X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ป้องกันภาวะความผิดปกติแต่กำเนิดของทารก แม่ต้องรู้เท่าทัน! จะได้ไม่เสียใจทีหลัง

บทความ 5 นาที
ป้องกันภาวะความผิดปกติแต่กำเนิดของทารก แม่ต้องรู้เท่าทัน! จะได้ไม่เสียใจทีหลัง

คุณแม่ตั้งครรภ์ หลายท่าน มีความวิตกกังวล ว่าลูกน้อยในครรภ์ จะมีความผิดปกติ หรือ ไม่ และเราจะสามารถป้องกันได้อย่างไร

ป้องกันภาวะความผิดปกติแต่กำเนิดของทารก

ในความเป็นจริงแล้ว สาเหตุของความผิดปกติแต่กำเนิดของทารก อาจมีหลากหลายสาเหตุประกอบกัน ทั้งที่ป้องกันได้และป้องกันไม่ได้ ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักเพื่อจะได้รู้ทันและ ป้องกันภาวะความผิดปกติแต่กำเนิดของทารก

 

สาเหตุของภาวะความผิดปกติแต่กำเนิดของทารกที่พบบ่อยและป้องกันได้

 

ความผิดปกติที่เกิดจากการได้รับยาบางชนิด ยกตัวอย่างเช่น

  • ยาที่ใช้รักษาสิวกลุ่ม retinoic acid หรือ กรดวิตามินเอ

มีชื่อทางการค้าต่างๆ เช่น Roaccutane, Acnotin, Isotane ผู้ที่ใช้ยานี้ต้องหยุดยาล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน ถึง 1 ปี ก่อน จึงจะตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย หากคุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานยาชนิดนี้จะทำให้เกิดภาวะผิดปกติแต่กำเนิดหลายอย่างของทารก ที่สำคัญคือความผิดปกติของหัวใจ ระบบประสาท มีความบกพร่องทางสมอง มีรูปร่างหน้าผิดปกติ เพดานปากโหว่ได้

  • ยา thalidomide

ซึ่งเคยเป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในคุณแม่ตั้งครรภ์ในอดีต เพื่อลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นยาที่สามารถทำให้ทารกพิการสูง โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยเกิดภาวะที่มีการขาดหายไปของกระดูก แขน ขา มีความผิดปกติของหัวใจ และระบบทางเดินอาหารได้อีกด้วย

การป้องกัน : คุณแม่ตั้งครรภไ์ม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ก่อนรับประทานยาทุกชนิดควรปรึกษาคุณหมอ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอนะคะ

 

ความผิดปกติที่เกิดจากมารดาดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือสารเสพติดชนิดอื่น ๆ ระหว่างตั้งครรภ์

  • แอลกอฮอล์

ที่ผสมอยู่ในเหล้า เบียร์ นั้นเป็นสารที่มีทำให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้อย่างรุนแรง ทำให้เกิดความผิดปกติของใบหน้า ความผิดปกติของการเจริญเติบโต ก่อนหรือหลังคลอด ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ศีรษะทารกเล็กกว่าปกติ พัฒนาการและความจำผิดปกติ และยังทำให้เกิดความผิดปกติได้หลายระบบร่างกาย ทั้ง หัวใจ ตา หู กระดูกและข้อ และระบบทางเดินปัสสาวะ

  • บุหรี่

บุหรี่ ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่ทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด เลือดผ่านรกลดลง ทารกจึงได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ ขาดสารอาหารตั้งแต่ในครรภ์ น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขัดขวางการพัฒนาของเซลล์ประสาทของทารก ทำให้มีเชาวน์ปัญญาบกพร่อง มีปัญหาการเรียน มีพฤติกรรมก้าวร้าว และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหืด ได้

  • แอมเฟตามีนและอนุพันธ์
Advertisement

เช่น ยาไอซ์ ยาอี จะส่งผลให้ทารกในครรภ์มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด เสี่ยงต่อภาวะสมองตาย หรือ เลือดออกในสมอง เซลล์ประสาทถูกทำลาย เส้นรอบศีรษะมีขนาดเล็ก มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย และมีปัญหาพฤติกรรมเมื่อโตขึ้น

การป้องกัน : คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องหลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดทุกชนิด ทั้งโดยตรงและสัมผัสจากคนใกล้ชิด เช่น คนที่สูบบุหรี่ เพราะเราอาจจะรับควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกายได้ เช่นกันค่ะ

 

ความผิดปกติที่เกิดจากมารดาขาดสารอาหารที่จำเป็นบางชนิด

โฟเลต เป็นสารอาหารที่มีหน้าที่สำคัญในการสร้างเซลล์ต้นกำเนิดของทารกตั้งแต่ช่วงเริ่มปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อน มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างระบบประสาทและอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย หากมี “ภาวะขาดโฟเลตตั้งแต่ในครรภ์” จะทำใหเ้กิดความผิดปกติของการปิดของท่อระบบประสาท (neural tube defect) ของทารก และมีความผิดปกติของระบบประสาทร่วมด้วย เช่น ความผิดปกติของการควบคุมระบบทางเดินปัสสาวะ และอาจมีหัวใจพิการแต่กำเนิด มีความผิดปกติของแขน ขา ได้อีกด้วย

การป้องกัน : คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานโฟเลต ขนาด 0.4 มิลลิกรัม หรือวันละ 1 เม็ด อย่างน้อย 1 ถึง 2 เดือนก่อนการตั้งครรภ์และควรรับประทานโฟเลตไปถึงช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีโฟเลตสูง เช่น ผลไม้สด และ ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า ผักโขม ผักกาดหอม ไข่แดง ตับ

 

ความผิดปกติที่เกิดจากมารดาติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์

หากคุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อโรคบางชนิด โดยเฉพาะในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจทำให้ทารกเกิดภาวะพิการแต่กำเนิดในหลายระบบอวัยวะได้ เช่น เชื้อไวรัส หัดเยอรมัน โดยทารก มีโอกาสที่จะเกิดตาเป็นต้อกระจกหรือต้อหิน มีภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด หูหนวก ตับ ม้ามโต ตัวเล็กกว่าปกติ และมีความผิดปกติทางสมอง อีกด้วย

การป้องกัน : คุณแม่ที่วางแผนจะตั้งครรภ์และยังไม่เคยเป็นหัดเยอรมันควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน โดยฉีดไว้อย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ ตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันของโรคนี้ ก่อนการตั้งครรภ์ และขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงให้ห่างจากผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นหัดเยอรมัน

 

กล่าวโดยสรุป คุณแม่ตั้งครรภ์จะสามารถป้องกัน ภาวะความผิดปกติแต่กำเนิดของทารกได้โดยไ์ม่ซื้อยามารับประทานเอง หลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดทุกชนิด รับประทานโฟเลตและอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เป็นประจำ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์ นอกจากนั้น ก็ควรไปพบสูติแพทย์เพื่อฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติตามคำแนะนำของสูติแพทย์อย่างเคร่งครัดนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ เตรียมพร้อมรับเจ้าตัวน้อย

4 ท่าโยคะสำหรับคนท้อง ช่วยเสริมทารกกลับหัว ให้อยู่ในท่าเตรียมคลอด

สัญญาณอันตรายใกล้คลอด โค้งสุดท้ายก่อนเป็นแม่คน

 

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ป้องกันภาวะความผิดปกติแต่กำเนิดของทารก แม่ต้องรู้เท่าทัน! จะได้ไม่เสียใจทีหลัง
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว