พฤติกรรมแบบนี้ Do & Don’t บนหนังศีรษะทารก
1. คราบสะเก็ดหนาๆ
คราบสะเก็ดหนา ๆ ที่เห็นบนศีรษะของเจ้าตัวน้อย พบได้ตั้งแต่แรกเกิดเลยค่ะ เป็นคราบไขมันตั้งแต่แรกเกิดที่แห้งกรังอยู่ที่กลางกระหม่อม มีลักษณะเป็นแผ่นหนาออกสีเหลือง ๆ
Do : ควรทำ คราบสะเก็ดสีขาวที่ติดบนหนังศีรษะทารก ให้คุณแม่ใช้น้ำมัน Baby Oil หรือจะใช้น้ำมันมะกอกก็ได้นะคะ ให้ทาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมงขึ้นไป หลังจากนั้นสระผมล้างออกด้วยแชมพูสำหรับเด็ก ไม่ควรใช้แชมพูที่มีตัวยาฆ่าเชื้อหรือสารที่ใช้รักษารังแคที่ผู้ใหญ่ใช้กันนะคะ แต่ถ้าเกิดมีผื่นขึ้นตามตัวด้วยควรไปพบคุณหมอดีที่สุดคะ เพราะอาจเกิดการแพ้หรือการอักเสบของผิวหนังได้
Don’t : ไม่ควรทำ ห้ามใช้เล็บขูดหนังออกนะคะจะทำให้หนังศีรษะเป็นแผล เพราะสะเก็ดเหล่านี้จะค่อย ๆ หลุดไปเองภายใน 1 – 2 สัปดาห์ ที่สำคัญอย่าซื้อยาสเตียรอยด์มาทาผิวหนัง ทารกน้อยยังมีผิวหนังที่บอบบางมากทำให้ดูดซึมยาได้มาก อาจส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้
บทความแนะนำ อุทาหรณ์ ภัยร้ายจากสเตียรอยด์ที่คุณแม่คาดไม่ถึง
2. ติดเชื้อแบคทีเรีย
การติดเชื้อแบคทีเรียอาจเกิดจากใช้ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าขนหนูร่วมกัน นอนหมอนใบเดียวกัน หนังศีรษะที่เป็นตุ่มหนองบริเวณรูขุมขนของเส้นผมหรืออาจเป็นฝี เป็นตุ่มแดงที่อาจเกิดขึ้นตามหลังจากผดผื่นคันได้
Do : ควรทำ คุณแม่ต้องหมั่นอาบน้ำสระผมให้ทารกน้อยบ่อย ๆ โดยเฉพาะในหน้าร้อนเพื่อไม่ให้เกิดผดผื่น หากเป็นฝีหรือหนอง ควรพบคุณหมอ เพราะอาจต้องให้ทานยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาเพื่อรักษาอาการที่เกิดขึ้น
Don’t : ไม่ควรทำ ห้ามแกะ เกา ศีรษะของลูกเด็ดขาดเพราะอาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ผิวหนังได้
บทความแนะนำ อากาศร้อน ระวังโรคผิวหนังจากเชื้อราในเด็ก
3. ผดผื่น
ต่อมเหงื่อของเด็กทารกยังทำงานไม่สมบูรณ์ ทำให้การขับเหงื่อไม่สะดวก ก่อให้เกิดการอุดตันของท่อเหงื่อ ผิวหนังจะเกิดการอักเสบเป็นผื่นแดงเล็ก ๆ ตรงกลางจะมีตุ่มน้ำใส ๆ หรือบางครั้งจะเป็นตุ่มหนองเล็ก ๆ ขึ้นได้
Do : ควรทำ อาบน้ำหรือเช็ดตัวบ่อย ๆ ควรตัดผมให้สั้นและจะได้ไม่อบเหงื่อ
Don’t : ไม่ควรทำ ไม่ควรให้ทารกน้อยอยู่ในที่ร้อนอบอ้าว อึดอัด และไม่ควรใส่เสื้อหรือห่อหุ้มทารกจนหนาเกินไป
4. กลากหรือเชื้อรา
ตามปกติแล้วจะไม่ค่อยพบกลากที่ศีรษะของทารก มักจะพบในเด็กวัยเรียนมากกว่าโดยเฉพาะเด็กผู้ชาย สำหรับเชื้อราอาจจะติดต่อได้จากคนในบ้าน เช่น การใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน หรือการใช้หวีร่วมกัน เป็นต้น
Do : ควรทำ ลักษณะของเชื้อกลากอาจจะมองเห็นไม่ชัดเจนเป็นวงขอบเหมือนเชื้อรา หรืออาจจะมีหย่อมเป็นผมร่วงหรือผมหักมีขุยที่รากผม หรือมีสะเก็ดสีขาว ๆ เมื่อพบเช่นนี้ควรพาไปหาคุณหมอ เพราะหากเป็นกลากจะต้องทานยา ต้องให้คุณหมอตรวจดูก่อนนะคะ เพื่อสั่งยาตามอาการ
Don’t : ไม่ควรทำ ไม่ควรใช้ของปะปนกัน โดยเฉพาะเด็กทารก ผ้าเช็ดตัวหรือของใช้ของทารกไม่ควรปะปนกับผู้อื่นหรือแม้แต่พี่ของทารกน้อยเอง ผิวเด็กบอบบางมากอาจทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
เรื่องน่ารู้
ทารกอายุ 3-4 เดือน อาจจะมีอาการผมร่วงแต่จะแตกต่างจากเด็กแรกเกิด คือ เส้นผมบริเวณศีรษะด้านหลังจะร่วงหายเป็นแถบกว้าง ๆ โดยไม่มีสะเก็ดหรือขุยผมร่วง เกิดจากการเสียดสีกับที่นอนระหว่างที่ทารกน้อยนอนหรือส่ายศีรษะไปมาเพื่อมองตามสิ่งที่ตนเองสนใจ
ได้ทราบกันแล้วนะคะสำหรับปัญหาเกี่ยวกับหนังศีรษะของทารกน้อย ว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้นสิ่งใดควรทำและสิ่งใดทำไม่ได้เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ปัญหาอะไรก็ตามเมื่อคุณพ่อคุณแม่ทราบสาเหตุแล้ว ก็จะสามารถแก้ไขได้อย่างถูกจุดถูกวิธีแล้วนะคะ
ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.healthandtrend.com
https://baby.kapook.com
เครดิตภาพจาก https://en.wikipedia.org
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อากาศร้อน ระวังโรคผิวหนังจากเชื้อราในเด็ก
สิวในทารกแรกเกิดใช่โรคผิวหนังหรือเปล่า?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!