X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ผ่าคลอดเป็นยังไง แชร์ประสบการณ์ผ่าคลอด ละเอียดยิบ!!

บทความ 3 นาที
ผ่าคลอดเป็นยังไง แชร์ประสบการณ์ผ่าคลอด ละเอียดยิบ!!

ผ่าคลอดเป็นยังไง ประสบการณ์ผ่าคลอดนี้ จะทำให้คุณแม่ที่เตรียมตัวผ่าคลอด รู้ว่าจะต้องเผชิญอะไรบ้าง ควรเตรียมตัวอย่างไร และอาการหลังการผ่าคลอดต้องดูแลอย่างไร

ประสบการณ์ผ่าคลอด ผ่าคลอดเป็นยังไง เรื่องที่ตัวดิฉันเองก็ยังไม่เคยเจอ ทั้ง ๆ ที่เตรียมใจคลอดโดยวิธีธรรมชาติ และก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่าไม่สามารถคลอดเองได้…

 

ผ่าคลอดเป็นยังไง แม่ขอแชร์ ประสบการณ์ผ่าคลอด อย่างละเอียด!!

 

ตลอดที่ได้รับการดูแลจากคุณหมอช่วงฝากท้อง 9 เดือน คุณหมอบอกว่าร่างกายสมบูรณ์ปกติดี แต่เด็กดูตัวใหญ่อาจจะคลอดลูกลำบากนิดนึง ดิฉันเลยเตรียมใจเบ่งคลอดลูกเต็มที่ ชนิดที่ว่าถึงไหนถึงกัน แต่พออาทิตย์สุดท้าย คุณหมอถามว่า “คุณแม่ไม่ปวดท้องเลยหรอ ปกติบางรายเขาคลอดไปแล้ว เพราะว่าถึงเวลาที่ควรจะคลอดแล้วนะครับ ปากมดลูกคุณแม่ก็ยังไม่เปิด สงสัยว่าจะต้องใช้การผ่าคลอดนะครับ หรือหากคุณแม่จะรอให้ปวดท้องคลอดเองก็ได้นะครับ แต่ถึงตอนนั้นสุดท้ายแล้วก็อาจจะต้องผ่าคลอดหากเด็กยังไม่สามารถเคลื่อนตัวลงมาสู่ช่องคลอด”

 

 แม่ขอแชร์ประสบการณ์ผ่าคลอด

ผ่าคลอดเป็นยังไง แม่ขอแชร์ประสบการณ์ผ่าคลอด

ผ่าคลอดดีไหม

พอได้ฟังอย่างนี้ดิฉันก็เลยปรึกษาสามีและเลือกที่จะฉีดเร่งคลอดก่อน หากไม่เกิดปฏิกิริยาอะไรก็คงต้องผ่าคลอดจริง ๆ ซะแล้ว ยอมรับว่าเครียดนะคะ เพราะตั้งใจจะคลอดเอง ไม่อยากผ่าคลอด ไม่ใช่ว่ากลัวเจ็บ แต่กังวลไปก่อนแล้ว กลัวว่าร่างกายจะไม่ผลิตน้ำนมให้ลูกเพียงพอ เพราะจำได้ว่าตอนแม่คลอดน้อง แม่ของฉันก็ไม่มีน้ำนมให้น้องเลย

 

ผ่าคลอดเป็นยังไง

 

ระหว่างที่นอนรอให้น้ำเกลือเพื่อเร่งคลอดผ่านไปแล้วครึ่งวัน ทุกอย่างก็ยังเป็นปกติ คุณหมอเลยต้องเร่งน้ำเกลือจาก 80 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง เป็น 90 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง ผ่านไปสักพักก็เริ่มรู้สึกเจ็บเตือน ปวดท้อง คุณหมอเข้ามาตรวจดูว่าปากช่องคลอดเปิดมากขึ้นไหม แต่ท้ายที่สุดก็ไม่มีวี่แววว่าจะคลอดเองได้ สรุปสุดท้ายเลยต้องผ่าคลอด

 

เมื่อถูกเข็นเข้าไปในห้องผ่าตัด พยาบาลเปิดเพลงเพื่อให้ผ่อนคลาย จากนั้นก็เตรียมร่างกายให้พร้อม ใช้วิธีบล๊อกหลังเพื่อให้เรายังรู้สึกตัวและเห็นหน้าลูก เพียงแต่ร่างกายตั้งแต่ช่วงท้องลงไปจะไม่รู้สึกอะไรนอกจากชา ดิฉันมองหาสามีว่าเมื่อไหร่จะเข้ามาสักที เพราะตอนนั้นต้องการเขามากที่สุด อยากให้เห็นหน้าลูกพร้อมกัน

 

ประสบการณ์การผ่าคลอด, แม่, ไทย

ประสบการณ์การผ่าคลอด

 

เมื่อสามีเข้ามาในห้องผ่าตัดทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สามีเล่าให้ฟังว่าพอเข้าไปในห้องผ่าตัดและกุมมือฉันไว้ประมาณ 2 นาที คุณหมอก็กดท้องเหมือนพยายามคว้านหาลูกในท้องแล้วเริ่มเอาหัวเจ้าตัวเล็กโผล่ ขึ้นมาเป็นลำดับแรก จากนั้นก็ใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นโลหะขนาดใหญ่คล้ายช้อนช้อนตัวลูกออกมา ลูกส่งเสียงร้องนิดเดียวเอง จากนั้นพยาบาลก็พาลูกไปทำความสะอาดตัว แล้วพาลูกมาให้เราดู วินาทีแรกที่ได้เห็นหน้าลูก น้ำตามันก็ทะลักออกมาเองเหมือนกับสมองมันสั่งว่านี่แหละผลงานอันน่าทึ่งของเรา

 

นี่ลูกเราออกมาแล้วนะ พยาบาลถามว่า จะหอมแก้มลูกไหม แต่ฉันตอบไปว่าไม่เอาค่ะ ไม่มีแรง กลัวอุ้มลูกตอนนี้จะทำให้ลูกหล่นแล้วลูกเจ็บตัว จากนั้นสามีก็ต้องออกนอกห้องผ่าตัด ส่วนลูกก็ไปอยู่ในตู้ปรับอุณหภูมิเพื่อดูว่าตัวเหลืองไหม ส่วนดิฉัน วิสัญญีแพทย์มาให้ดมยาสลบและปล่อยให้คุณหมอเย็บแผล จากนั้นก็นอนพักฟื้นไปประมาณ 45 นาทีจนถึงรู้สึกตัวดีขึ้นมาอีกครั้ง

 

หลังผ่าคลอดอยู่ในโรงพยาบาลคุณหมอดูแลอย่างไร

 

แม่ขอแชร์ประสบการณ์ผ่าคลอด

แม่ ขอ แชร์ ประสบ การณ์ผ่าคลอด

 

  1. มีการวัดความดันและอุณหภูมิของร่างกายทุกชั่วโมงตลอดคืนแรก และมีการให้ยาผ่านทางสายน้ำเกลือ เรียกว่าคืนแรกแทบจะไม่ได้นอนเลยค่ะ เพราะเจ้าหน้าที่จะเข้าออกห้องพักตลอดทั้งคืน
  2. มีการสังเกตปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด และดูปริมาณปัสสาวะ พอผ่านไปสัก 9 ชั่วโมงถึงจะเอาสายส่วนปัสสาวะออก ดังนั้นช่วงเข้าห้องน้ำแรก ๆ จะเจ็บขัดเวลาปัสสาวะ ดิฉันใช้เวลาประมาณ 15 นาทีกว่าจะปัสสาวะเสร็จ เพราะมัวแต่ลุก ๆ นั่ง ๆ ไม่กล้าปัสสาวะเพราะเจ็บ ท้ายที่สุดต้องยอมทนเจ็บ น้ำตาแทบร่วงเลยค่ะ
  3. ต้องพยายามขยับร่างกายให้บ่อย โดยฉวยโอกาสระหว่างช่วงที่ขาหายชาแล้ว แต่ฤทธิ์ยาแก้ปวดยังมีต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ให้ขยับตัวบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการก่อตัวของพังผืดบริเวณแผล
  4. พอถอดสายน้ำเกลือแล้วพยายามลุกเดิน ช่วงแรก ๆ อาจจะมีอาการหน้ามืดได้หรือยังมีฤทธิ์ยาอยู่บ้าง ดังนั้น ค่อยลุกนั่งก่อนสักพักแล้วค่อย ๆ ลุกเดินนะคะ นอกจากนี้ควรมีคนอื่นหรือพยาบาลช่วยประคองเผื่อหน้ามืดจะได้ไม่เป็นอะไร
  5. ใช้ผ้ารัดหน้าท้อง เพื่อช่วยให้การขยับเขยื้อนตัวเป็นไปได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้มดลูกไม่ลอยด้วย
  6. รับประทานอาหารอ่อน ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องอืด เพราะก่อนผ่าคลอดเราต้องงดน้ำ งดอาหาร ร่างกายของเราจึงต้องค่อย ๆ ปรับสภาพหลังจากหยุดพักระบบย่อยมา 1 วันเต็ม ๆ ไม่อย่างนั้นนอกจากจะเจ็บแผลแล้วยังมีอาการท้องอืด จุกเสียดยอดอกเพิ่มด้วย คงจะทรมานน่าดู อาหารมื้อแรกที่ทางโรงพยาบาลจัดให้ดิฉันคือ น้ำข้าวต้มและน้ำขิง
  7. อาบน้ำได้ตามปกตินะคะ สมัยก่อนเวลาผ่าคลอดแล้วไม่สามารถอาบน้ำได้ แต่ปัจจุบันนี้คุณหมอเย็บไหมละลาย และใช้พลาสเตอร์กันน้ำปิดแผลให้เพียงแต่ เวลาอาบน้ำไม่ต้องเน้นถูสบู่และทาครีมบริเวณที่ปิดแผลเท่านั้นเองค่ะ

 

นอกจากคุณหมอจะดูแลที่โรงพยาบาลแล้ว หลังกลับบ้านคุณแม่ก็ควรดูแลเพิ่มเติม อาจจะมีเจ็บแผลบ้างอย่างเวลาไอ จาม หรือเดินในช่วงแรก ๆ ยังไงก็ต้องอดทนแล้วก็พยายามดูแลแผลผ่าคลอดให้กระเทือนน้อยที่สุด ต่อจากนี้คุณแม่ท่านไหนที่กำลังเตรียมตัวผ่าคลอดคงจะได้เตรียมตัวกันถูกนะคะ

 

 

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

สาวชาวม้ง วัย 17 คลอด ลูกชายแฝด 3 แม่ไม่มีน้ำนม เด็กต้องกินนมผง ขอรับบริจาคช่วยเหลือเรื่องนม

อาหารแม่หลังผ่าคลอด สารอาหารแบบไหนที่แม่หลังผ่าคลอดควรได้รับ?

10 เมนูอาหารคุณแม่หลังผ่าคลอด หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง อะไรควรหลีกเลี่ยง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

จุฑาทิพ ดันน์

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • ผ่าคลอดเป็นยังไง แชร์ประสบการณ์ผ่าคลอด ละเอียดยิบ!!
แชร์ :
  • เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด เจ็บท้องแบบไหน ควรรีบไปโรงพยาบาล?

    เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด เจ็บท้องแบบไหน ควรรีบไปโรงพยาบาล?

  • 8 เทคนิคให้นมลูกแบบถนอมทรง แม่ให้นมหน้าอกยังสวย กระชับ ไม่หย่อนยาน

    8 เทคนิคให้นมลูกแบบถนอมทรง แม่ให้นมหน้าอกยังสวย กระชับ ไม่หย่อนยาน

  • ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

    ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

  • เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด เจ็บท้องแบบไหน ควรรีบไปโรงพยาบาล?

    เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด เจ็บท้องแบบไหน ควรรีบไปโรงพยาบาล?

  • 8 เทคนิคให้นมลูกแบบถนอมทรง แม่ให้นมหน้าอกยังสวย กระชับ ไม่หย่อนยาน

    8 เทคนิคให้นมลูกแบบถนอมทรง แม่ให้นมหน้าอกยังสวย กระชับ ไม่หย่อนยาน

  • ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

    ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว