X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

นอนกับลูกดีอย่างไร พ่อแม่ที่นอนเตียงเดียวกับลูกต้องระวังอะไรบ้าง

บทความ 5 นาที
นอนกับลูกดีอย่างไร พ่อแม่ที่นอนเตียงเดียวกับลูกต้องระวังอะไรบ้าง

พ่อแม่หลายคนเลือกที่จะนอนกับลูกน้อย เพื่อที่จะได้ขับกล่อม และโอบกอดลูกนอนหลับอย่างมีความสุข พ่อแม่ทราบไหมว่า นอนกับลูกก็อาจได้รับความอันตรายได้เช่นกัน วันนี้ theAsianparent จะพาไปดูกันว่า นอนกับลูกดีอย่างไร มีอะไรที่พ่อแม่ควรรู้เกี่ยวกับการนอนของลูกบ้าง ไปติดตามกันค่ะ

 

เด็กแต่ละวัยนอนแตกต่างกันอย่างไร?

การนอนเป็นอาหารสมอง เพราะการนอนจะช่วยทำให้ร่างกายได้พักผ่อน สร้างภูมิต้านทานโรค สดชื่นแจ่มใสอารมณ์ดี คิดอ่านอะไรได้หลักแหลม จดจำสิ่งต่าง ๆ ที่เรียนรู้ไปได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นการนอนเป็นเรื่องสำคัญของคนทุกคน และควรสนับสนุนให้เด็ก ๆ นอนให้เพียงพอ เรามาดูกันว่าเด็กแต่ละวัย นอนแตกต่างกันอย่างไร

  • วัยทารก วัยนี้จะมีภาวะหลับตื่นสลับกันไปตลอดทั้งวัน แต่เมื่ออายุได้ประมาณ 4 เดือนจะเริ่มหลับกลางคืนได้ยาวประมาณ 6 ชั่วโมง และเมื่ออายุ 6 เดือนจะสามารถหลับได้นานถึง 10 ชั่วโมงแต่ก็ยังสามารถตื่นได้ในระหว่างการนอนหลับ ซึ่งทารกบางคนสามารถกลับไปหลับต่อได้ด้วยตัวเอง แต่บางคนต้องการการกล่อมจึงจะหลับต่อได้
  • วัยเรียน วัยนี้ต้องการการนอนประมาณ 9 – 12ชั่วโมง ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจต้องการจำนวนชั่วโมงในการนอนแตกต่างกัน คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตว่าลูกนอนพอหรือไม่ได้จากพฤติกรรมของลูกระหว่างวัน เช่น สามารถปลุกตื่นได้ง่าย ไม่ผล็อยหลับตอนกลางวัน (ถามได้จากคุณครู) และเมื่อเข้านอนสามารถหลับได้ภายใน 15 – 30 นาที
  • วัยรุ่น วัยนี้ต้องการเวลานอน 8 -10 ชั่วโมง แต่ลักษณะการนอนของเด็กวัยนี้จะเปลี่ยนไปจากวัยเรียน  โดยที่วัยรุ่นจะเข้านอนดึกและตื่นสายซึ่งเป็นภาวะปกติเมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น ดังนั้นในช่วงเปิดเทอมที่วัยรุ่นต้องมาโรงเรียนในตอนเช้าจะมีผลทำให้วัยรุ่นนอนไม่พอได้บ่อย และอาจกระทบต่อการเรียนของเขา และวัยรุ่นมักจะมานอนชดเชยในวันหยุด

ทางสถาบัน American Academy of Pediatrics (AAP) ได้ออกมาแนะนำพ่อแม่ที่ต้องการนอนร่วมกับทารกเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้ลูกน้อยมากขึ้น เนื่องจาก เตียงนอนไม่ได้ออกแบบมาให้สำหรับทารก รวมถึงวิธีการลดความเสี่ยงของโรคใหลตาย (SIDS) ด้วย โดยมีวิธีการ ดังนี้

  • ที่นอนของพ่อแม่ต้องมีความแน่น และเรียบแบน
  • บนที่นอนต้องไม่มีร่องหรือซอกระหว่างเตียงนอนกับผนัง หรือซอกบนหัวเตียง
  • ผ้าห่มที่ใช้ควรมีน้ำหนักที่เบา
  • อย่าให้อุณหภูมิภายในห้องร้อนเกินไป ควรเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับอุณหภูมิ
  • ลูกต้องนอนในท่านอนหงาย
  • วัสดุที่นำมากันเตียงควรเป็นผ้าทอบางที่ทารกสามารถหายใจผ่านไปได้
Advertisement

ไม่แนะนำให้ทารกนอนร่วมกับผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นไข้ คนที่หลับลึก และผู้ที่ต้องใช้ยานอนหลับ รวมถึงสัตว์เลี้ยงด้วย ถ้าคุณแม่ลูกคนโตหรือเด็กคนอื่นอยู่ด้วย แนะนำให้คุณแม่นอนระหว่างเด็กเล็กกับเด็กโตจะดีกว่าค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : พ่อแม่นอนห้องเดียวกับลูก ดีไหม พ่อแม่นอนกับลูกหรือแยกห้องนอนกับลูก แบบไหนดีกว่า

 

นอนกับลูกดีอย่างไร

 

ด้านพญ.นนธนวนัณท์ สุนทรา ผอ.สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า สำหรับเด็กอายุเกิน 1 ปี ที่เริ่มยืนได้นั้น เตียงต้องมีราวกันตกที่มีซี่ราวแนวตั้งตรง ห่างกันไม่เกิน 15 เซนติเมตร ราวกันตกจะต้องมีตัวยึดแน่น เด็กไม่สามารถเหนี่ยวให้เคลื่อนไหวได้เอง ไม่อ้า ไม่เผยอ จนเกิดช่องห่างจากเตียงจนลำตัวเด็กลอดตกได้ เบาะที่นอนต้องพอดีกับเตียง และไม่มีช่องว่างระหว่างเบาะกับราวกันตก มุมเสาทั้งมุมต้องเรียบ มีส่วนนูนได้ไม่เกิน 1.5 มิลลิเมตร ผนังเตียงด้านศีรษะและเท้าต้องไม่มีการตัดตกแต่งให้เกิดร่องและรู นอกจากนี้ จากขอบบนของเบาะที่นอนถึงราวกันตกด้านบนต้องมีความสูงไม่ต่ำกว่า 65 เซนติเมตร

ทั้งนี้เด็กที่มีความสูงเกิน 89 เซนติเมตร มีความเสี่ยงปีนราวกันตกและตกจากที่สูงได้ดังนั้นต้องระวัง และหมั่นสังเกตหากพบว่าเด็กแน่นิ่ง ตัวซีดหรือเขียวคล้ำ ให้จับเด็กนอนหงาย พยายามปลุก เรียก สังเกตการหายใจโดยดูการเคลื่อนไหวของหน้าอก หน้าท้อง ถ้าเรียกไม่รู้ตัวลักษณะเหมือนไม่หายใจ ให้กดทรวงอกบริเวณสันอกทันที สลับกับการเป่าปากหรือเป่าจมูก-ปากเด็กในเวลาเดียวกันและรีบตามหน่วยฉุกเฉิน 1669 เพื่อนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว

 

ส่วนท่านอนที่เหมาะสมคือ ท่านอนหงาย ไม่ใช่นอนคว่ำ เพราะอาจอุดกลั้นทางเดินหายใจ หากต้องการให้เด็กหัวทุย ก็จัดท่านอนตะแคงซ้าย และขวาสลับกันไป โดยให้เด็กนอนกอดหมอนข้างเพื่อป้องกันการคว่ำหน้า อย่างไรก็ตามต้องดูช่วงอายุด้วย เพื่อให้เด็กนอนหลับสบายที่สุด โดยเด็กแรกเกิด–4 เดือน ควรนอนตะแคงหรือนอนหงาย เป็นท่าที่เหมาะกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อคอที่ยังไม่ค่อยแข็งแรง ทำได้เพียงหันซ้ายและขวา สามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวและฝึกการมองได้

วัย 5–6 เดือน สามารถนอนคว่ำได้ และเด็กยกคอได้แล้วเพราะกระดูกคอเริ่มแข็ง แต่ยังต้องเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เพราะอาจเกิดการอุดกลั้นการหายใจได้ และวัย 7-12 เดือน สามารถนอนได้ทุกท่าเพราะเด็กพลิกตัวด้วยตนเองได้แล้ว ที่สำคัญพ่อแม่ผู้ปกครองต้องสังเกตตัวเด็กและสภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กอยู่เสมอ เช่น บนที่นอนของเด็กจะต้องไม่มีอะไรที่จะมาปิดหน้าได้ระหว่างที่นอนหลับอยู่ โดยเฉพาะเด็กที่มีนิสัยชอบคว้าสิ่งของรอบตัว

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่นอนกับลูก ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีในอนาคต

 

นอนกับลูกดีอย่างไร

 

สิ่งที่ควรทำในการสอนให้ลูกมีนิสัยการนอนที่ดี

  • สร้างกิจวัตรก่อนนอนให้เป็นเวลาพิเศษที่จะพูดคุยกับลูก เพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย และปลอดภัย
  • ให้ลูกเข้านอน และตื่นนอนตรงเวลา
  • บรรยากาศห้องนอน สำหรับเด็กเล็กสามารถใช้เสียงที่เป็นจังหวะสม่ำเสมอไม่ดัง ไม่กระตุ้น เป็นเสียงที่ช่วยกล่อมให้เด็กนอน
  • สร้างกิจวัตรในระหว่างวันให้มีตารางเวลาสม่ำเสมอ
  • ควรปิดไฟ หรือ หรี่แสงไฟในห้องนอน เมื่อถึงเวลานอนและควรให้เด็กได้เจอแสงแดดธรรมชาติในเวลากลางวัน

 

สิ่งที่ไม่ควรทำในการสอนให้ลูกมีนิสัยการนอนที่ดี

  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่สร้างความตื่นเต้น หรือ กิจกรรมที่ต้องเผชิญกับแสงที่จ้ามากเกินในช่วงเวลา 2 – 3 ชั่วโมงก่อนนอน
  • ในทารกควรเลี่ยงการให้เด็กหลับคาขวดนม
  • อย่าให้การนอนเกิดจากการขู่ หรือ เป็นการลงโทษจากการทำความผิด ควรสอนให้เด็กรับรู้ว่าการนอนเป็นเวลาของความสุข
  • หลีกเลี่ยงการเอาของเล่นมาให้เด็กเล่นเมื่อถึงเวลานอน
  • หลีกเลี่ยงอาหารหนัก หรือ ชา กาแฟ น้ำอัดลมที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฝึกลูกนอนยาว 6 วิธีฝึกลูกนอนยาว หมดปัญหา ลูกร้องตอนดึก

 

นอนกับลูกดีอย่างไร

 

วิธีพาลูกนอนตอนกลางคืน

  1. อุ้มลูกวางบนที่นอน จัดท่านอนให้ลูกในท่านอนหงาย โดยปกติแล้วทารกจะสามารถจัดท่านอนของตนเองได้เมื่อมีอายุประมาณ 4-7 เดือน
  2. ห่มผ้าให้ลูกน้อย โดยที่ระวังอย่าให้ผ้าห่มคลุมใบหน้า เพราะอาจจะทำให้อุดทางเดินหายใจได้
  3. หยิบเอาตุ๊กตาหรือของเล่นออกจากเตียง
  4. ปรับแอร์ให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 25-26 องศาเซลเซียส
  5. อาจจะหาจุกนมหลอกให้ลูกได้ดูด เพื่อให้ทารกหลับสบายขึ้น แถมยังช่วยให้หายใจได้สม่ำเสมออีกด้วย

 

พ่อแม่ นอนกับลูกดีอย่างไร

  1. ลูกจะเกิดความภูมิใจในตัวเอง ไม่ต้องกังวลว่าจะทำอะไรผิดพลาด
  2. ลูกจะเป็นที่รักของคนรอบข้าง เพราะเขาจะสามารถแสดงความรักกับทุกคนได้เต็มที่ เพราะเคยได้รับความอบอุ่นมาจากพ่อแม่
  3. ลูกสามารถพึ่งพาตัวเองได้ แถมยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิตลูกด้วย
  4. ลูกจะเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และมีพลังมาก เพราะว่าลูกที่นอนกับพ่อแม่จะรู้สึกปลอดภัย ทำให้หลับสบายตลอดทั้งคืน
  5. ลูกจะเป็นเด็กที่มองโลกในแง่ดี เป็นคนอารมณ์ดี เพราะถูกเติมเต็มด้วยความรักจากพ่อแม่ ไม่เป็นเด็กขี้โมโห และไม่เป็นเด็กขี้กังวล เช่น กลัวผี กลัวความมืด กลัวเสียงประหลาด เป็นต้น

โรคใหลตายในทารก ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เด็กเสียชีวิตได้ เช่น พัฒนาการที่ผิดปกติของทารก ลูกคลอดก่อนกำหนด ทารกที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ โรคทางพันธุกรรม โรคหัวใจ และการติดเชื้อ

 

พ่อแม่นอนกับลูกถือว่ามีข้อดีหลายอย่าง โดยเฉพาะการช่วยให้ลูกรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และนอนหลับสบายตลอดทั้งคืน อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ควรสร้างกิจวัตรก่อนนอนให้ลูกเป็นประจำ เพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย และยังช่วยให้ลูกเข้านอน และตื่นนอนตรงเวลาอีกด้วย

 

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
พลวัตของสื่อยุคใหม่ หน้าต่างสู่การสร้างสรรค์ภาวะโภชนาการสำหรับเด็กไทย
พลวัตของสื่อยุคใหม่ หน้าต่างสู่การสร้างสรรค์ภาวะโภชนาการสำหรับเด็กไทย
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ

ทำไมลูกนอนกรน เด็กนอนกรน เกิดจากสาเหตุอะไร?

ทารกหลับไม่สนิท ดิ้นไปมา ทำอย่างไร มีวิธีช่วยลูกนอนหลับสนิทไหม?

ลูกนอนละเมอ ร้องไห้ ฝันร้าย เดินละเมอ อันตรายไหม ดูแลและป้องกันอย่างไร

ที่มา : zerotothree, rama.mahidol, dailynews

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • นอนกับลูกดีอย่างไร พ่อแม่ที่นอนเตียงเดียวกับลูกต้องระวังอะไรบ้าง
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว