ป้องกันภาวะความผิดปกติแต่กำเนิดของทารก
ในความเป็นจริงแล้ว สาเหตุของความผิดปกติแต่กำเนิดของทารก อาจมีหลากหลายสาเหตุประกอบกัน ทั้งที่ป้องกันได้และป้องกันไม่ได้ ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักเพื่อจะได้รู้ทันและ ป้องกันภาวะความผิดปกติแต่กำเนิดของทารก
สาเหตุของภาวะความผิดปกติแต่กำเนิดของทารกที่พบบ่อยและป้องกันได้
ความผิดปกติที่เกิดจากการได้รับยาบางชนิด ยกตัวอย่างเช่น
- ยาที่ใช้รักษาสิวกลุ่ม retinoic acid หรือ กรดวิตามินเอ
มีชื่อทางการค้าต่างๆ เช่น Roaccutane, Acnotin, Isotane ผู้ที่ใช้ยานี้ต้องหยุดยาล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน ถึง 1 ปี ก่อน จึงจะตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย หากคุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานยาชนิดนี้จะทำให้เกิดภาวะผิดปกติแต่กำเนิดหลายอย่างของทารก ที่สำคัญคือความผิดปกติของหัวใจ ระบบประสาท มีความบกพร่องทางสมอง มีรูปร่างหน้าผิดปกติ เพดานปากโหว่ได้
ซึ่งเคยเป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในคุณแม่ตั้งครรภ์ในอดีต เพื่อลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นยาที่สามารถทำให้ทารกพิการสูง โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยเกิดภาวะที่มีการขาดหายไปของกระดูก แขน ขา มีความผิดปกติของหัวใจ และระบบทางเดินอาหารได้อีกด้วย
การป้องกัน : คุณแม่ตั้งครรภไ์ม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ก่อนรับประทานยาทุกชนิดควรปรึกษาคุณหมอ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอนะคะ
ความผิดปกติที่เกิดจากมารดาดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือสารเสพติดชนิดอื่น ๆ ระหว่างตั้งครรภ์
ที่ผสมอยู่ในเหล้า เบียร์ นั้นเป็นสารที่มีทำให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้อย่างรุนแรง ทำให้เกิดความผิดปกติของใบหน้า ความผิดปกติของการเจริญเติบโต ก่อนหรือหลังคลอด ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ศีรษะทารกเล็กกว่าปกติ พัฒนาการและความจำผิดปกติ และยังทำให้เกิดความผิดปกติได้หลายระบบร่างกาย ทั้ง หัวใจ ตา หู กระดูกและข้อ และระบบทางเดินปัสสาวะ
บุหรี่ ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่ทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด เลือดผ่านรกลดลง ทารกจึงได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ ขาดสารอาหารตั้งแต่ในครรภ์ น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขัดขวางการพัฒนาของเซลล์ประสาทของทารก ทำให้มีเชาวน์ปัญญาบกพร่อง มีปัญหาการเรียน มีพฤติกรรมก้าวร้าว และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหืด ได้
เช่น ยาไอซ์ ยาอี จะส่งผลให้ทารกในครรภ์มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด เสี่ยงต่อภาวะสมองตาย หรือ เลือดออกในสมอง เซลล์ประสาทถูกทำลาย เส้นรอบศีรษะมีขนาดเล็ก มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย และมีปัญหาพฤติกรรมเมื่อโตขึ้น
การป้องกัน : คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องหลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดทุกชนิด ทั้งโดยตรงและสัมผัสจากคนใกล้ชิด เช่น คนที่สูบบุหรี่ เพราะเราอาจจะรับควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกายได้ เช่นกันค่ะ
ความผิดปกติที่เกิดจากมารดาขาดสารอาหารที่จำเป็นบางชนิด
โฟเลต เป็นสารอาหารที่มีหน้าที่สำคัญในการสร้างเซลล์ต้นกำเนิดของทารกตั้งแต่ช่วงเริ่มปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อน มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างระบบประสาทและอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย หากมี “ภาวะขาดโฟเลตตั้งแต่ในครรภ์” จะทำใหเ้กิดความผิดปกติของการปิดของท่อระบบประสาท (neural tube defect) ของทารก และมีความผิดปกติของระบบประสาทร่วมด้วย เช่น ความผิดปกติของการควบคุมระบบทางเดินปัสสาวะ และอาจมีหัวใจพิการแต่กำเนิด มีความผิดปกติของแขน ขา ได้อีกด้วย
การป้องกัน : คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานโฟเลต ขนาด 0.4 มิลลิกรัม หรือวันละ 1 เม็ด อย่างน้อย 1 ถึง 2 เดือนก่อนการตั้งครรภ์และควรรับประทานโฟเลตไปถึงช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีโฟเลตสูง เช่น ผลไม้สด และ ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า ผักโขม ผักกาดหอม ไข่แดง ตับ
ความผิดปกติที่เกิดจากมารดาติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์
หากคุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อโรคบางชนิด โดยเฉพาะในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจทำให้ทารกเกิดภาวะพิการแต่กำเนิดในหลายระบบอวัยวะได้ เช่น เชื้อไวรัส หัดเยอรมัน โดยทารก มีโอกาสที่จะเกิดตาเป็นต้อกระจกหรือต้อหิน มีภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด หูหนวก ตับ ม้ามโต ตัวเล็กกว่าปกติ และมีความผิดปกติทางสมอง อีกด้วย
การป้องกัน : คุณแม่ที่วางแผนจะตั้งครรภ์และยังไม่เคยเป็นหัดเยอรมันควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน โดยฉีดไว้อย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ ตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันของโรคนี้ ก่อนการตั้งครรภ์ และขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงให้ห่างจากผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นหัดเยอรมัน
กล่าวโดยสรุป คุณแม่ตั้งครรภ์จะสามารถป้องกัน ภาวะความผิดปกติแต่กำเนิดของทารกได้โดยไ์ม่ซื้อยามารับประทานเอง หลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดทุกชนิด รับประทานโฟเลตและอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เป็นประจำ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์ นอกจากนั้น ก็ควรไปพบสูติแพทย์เพื่อฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติตามคำแนะนำของสูติแพทย์อย่างเคร่งครัดนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ เตรียมพร้อมรับเจ้าตัวน้อย
4 ท่าโยคะสำหรับคนท้อง ช่วยเสริมทารกกลับหัว ให้อยู่ในท่าเตรียมคลอด
สัญญาณอันตรายใกล้คลอด โค้งสุดท้ายก่อนเป็นแม่คน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!