X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการ ทารกในครรภ์ ตลอด 9 เดือนที่อุ้มท้อง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

บทความ 8 นาที
พัฒนาการ ทารกในครรภ์ ตลอด 9 เดือนที่อุ้มท้อง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1 – 9 เดือน จะมีอะไรบ้าง ในแต่ละวัน แต่ละคืน ลูกจะเป็นอย่างไรบ้างนะ สมองพัฒนาตอนไหน ทารกในครรภ์ เริ่มมีแขนมีขาตอนไหน ฟันขึ้นเมื่อไหร่ พัฒนาการทารกในครรภ์ แต่ละสัปดาห์จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปติดตามพร้อมกันเลย

 

ทารกในครรภ์คืออะไร หรือตัวอ่อนมีพัฒนาการอย่างไร?

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์นั้น คือ ช่วงเวลาพัฒนาการของ “เอมบริโอ” จนเป็น “ทารก” ไม่ใช่แค่การเติบโตของทารกอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสมของมารดา ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพตัวเองและทารกในครรภ์มากกว่า 40 สัปดาห์ หรือกว่า10 เดือนกันเลยทีเดียว ซึ่งทางการแพทย์สามารถแบ่งการพัฒนาการของทารกในครรภ์ออกเป็น 3 ช่วงหรือ 3 ไตรมาส ตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุดแล้วนับตามอายุครรภ์ได้ดังนี้

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1 – 9 เดือน ทารกในครรภ์ เป็นอย่างไรบ้าง

ติดตามพัฒนาการของ ลูกในครรภ์ ตลอด 40 สัปดาห์ รวมไปถึงพัฒนาการหลังคลอด พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในระหว่างตั้งครรภ์ ในคอมมิวนิตีของคุณแม่ตั้งครรภ์ และปรึกษาปัญหาสุขภาพของคุณแม่ และเจ้าตัวน้อยกับผู้เชี่ยวชาญ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ทารกในครรภ์ ไตรมาสแรก (พัฒนาการทารกในครรภ์ 1 เดือน – 3 เดือน)

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1 เดือน (สัปดาห์ที่ 1 – 4) : ปฏิสนธิ

พัฒนาการทารกในครรภ์ในช่วงแรกสุดของชีวิต คุณแม่หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตั้งครรภ์แล้ว ซึ่งพัฒนาการของทารกในครรภ์เดือนแรกนี้ คือการที่ไข่ผสมกับสเปิร์ม และสร้างเป็นตัวอ่อน ซึ่งไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว จะค่อย ๆ เคลื่อนไปตามท่อนำไข่ และฝังตัวที่มดลูก ขณะที่ไข่เคลื่อนตัวมานั้น เซลล์จะเริ่มแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น หลังจากหนึ่งสัปดาห์ ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะฝังตัวที่ผนังมดลูก ซึ่งถือว่ากระบวนการปฏิสนธิสมบูรณ์แล้ว

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์ 2 เดือน ทารกในครรภ์ (สัปดาห์ที่ 5 – 8) : พัฒนาการเบื้องต้น

เมื่อตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูกเรียบร้อยแล้ว พัฒนาการทารกในครรภ์ ในช่วงเดือนที่ 2 นี้ จะเริ่มเห็นพัฒนาการต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น เราจะเริ่มเห็นศีรษะของทารก และอวัยวะอย่างใบหน้า ดวงตา แขน ขาพัฒนาขึ้นมาอย่างชัดเจน

  • ในช่วงเดือนที่ 2 นี้ ทารกจะมีรูปร่างกลม ๆ มีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีน้ำหนักเพียงแค่ประมาณ 3 กรัม
  • ในช่วงนี้ ตัวอ่อนในครรภ์คุณแม่จะได้รับอาหารจากถุงไข่แดง
  • ในช่วงสัปดาห์ที่ 6 หากมีการตรวจอัลตราซาวนด์ จะพบว่าหัวใจทารกเริ่มเต้น และอาจเห็นว่า ทารกขยับไปมา

 

Advertisement

พัฒนาการทารกในครรภ์ 3 เดือน (สัปดาห์ที่ 9 – 12) : สมองพัฒนา

เมื่ออายุครรภ์ครบ 3 เดือน พัฒนาการทารกในครรภ์ ทารกจะเริ่มมีอวัยวะครบถ้วนสมบูรณ์ อวัยวะบนหน้าของทารกเกือบจะสมบูรณ์แล้ว เพียงแต่ตายังปิดอยู่เท่านั้น เริ่มเห็นคาง หน้าผาก จมูก มีเล็บมือ และเล็บเท้า แขนขาของทารกจะขยับไปมา ข้อต่าง ๆ เริ่มประสานกัน นิ้วมือและนิ้วเท้าพัฒนาจนสมบูรณ์และงอได้ด้วย และเล็บเริ่มงอกยาว

  • ช่วงลำตัวทารกจะเริ่มมีกระดูก ซี่โครง ในช่วงนี้ทารกมีความต้องการแคลเซียมจำนวนมากเพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ทารกจะดึงแคลเซียมจากคุณแม่มาใช้เป็นจำนวนมาก จึงแนะนำให้แม่ท้องทานอาหารที่มีแคลเซียมเสริมให้เพียงพอ
  • ทารกจะมีขากรรไกร เหง้าฟันแท้ทั้ง 32 ซี่ ที่ซ่อนอยู่ในปุ่มเหงือกอย่างครบถ้วน
  • ทารกจะเริ่มดูดนิ้วและอาจกลืนน้ำคร่ำ หรือลอยตัวในน้ำคร่ำ
  • หัวใจ ตับ ปอด ม้าม ลำไส้ กระเพาะอาหาร และอวัยวะเพศ เริ่มมีการพัฒนาขึ้น
  • ตอนนี้ทารกมีขนาดประมาณ 10 – 12 เซนติเมตร

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีสังเกต พัฒนาการทารกวัยแรกเกิด ถึง 1 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

 

ทารกในครรภ์

 

ทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 2 พัฒนาการทารกในครรภ์

พัฒนาการ ทารกในครรภ์ 4 เดือน (สัปดาห์ที่ 13-16) : ท้องลูกชายหรือลูกสาว

ตอนนี้ส่วนใบหน้าของทารกพัฒนาขึ้นใกล้สมบูรณ์แล้ว คิ้วและขนตาเริ่มขึ้น มีนัยน์ตาปรากฏขึ้นในดวงตา และใบหูเริ่มออกไปอยู่ในตำแหน่งด้านข้าง ซ้ายและขวา ระยะนี้ทารกจะเริ่มเตะ และยืดนิ้วมือนิ้วเท้า

  • ทารกมีชั้นไขมันใต้ผิวหนังห่อหุ้มร่างกายไว้ ผิวจะออกสีชมพู และใสจนเห็นเส้นเลือด
  • ปอดเริ่มมีการพัฒนาขึ้น
  • ขนและผมจะเริ่มงอกทั่วร่างกาย
  • ลิ้นของทารกมีการพัฒนาปุ่มรับรสขึ้นมา
  • ทารกเริ่มรับรู้แสงได้แล้ว
  • ทารกจะได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจคุณแม่ และเริ่มที่จะได้ยินเสียงที่อยู่ภายนอก ซึ่งช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุย หรืออ่านหนังสือ ร้องเพลงให้ลูกฟังบ่อย ๆ เพื่อจะได้เป็นการเสริมสร้างกระตุ้นพัฒนาการลูกได้ตั้งแต่ในครรภ์นะครับ
  • อวัยวะเพศเริ่มพัฒนาขึ้น เช่น ลูกอัณฑะของเด็กผู้ชาย และช่องคลอดของเด็กผู้หญิง
  • ตอนนี้ทารกจะมีขนาด 16 – 18 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 200 กรัม

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ 5 เดือน (สัปดาห์ที่ 17 – 20) : รับรู้โลกภายนอก

ในช่วงนี้ทารกในครรภ์จะโตเร็วมาก ซึ่งคุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นบ่อย แนะนำให้คุณแม่จดบันทึกการดิ้นของลูกในแต่ละวัน(ดิ้นกี่ครั้ง/วัน) หากลูกไม่ดิ้นต้องรีบไปพบคุณหมอทันทีนะครับ

  • ทารกเริ่มมีเปลือกหุ้มเส้นประสาทไขสันหลัง
  • ผิวหนังของทารกหนาขึ้น
  • ผมที่หนังศีรษะเริ่มพัฒนาขึ้น
  • เล็บมือ และเล็บเท้าเริ่มพัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน
  • อวัยวะภายในมีการพัฒนาที่สมบูรณ์มากขึ้น
  • หัวใจมีการเต้นเป็นจังหวะ คุณแม่สามารถฟังเสียงหัวใจเต้นของลูกได้ด้วยเครื่องฟังเสียงหัวใจทารก
  • ฟันน้ำนมของทารกเริ่มพัฒนาขึ้นในเหงือกแล้ว
  • ทารกจะเพิ่มพัฒนาสัมผัสรับรู้ในด้านต่าง ๆ ทั้งรสชาติ กลิ่น และเสียง ถึงแม้ว่าตาจะยังปิดแต่ทารกจะสัมผัสถึงแสงจ้าได้ ได้ยินสิ่งที่คุณพูด รวมทั้งยังรู้สึกเมื่อคุณลูบท้องเบา ๆ
  • ตอนท้ายของเดือนที่ 5 ทารกจะเริ่มปัสสาวะปนมาในน้ำคร่ำ
  • ตอนนี้ทารกจะมีขนาด 20 – 25 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 400 กรัม

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน (สัปดาห์ที่ 21 – 24) : ทารกเริ่มตอบโต้

พัฒนาการทารกในครรภ์ในระยะนี้คุณแม่จะรู้สึกว่าทารกบิดตัวไปมา ตอนนี้ทารกจะโตช้ากว่าตอนแรกเพื่อให้อวัยวะภายในร่างกาย เช่น ปอด ระบบทางเดินอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายพัฒนา

  • ร่างกายของทารกมีการพัฒนาเซลล์เม็ดเลือดแดงขึ้นมาจำนวนมาก และเริ่มผลิตเม็ดเลือดขาว
  • ฝ่ามือฝ่าเท้าของทารกเริ่มพัฒนาให้มีลายมือลายเท้าชัดมากขึ้น
  • ผิวหนังมีการพัฒนาให้หนาทึบขึ้น แขน ขามีการพัฒนาให้มีกล้ามเนื้อที่สมบูรณ์มากขึ้น
  • ทารกมีการกลืนน้ำคร่ำ บางครั้งจะมีอาการสะอึก ทำให้คุณแม่รู้สึกเหมือนลูกกระตุกอยู่ในท้อง
  • ลำตัวของทารกพัฒนาขึ้น จนมีขนาดใหญ่กว่าศีรษะ
  • อวัยวะเพศจะพัฒนาขึ้นมาจนสมบูรณ์ ในเพศหญิงจะมีการสร้างรังไข่ขึ้นมา และเพศชายจะพัฒนาลูกอัณฑะขึ้นมาจนชัดเจน และมีการสร้างฮอร์โมนเพศชาย นั่นคือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone)
  • เซลล์สมอง ที่ทำหน้าที่ในการรับรู้พัฒนาขึ้นจนเริ่มทำงานได้ ส่งผลให้ทารกสามารถจดจำ และเรียนรู้ได้บ้างแล้ว
  • ประสาทการรับรู้เรื่องเสียงของทารก มีการพัฒนามากขึ้น ทำให้ทารกเริ่มตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่เกิดจากการพูดคุยของคุณพ่อแม่ ที่คุยกับทารก หรือเสียงเพลงที่คุณแม่เปิดให้ฟัง ดังนั้น จึงควรกระตุ้นพัฒนาการทารกด้วยการเรียกชื่อลูก เปิดเพลงให้ฟัง ร้องเพลงให้ฟัง หรืออ่านหนังสือให้ทารกฟัง จะช่วยให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการการที่ดี
  • เดือนนี้ทารกจะมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร และน้ำหนักประมาณ 600 กรัม

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทุกสิ่งที่แม่ท้องต้องรู้! เกี่ยวกับ การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ ในทุกไตรมาส

 

ทารกในครรภ์

 

ไตรมาสที่ 3 พัฒนาการลูกในครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน (สัปดาห์ที่ 25 – 28) : หนูลืมตาแล้วนะ

ในเดือนนี้ ทารกจะเริ่มสะสมไขมันใต้ผิวหนังทั่วทั้งตัวเพื่อรักษาความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย รวมทั้งปกป้องผิวหนังจากของเหลวอื่น ๆ

  • ทารกสามารถขยับนิ้ว กำมือ และมีการพัฒนาการลายนิ้วมือ ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของตัวเองขึ้นมา
  • ทารกเริ่มลืมตา และระบบนัยน์ตาพัฒนาขึ้นเกือบสมบูรณ์
  • สมองของทารกพัฒนาขึ้น จนโตเต็มกะโหลกศีรษะ และมีร่องหยักบนเนื้อสมอง ส่วนเซลล์ประสาทเชื่อมโยงเครือข่ายกันอย่างสมบูรณ์ เริ่มมีไขมันห่อหุ้มเส้นประสาทเหมือนกับที่ไขสันหลัง
  • ทารกจะขยับตัวเมื่อได้ยินเสียงดัง จังหวะการเต้นของหัวใจจะเปลี่ยนตามแสงและเสียงที่ทารกรู้สึก
  • ขนอ่อนตามร่างกายเริ่มหลุดร่วง มีเหลือไว้เฉพาะที่บริเวณไหล่ และหลัง
  • ทารกจะปัสสาวะลงในน้ำคร่ำประมาณวันละครึ่งลิตร
  • ตอนนี้ทารกมีความยาว 35 เซนติเมตร และหนักประมาณ 1,000 – 1,200 กรัม ถ้าคลอดในตอนนี้ อัตราการรอดชีวิตจะค่อนข้างสูง เนื่องจากอวัยวะสำคัญเริ่มทำงานเป็นปกติแล้ว

 

พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 8 (สัปดาห์ที่ 29 – 32) : เตรียมคลอด

พัฒนาการทารกในครรภ์ในเดือนที่ 8 ร่างกายของทารกจะดูเหมือนทารกแรกเกิด คุณแม่อาจมีการเจ็บท้องเตือน เนื่องจาก มดลูกบีบตัว

  • ทารกเริ่มกลับตัวให้อยู่ในท่าศีรษะลง เพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอด
  • ทารกจะรับรู้ความมืด และสว่างจากการสะท้อนของแสง ผ่านทางผนังหน้าท้องของคุณแม่
  • ทารกเริ่มที่จะเปิดปิดเปลือกตา และเริ่มกะพริบตาถี่ ๆ ได้แล้ว รูม่านตาจะเริ่มขยาย และหรี่ได้แล้วด้วยเช่นกัน
  • ทารกจะมีความยาวประมาณ 40-45 เซนติเมตร และหนักประมาณ 2,000 – 2,500 กรัม

 

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 9 (สัปดาห์ที่ 34 เป็นต้นไป) : ยินดีต้อนรับ

ในเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ทารกจะอยู่ในตำแหน่งที่พร้อมคลอด และคุณแม่ก็พร้อมจะคลอดได้ทุกเมื่อเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว คุณแม่จะคลอดประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ก่อนครบกำหนด (สัปดาห์ที่ 40)

  • ต่อมหมวกไตจะเร่งสร้างฮอร์โมนเพิ่มความสมบูรณ์ของปอด เพื่อเตรียมการหายใจครั้งแรกในชีวิตที่ต้องออกจากครรภ์ของคุณแม่
  • ในลำไส้ของทารกเต็มไปด้วยขี้เทา ซึ่งเกิดจากสารที่หลั่งในระบบทางเดินอาหาร ปะปนกับขนอ่อนและเซลล์ต่าง ๆ ที่หลุดออกตามทางเดินอาหารของทารก
  • ผิวหนังของทารกยังคงมีไขสีขาว เพื่อช่วยหล่อลื่นให้ทารกคลอดได้ง่ายขึ้น
  • ทารกมักมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร และหนักประมาณ 2,800 – 3,000 กรัม

 

ทารกในครรภ์

 

ในช่วงตั้งครรภ์ตลอดระยะเวลา 9 เดือน คุณแม่ควรหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์บ่อย ๆ และควรไปตรวจครรภ์ตามกำหนด เพื่อให้แพทย์ได้ติดตามดูพัฒนาการ ทารกในครรภ์ อย่างละเอียด นอกจากนี้ คุณแม่จะต้องสังเกตร่างกายของตัวเองว่ามีสัญญาณจะคลอดลูกหรือไม่ เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อมในการคลอดลูกค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทารกในครรภ์คืออะไร ระยะของตัวอ่อนในครรภ์ มีพัฒนาการอย่างไร?

พัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์ ร่างกายคนท้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

ตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ ที่จะบอกว่าลูกในท้องแข็งแรงดีแค่ไหน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • พัฒนาการ ทารกในครรภ์ ตลอด 9 เดือนที่อุ้มท้อง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว