กระหม่อมคืออะไร?
กระหม่อมของ ของทารก
กระหม่อมเด็ก (fontanels) เป็นส่วนของกระดูกกะโหลกศีรษะที่ควรจะมาประกบกัน ยังไม่เชื่อมปิดกันสนิท จึงคลำได้เป็นช่องว่าง ที่คลำได้นิ่มๆบนศีรษะของเด็กตั้งแต่แรกเกิด ประกอบด้วยกระหม่อมหน้า และหลัง กระหม่อมหน้าคลำได้เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขนาดกว้างประมาณ 3-4 ซม. ส่วนกระหม่อมหลังจะคลำได้เป็นรูปสามเหลี่ยม ขนาดกว้างประมาณ 1-2 ซม. โดยทั่วไปกระหม่อมหลังจะปิดก่อน ที่อายุไม่เกิน 6 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน ส่วนกระหม่อมหน้าจะปิดที่อายุ 12 ถึง 18 เดือน
กระหม่อมข องของทารก
กระหม่อมปิดช้าหรือเร็วเกิดจากสาเหตุใด?
มีภาวะหรือโรคบางอย่างที่ทำให้เด็กมีการปิดของกระหม่อมช้าหรือเร็วกว่าปกติได้ ยกตัวอย่างดังนี้
กระหม่อมของข องทารก
- กระหม่อมปิดช้ากว่าปกติ พบได้ในเด็กที่เป็นโรค ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติแต่กำเนิด โรคหัวบาตร มีน้ำในสมอง โรคกระดูกอ่อน ซึ่งเด็กก็มักจะมีอาการผิดปกติต่างๆร่วมด้วยตามโรคที่เป็นสาเหตุ
- ส่วนกระหม่อมปิดเร็วกว่าปกติ พบได้ในเด็กที่มีภาวะกระดูกกะโหลกศีรษะเชื่อมต่อกันเร็ว (craniosynostosis) ซึ่งทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตของสมองได้ไม่เต็มที่ จึงมีศีรษะเล็กและพัฒนาการช้า
โดยทั่วไปหากเด็กมีกระหม่อมปิดช้ากว่าปกติเพียงไม่กี่เดือน และมีพัฒนาการปกติดี คุณหมอไม่คิดถึงโรคหรือภาวะผิดปกติใดๆ ก็อาจจะนัดมาตรวจติดตามอาการเป็นระยะ แต่หากคิดถึงความผิดปกติจากสาเหตุดังที่กล่าวมาแล้ว คุณหมอก็จะหาสาเหตุและรีบทำการรักษาค่ะ
หากคลำได้กระหม่อมบุ๋มหรือนูนมากกว่าปกติเกิดจากสาเหตุใดบ้าง?
หากคุณพ่อคุณแม่คลำได้กระหม่อมของลูกบุ๋มลงกว่าปกติ ร่วมกับมีอาการซึมลง ตาลึกโหล หลังจากที่มีอาการท้องเสีย อาเจียน เสียน้ำในร่างกายไปมาก แสดงว่าลูกมีการขาดน้ำ จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยสารน้ำโดยคุณหมอโดยเร็ว และหากคุณพ่อคุณแม่คลำได้กระหม่อมของลูกนูนขึ้นกว่าปกติ คลำแล้วไม่ได้ลักษณะเต้นตุ๊บๆตามชีพจร ร่วมกับมีอาการไข้ ซึมลง อาจเกิดจากการติดเชื้อในระบบประสาทหรือเลือดออกในสมองซึ่งต้องรีบไปรักษาโดยด่วน
กระหม่อมของขอ งทารก
ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีกระหม่อมปิดช้าหรือเร็วกว่าปกติ หรือคลำได้ลักษณะกระหม่อมบุ๋มหรือนูนมากกว่าปกติก็ควรไปพบคุณหมอนะคะ
ขอบคุณรูปภาพประกอบ จากคุณ Jiraporn Fon Kainoonsing(Fonlin Eiei )
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ: พ่อแม่ต้องรู้อะไรบ้าง เกี่ยวกับกระหม่อมบางๆ ของลูก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!