลี้ยงดูทารก 2 สัปดาห์

  • ดูเหมือนว่าเล็บของลูกจะยาวแล้ว แม่ต้องตัดเล็บทารกเพื่อไม่ให้ไปข่วนหน้าตัวหน้า สำหรับวิธีตัดเล็บทารกให้ปลอดภัยไม่เข้าเนื้อ ให้ตัดเล็บหลังจากที่ลูกอาบน้ำแล้ว เล็บจะได้นุ่มตัดง่าย จะตัดเล็บลูกตอนให้นมก็ได้ หรืออาจจะเลือกตัดเล็บให้ลูกตอนที่ลูกน้อยนอนหลับสนิท โดยตัดเล็บทารกให้สั้นเสมอกับแนวเนื้อใต้เล็บ ตัดให้เหลี่ยมคมหายไป หรือใช้ตะไบอันเล็กถู
  • กระหม่อมทารกบอบบางมาก จะอุ้มจะวางแม่ต้องระวัง หากมีลูกที่โตกว่า ก็ยิ่งต้องดูแล อย่าปล่อยให้พี่กับน้องในวัยนี้อยู่กันตามลำพัง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
  • เวลาวางลูกให้วางลูกลงนอนหงาย อย่าปล่อยให้ลูกนอนหลับทั้งที่คว่ำอยู่ เพราะโรคใหลตายในทารกหรือ SIDS อันตรายมาก

 

พัฒนาการทารก 2 สัปดาห์อยู่ในช่วงการปรับตัวให้คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมภายนอก สิ่งที่แม่ต้องใส่ใจคือ ให้ลูกน้อยกินอิ่ม นอนหลับ ด้วยการลดสิ่งเร้า ไม่ให้ลูกอยู่ในที่ที่เสียงดังเกินไป หรือมีแสงจ้าเกินไป หมั่นอุ้มลูก สัมผัสลูกบ่อย ๆ คอยดูแลเรื่องความสะอาด เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกทุก 2-3 ชั่วโมงนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

พัฒนาการทารก 1 สัปดาห์ ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการทารก 3 สัปดาห์ พัฒนาการทารกแรกเกิด วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

พัฒนาการทารก 4 สัปดาห์ ลูกต้องมีพัฒนาการอย่างไรบ้างนะ?

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • พัฒนาการทารก 2 สัปดาห์ พัฒนาการทารกแรกเกิด วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย
แชร์ :
  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว