X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำคาวปลามีกลิ่น ผิดปกติไหม น้ำคาวปลากี่วันหมด จำเป็นต้องกินยาขับหรือเปล่า

บทความ 5 นาที
น้ำคาวปลามีกลิ่น ผิดปกติไหม น้ำคาวปลากี่วันหมด จำเป็นต้องกินยาขับหรือเปล่า

น้ำคาวปลามีกลิ่น น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าน้ำคาวปลาคืออะไร ซึ่งน้ำคาวปลา  (Lochia) คือ อาการเลือดออกหลังจากที่คลอดลูก ไม่ว่าคุณแม่จะคลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอดก็ต้องเจอเหมือนกัน โดยน้ำคาวปลานั้นจะออกมาจากช่องคลอดที่เกิดจากรกที่หลุดลอกจากผนังมดลูก แต่ก็สามารถเป็นเลือดจากส่วนที่ฉีกขาดหรือโดนตัดในช่วงที่คุณกำลังทำการคลอดก็ได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกัน น้ำคาวปลามีกลิ่น ที่เกิดจากการอักเสบของช่องคลอด คุณแม่จึงต้องคอยดูแลและสังเกตอาการของตนเองให้ดี

 

น้ำคาวปลามีกลิ่น ทำอย่างไร

น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น โดยปกติแล้วน้ำคาวปลาจะไม่มีกลิ่นเหม็น แต่หากคุณแม่พบว่า น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น เริ่มมีสีแดงขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากที่จางไปแล้ว หรือปนเลือดสด ๆ ออกมา รวมถึงคุณแม่มีไข้สูง ปวดมดลูกผิดปกติ ท้องป่องเนื่องจากมดลูกยังไม่ยอมยุบ แสดงว่าเกิดอาการอักเสบในโพรงมดลูก ซึ่งอาจมีเศษของเยื่อหุ้มรกหรือเศษรกเด็กปกอยู่ ทำให้เกิดการอักเสบในโพรงมดลูก

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไขข้อข้องใจ น้ำคาวปลาหลังคลอด น้ำคาวปลา คืออะไร ที่นี่มีคำตอบ

 

น้ำคาวปลา หลังคลอดมี 3 ระยะ

การสังเกตความผิดปกติของน้ำคาวปลา จะปรากฏอยู่ 3 ระยะ ซึ่งคุณแม่หลังคลอดสามารถสังเกตอาการตัวเองได้ว่าแต่ละระยะเกิดความผิดปกติอย่างไรบ้าง

 

1. น้ำคาวปลาแดง

น้ำคาวปลาระยะนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่วันแรกหลังคลอด จะมีน้ำเมือกเหลว ๆ ไหลออกอยู่ประมาณ 3-5 วัน ซึ่งระยะนี้จะมีสีแดงช้ำ ๆ คล้ำ ๆ เนื่องจากมีเลือด เมือก และเศษรกปนอยู่ คล้าย ๆ กับผู้หญิงมีประจำเดือน

 

2. น้ำคาวปลาเหลืองใส

น้ำคาวปลาจะไหลเรื่อย ๆ ประมาณอาทิตย์กว่า จนถึง 10 วัน โดยระยะนี้ สีของน้ำคาวปลาจะเริ่มจางลง สีเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือชมพูอ่อน ๆ แล้วค่อย ๆ จางกลายเป็นสีเหลืองใส ในช่วงนี้น้ำคาวปลาจะประกอบไปด้วย น้ำเหลือง เมือก เยื่อภายในมดลูกต่าง ๆ รวมถึงเม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาวด้วยค่ะ

 

Advertisement

3. น้ำคาวปลาขาว

ระยะที่ 3 จะยาวนานหลังคลอดประมาณ 6 สัปดาห์หรือ 2 เดือนกว่า ระยะนี้น้ำคาวปลาจะมีสีเหลืองขุ่นจนออกไปทางขาว ออกต่อจากน้ำคาวปลาเหลืองใส ซึ่งจะมีเม็ดเลือดแดงน้อยลง แต่มีเม็ดเลือดขาว ไขมัน เมือก และเซลล์บุผนังช่องคลอดมากขึ้น ออกมาเป็นเศษซากที่เหลือในช่องคลอด แล้วระยะนี้ ปริมาณน้ำคาวปลาจะค่อย ๆ ลดลงจนแห้งสนิท คุณแม่หลังคลอดจำไว้ว่า น้ำคาวปลาจะมีกลิ่นเหมือนประจำเดือนปกติ ซึ่งถ้าหากมีกลิ่นเหม็นก็หมายความว่ามีการติดเชื้อขึ้น

 

วิธีรับมือกับน้ำคาวปลาหลังคลอด น้ำคาวปลามีกลิ่น

ช่วงที่คุณแม่มีเลือดออกหลังคลอด แนะนำให้เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ  2-3 ชั่วโมง ในช่วงวันแรก ๆ และจากนั้นเมื่อเลือดเริ่มน้อยลงในวันต่อ ๆ มา นอกจากนี้ในช่วงที่มีน้ำคาวปลา คุณแม่หลังคลอดควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

 

น้ำคาวปลามีกลิ่น

 

1. รักษาความสะอาดของร่างกาย

คุณแม่อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หมั่นดูแลอวัยวะเพศให้สะอาดอยู่เสมอ ที่สำคัญห้ามฟอกสบู่ หรือใช้น้ำยาล้างช่องคลอดเด็ดขาด

 

2. ดูแลแผลฝีเย็บ

รอยแผลฝีเย็บเป็นส่วนที่ต้องดูแลคู่กับช่องคลอดเพราะมีความบอบบางเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดการติดเชื้อได้ง่ายหากไม่สะอาด

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการเจ็บฝีเย็บ การดูแลแผลฝีเย็บหลังคลอด แผลแห้งไว หายไว

 

3. ใช้ผ้าอนามัยชนิดใหญ่พิเศษ

คุณแม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบกลางคืนและควรเปลี่ยนทุก 3 ชั่วโมง หรือเปลี่ยนทุกครั้งที่ชุ่ม ถ้ามีน้ำคาวปลามาก ๆ ให้ใช้ผ้าอนามัยของผู้ใหญ่ ขนาดใหญ่แบบโรงพยาบาลใช้ เพื่อไม่ให้เกิดการหมักหมม อับชื้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการสะสมเชื้อโรค

 

4. ล้างมือให้สะอาดเสมอ

ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามช่วงหลังคลอดคุณแม่ต้องล้างมือให้สะอาดเสมอเพื่อสุขภาพตัวเองและลูกน้อย โดยเฉพาะก่อนเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกครั้งเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ

 

5. ห้ามใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือถ้วยอนามัย

ควรใช้ผ้าอนามัยแบบผ้าแปะ จนกว่าจะถึงเวลานัดตรวจหลังคลอด 6 สัปดาห์ เพราะช่องคลอดและมดลูกอาจยังไม่ฟื้นตัวไม่ควรสอดใส่สิ่งใด ๆ ลงไปในช่องคลอดค่ะ

 

6. ไม่แช่อ่างน้ำหรือว่ายน้ำ

อย่าแช่น้ำหรืออาบน้ำนานเกินไปเนื่องจากปากมดลูกยังเปิดอยู่ อาจทำให้มีน้ำเข้าไปในโพรงมดลูก ทำให้เกิดการติดเชื้อได้

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)

 

น้ำคาวปลามีกลิ่น

 

7. ควรงดการมีเพศสัมพันธ์

ข้อนี้คุณแม่ต้องตกลงกับคุณพ่อว่าต้องของดมีเพศสัมพันธ์ 3 เดือน เพื่อสุขอนามัยของทั้งคู่ค่ะ

 

8. ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย

ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้ารัดรึง เช่นเสื้อรัดรูปหรือกางเกงรัดรูป เพราะอาจทำให้เกิดการอับชื้นสะสมได้

 

9. หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก

โดยเฉพาะการยกของหนัก คุณแม่อย่าเผลอถือของหนัก ยกของหนัก ก้ม ๆ เงย ๆ บ่อยเกินไป เพราะอาจทำให้มดลูกและช่องคลอดอักเสบ

 

10. เลือกรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

คุณแม่ควรดูแลสุขภาพมาก ๆ ค่ะ รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น ผักใบเขียว ตับหมู ตับไก่ เพื่อบำรุงร่างกายที่มีการเสียเลือดในปริมาณมาก และดื่มน้ำสะอาดพร้อมกับนอนพักผ่อนมากนะคะ

 

น้ำคาวปลามีกลิ่น จำเป็นต้องกินยาขับน้ำคาวปลาไหม

จริง ๆ แล้วการที่น้ำคาวปลาหมดเร็วก็ดี เพราะไม่ทำให้คุณแม่เหนื่อยง่าย แต่การกินยาขับน้ำคาวปลาโดยเฉพาะที่มีแอลกอฮอล์คงไม่ดีแน่ เนื่องจากยาที่คุณแม่กินเข้าไปอาจกลายเป็นน้ำนม เมื่อลูกดื่มนมแม่เข้าไปก็กลายเป็นว่าได้รับยาไปด้วยซึ่งอาจไม่เป็นผลดีต่อลูกน้อยเท่าที่ควร อีกทั้งอาจทำให้คุณแม่มีเลือดออกมากขึ้นจนกลายเป็นตกเลือดหลังคลอด ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ค่ะ

 

อาการตกเลือดหลังคลอดเกิดจากอะไร

ภาวะตกเลือดหลังคลอดมีอยู่ด้วยกัน 2 ระยะ คือ

  • ภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก (Primary postpartum hemorrhage)

โดยอาการนี้สามารถเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงหลังจากคลอดลูก ถ้าใครเป็นช่วงนี้อย่างน้อยก็ปลอดภัยกว่า เพราะยังพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาล ซึ่งเกิดจากรกไม่ได้หลุดออกจากมดลูกอย่างเหมาะสม จากการที่เกิดการบาดเจ็บระหว่างคลอด หรือมดลูกของคุณไม่บีบตัวลงมาเพียงพอภายหลังที่รกออกมาแล้ว

 

  • ภาวะตกเลือดหลังคลอดบุตรระยะหลัง (Secondary postpartum hemorrhage)

เป็นสิ่งที่ห่วงเนื่องจากมันจะแสดงอาการหลังจากที่คุณแม่ออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว โดยจะอยู่ในช่วง 24 ชั่วโมง  – 12 สัปดาห์หลังจากคลอดลูก ซึ่งการตกเลือดแบบนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ

 

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีการติดเชื้อหลังคลอด

  • ปวดท้องช่วงล่างและบริเวณขาหนีบ
  • เลือดที่ไหลออกมามีกลิ่นเหม็น
  • มีไข้และ/หรือรู้สึกหนาวเย็น
  • มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว
  • ปวดศีรษะ

 

เลือดออกแบบไหนอันตรายต้องรีบไปพบแพทย์

  • มีเลือดออกมามากจนต้องเปลี่ยนแผ่นซับมากกว่า 1 แผ่นใน  1 ชั่วโมง
  • เลือดมีสีแดงสดขึ้นเรื่อย ๆ และมีปริมาณมากขึ้นในระยะ 4 วันหรือมากกว่าภายหลังการคลอด แม้ว่าคุณจะพักผ่อนแล้ว
  • มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่หลุดออกมา
  • มีอาการหน้ามืดจะเป็นลม
  • หัวใจเต้นแรง หรือมีอัตราการเต้นที่ผิดปกติ

หากคุณแม่มีอาการเหล่านี้ อย่านิ่งนอนใจให้รีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เนื่องจากอาจเกิดอาการตกเลือดได้ และอาจทำให้คุณแม่เสียเลือดได้มากถึง  500 มล. หรือมากกว่านี้เลยทีเดียว

การเกิดน้ำคาวปลาขึ้น ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงในช่วงหลังคลอดของคุณแม่ทุกคนที่จะต้องพบเจอการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้น ดังนั้น คุณแม่อย่าลืมดูแลตนเองด้วยการรักษาความสะอาดในช่วงเวลาหลังคลอด เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเกิดขึ้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้สำหรับคุณแม่ทุกคนนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

มีตกขาวสีน้ำตาลคล้ำ ใช่น้ำคาวปลาหรือไม่ ? 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้

น้ำคาวปลา หลังคลอดกี่วันถึงจะหมด ทำไมน้ำคาวปลามีหลายสี สีไหนผิดปกติ

ยาสตรีขับน้ำคาวปลาได้ไหม ใช้แทนการอยู่ไฟหลังคลอดได้หรือเปล่า

ที่มา : babycentreamarinbabyandkids

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • น้ำคาวปลามีกลิ่น ผิดปกติไหม น้ำคาวปลากี่วันหมด จำเป็นต้องกินยาขับหรือเปล่า
แชร์ :
  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • 4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

    4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • 4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

    4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว