X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สัญญาณอันตรายใกล้คลอด โค้งสุดท้ายก่อนเป็นแม่คน

บทความ 3 นาที
สัญญาณอันตรายใกล้คลอด โค้งสุดท้ายก่อนเป็นแม่คน

ช่วงเวลาที่ตื่นเต้นและน่ากลัวที่สุดสำหรับแม่ท้อง คงหนีไม่พ้นช่วงเวลาใกล้คลอด สัญญาณอันตรายใกล้คลอด ที่แม่ท้องควรรู้มีอะไรบ้าง ไปติดตามพร้อมกัน

สัญญาณอันตรายใกล้คลอด

ช่วงโค้งสุดท้ายมี สัญญาณอันตรายใกล้คลอด อะไรที่คุณแม่ต้องระวังบ้างนะ

สัญญาณอันตรายใกล้คลอด

#เจ็บท้อง

คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะรู้สึกว่ามดลูกบีบตัวหรือหดตัวเป็นระยะๆ ในช่วงหลังจากเดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์ ยิ่งใกล้คลอดเท่าไหร่ การหดตัวของมดลูกก็จะถี่และรุนแรงขึ้น อาการแบบนี้อาจทำให้คุณแม่มือใหม่หลายท่านสับสน และอาจจะนึกว่าเป็นการเจ็บท้องคลอดจริงๆ การเจ็บท้องเตือนหรือเจ็บท้องหลอกนั้นเป็นสัญญาณว่า ขณะนี้มดลูกเตรียมพร้อมที่จะมีการคลอด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะคลอดวันนี้พรุ่งนี้ แม่ท้องบางท่านอาจจะต้องรออีกนานเป็นเดือนเลยก็มี เรามาดูกันว่าอาการแบบไหนคืออาการเจ็บท้องจริง หรืออาการเจ็บท้องหลอกกันแน่เพื่อจะได้เตรียมตัวไปโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง

อาการเจ็บท้องหลอก หรือเจ็บท้องเตือน

  • ปวดท้องมากบ้างน้อยบ้าง เดี๋ยวถี่เดี๋ยวห่าง ไม่สม่ำเสมอ แม่ท้องบางท่านก็ปวดติดๆ กันหลายครั้งแล้วก็หายปวด
  • อาการจะดีขึ้นหากได้นอนพัก หรือเปลี่ยนท่าทาง
  • ความเจ็บปวดจะคล้ายๆ กับการปวดประจำเดือน
Advertisement
  • ไม่มีเลือดหรือมูกเลือดปนออกมาจากช่องคลอด
  • มักมีอาการเจ็บบริเวณท้องน้อย

อาการเจ็บท้องจริง

  • มีอาการปวดอย่างสม่ำเสมอ และปวดถี่ขึ้นเรื่องๆ
  • ท้องแข็งตึง
  • แม่ท้องจะรู้สึกเริ่มเจ็บบริเวณส่วนบนของมดลูกก่อนแล้วจึงเจ็บร้าวลามไปที่หลัง
  • หากเดินหรือเคลื่อนไหวจะมีอาการเจ็บมากขึ้น
  • อาจมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอดร่วมด้วย

หากคุณแม่ท้องมีอาการเจ็บทุกๆ 10 นาที ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อเข้าพบคุณหมอทันทีนะครับ

สัญญาณอันตรายใกล้คลอด

#มีมูกไหลออกมาทางช่องคลอด

มูกที่ว่านี่จะมีลักษณะเหนียวข้น มีสีขาว และมักจะหลุดออกมาในช่วงราวๆ 1 – 2 สัปดาห์ก่อนที่จะมีการคลอด เมื่อเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการคลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดและบางลง และเปิดตัวขยายมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด และอาจทำให้เส้นเลือดบริเวณปากมดลูกฉีกขาด ดังนั้นหากแม่ท้องมีมูกเลือดหลุดผสมออกมาก็ควรไปพบคุณหมอทันทีนะครับ เพราะนั่นเป็นสัญญาณที่แสดงว่าใกล้คลอดแล้ว

#ท้องเสีย

อาการท้องเสีย ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกให้รู้ว่าใกล้ที่จะคลอดแล้ว และเมื่อใกล้คลอด ร่างกายจะปล่อยสารโพรสตาแกลนดิน ซึ่งจะทำให้มดลูกหดตัว และหากแม่ท้องมีอาการท้องเสีย ก็จะทำให้ร่างกายแม่ท้องเกิดภาวะขาดน้ำ หากมีอาการท้องเสียมาก ก็จะทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็ว เสี่ยงที่จะทำให้เกิดการบีบตัวของมดลูก อันนำไปสู่การคลอดได้

สัญญาณอันตรายใกล้คลอด มีอะไรอีกบ้าง ติดตามต่อหน้าถัดไป>> 

#ท้องลด

ในช่วงตั้งครรภ์นั้นมดลูกของแม่ท้องจะขยายขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ 20 สัปดาห์ จะสามารถคลำยอดมดลูกได้ที่ระดับสะดือ พอตั้งท้องไปได้ประมาณ 32 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะอยู่ในระดับกึ่งกลางสะดือกับกระดูกลิ้นปี่ จนแม่ท้องมีอายุครรภ์ได้ประมาณ 36 สัปดาห์ ยอดมดลูกก็จะถึงลิ้นปี่ อาการเหล่านี้เป็นลักษณะของการท้องลด

สำหรับคุณแม่ท้องแรกนั้น หลังจากตั้งครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ไปแล้ว ท้องอาจมีขนาดเล็กลง เพราะทารกเริ่มเคลื่อนต่ำลงไปในช่องเชิงกราน เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้ ส่วนแม่ท้องที่เคยตั้งครรภ์มาแล้วก็อาจจะมีอาการท้องลดช้ากว่าในท้องแรก อาการท้องลดอาจเกิดขึ้นไม่กี่สัปดาห์ก่อนคลอด หรือไม่กี่ชั่วโมงก่อนคลอด หรือในคุณแม่บางคนจวบจนใกล้คลอดแล้วท้องยังไม่ลดเลยก็มี

สัญญาณอันตรายใกล้คลอด

#ลูกดิ้นน้อยลง

สาเหตุที่ทำให้แม่ท้องบางคนรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง เกิดจากการที่ทารกตัวโตขึ้น แต่กลับต้องอยู่ในโพรงมดลูกที่ดูเหมือนจะคับแคบลงจนทำให้ทารกในครรภ์นั้นเคลื่อนไหวได้ลำบาก ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่า ทารกมีการเจริญเติบโตที่เร็วมากเมื่อเปรียบเทียบกับโพรงมดลูกที่มีการขยายตัวเพียงเล็กน้อย อีกทั้งน้ำคร่ำที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นก็มีปริมาณที่จำกัดนั่นเอง

#ปากมดลูกเปิด

เมื่อปากมดลูกเริ่มเปิด นั่นคือสัญญาณเตือนของคุณแม่ว่าลูกน้อยพร้อมที่จะออกมาลืมตาดูโลกแล้ว โดยปกติปากมดลูกของแม่ท้องจะมีลักษณะกลมหนา ปิดสนิทตลอดเวลาและยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อเข้าสู่ช่วงใกล้คลอด ปากมดลูกของแม่ท้องจะเริ่มบางตัวและอ่อนนุ่มลงจากฮอร์โมนที่สูงขึ้นในตัวของคุณแม่ และจะค่อยๆเปิดกว้างจนถึง 10 เซนติเมตร เพื่อให้ศีรษะของทารกเคลื่อนผ่านได้ระหว่างที่ทำการคลอด

#น้ำเดิน

ภาวะน้ำเดินนั้นส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในช่วงใกล้คลอด แต่บางครั้งก็อาจเกิดขึ้นได้แม้ว่าอายุครรภ์จะยังไม่ถึงกำหนดคลอดก็ตาม โดยเกิดจากการแตกหรือรั่วของถุงน้ำคร่ำ ทำให้มีน้ำคร่ำไหลออกมา

อาการน้ำเดินที่แม่ท้องจะรู้สึกได้คือ มีน้ำใสๆคล้ายน้ำปัสสาวะไหลออกมาทางช่องคลอดในปริมาณมาก แม่ท้องที่มีอาการน้ำเดินมีโอกาสมากถึง 80 % ที่จะคลอดภายใน 12 ชั่วโมง หากแม่ท้องมีอาการเช่นนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุด และควรนอนราบเพื่อไม่ให้น้ำคร่ำไหลออกมามากเกินไป เพราะอาจทำให้น้ำคร่ำในโพรงมดลูกแห้งจนเป็นสาเหตุทำให้ทารกเสียชีวิตได้

สัญญาณอันตรายใกล้คลอด

หากมีสัญญาณดังที่กล่าวมา แม่ท้องควรรีบไปโรงพยาบาลทันที แต่ก่อนหน้านั้นแม่ท้องควรทำใจให้สบายเพื่อที่จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นและรับมือกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น อีกทั้งเมื่อคุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ลูกในท้องก็จะรู้สึกผ่อนคลายตามไปด้วย ที่สำคัญ คุณแม่ควรเตรียมจัดกระเป๋า หรือเรื่องการเดินทางไปโรงพยาบาลให้พร้อม เพื่อจะได้ไม่ฉุกละหุกนะครับ


ที่มา momjunction.com, phyathai.com, whattoexpect.com

parenttown

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • สัญญาณอันตรายใกล้คลอด โค้งสุดท้ายก่อนเป็นแม่คน
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว