ทำไมทารกร้องไห้หลังกินนม
ทำไมทารกร้องไห้หลังกินนม ทั้ง ๆ ที่ก็ให้กินนมปกจติ พอจะให้กำินอีกลูกก็ไม่ยอม ตกลงลูกอิ่ม หรือหิวนมกันแน่ เป็นแบบนี้บ่อย ๆ พ่อแม่ก็แย่ใช่ไหมค่ะ ว่าแต่อาการแบบนี้มันเกิดจากอะไรกันแน่ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ทารกร้องไห้หลังจากดูดนมนั้นมีสาเหตุ 5 ประการด้วยกันค่ะ
1.เกิดอาการจุกเสียด
ปกติแล้วทารกจะร้องไห้อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงทุกวัน และจะร้องไห้ประมาณ 3 วันขึ้นไปต่อสัปดาห์ แต่ก็ยังมีทารกจำนวนหนึ่งที่ร้องไห้นานกว่านั้นไม่ว่าคุณแม่จะให้นมลูกน้อยจากเต้าหรือขวดก็ตาม สาเหตุหนึ่งก็มาจากอาการจุกเสียดค่ะ เพราะในขณะนั้นระบบย่อยอาหารของทารกมีแก๊สหรือลมอยู่ในกระเพาะมากเกินไป ทำให้ไม่สามารถย่อยนมได้ ลูกน้อยถึงร้องออกมาค่ะ
วิธีสังเกตอาการว่าลูกร้องเพราะอาการจุกเสียดหรือไม่ ให้ดูที่ลักษณะอาการค่ะ ถ้าลูกร้องไห้แล้วกำหมัด แก้มออกสีแดง ตัวงอ โดยดึงเข่าให้เข้ามาใกล้กับหน้าท้องค่ะ
2.เกิดจากกรดไหลย้อน
อาการกดไหลย้อน คือ อาการที่อาหารพร้อมน้ำย่อยไหลออกจากกระเพาะอาหาร แล้วย้อนขึ้นมาที่ท่ออาหารอีกที ซึ่งอาการนี้มีลักษณะคล้ายกับของผู้ใหญ่คือมีอาการจุกเสียด ปวดแสบปวดร้อนกลางอกค่ะ จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นกรดไหลย้อน อาการนี้มีความใกล้เคียงกับอาการจุกเสียดค่ะ พ่อแม่อาจไม่ทราบได้ แต่ถ้าลูกร้องไห้งอแง หรือดูแล้วมีอาการรุนแรงแนะนำให้ปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุดค่ะ
วิธีแก้อาการกรดไหลย้อนของลูก ให้คุณพ่อคุณแม่จับลูกนั่งตัวตรงระหว่างให้อาหาร พอทานอาหารเสร็จแล้วให้อุ้มทารกขึ้นพาดลงบนไหล่อย่างน้อย 30 นาที วิธีนี้จะทำให้อาหารของลูกลงกระเพาะลงไปค่ะ และสามารถทำให้ลูกเรอได้
3.แพ้อาหาร
ทารกมักจะมีปฎิกิริยาไวต่ออาหารใหม่ และมีการพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกันได้อย่างรวดเร็ว และส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กที่ดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียว และได้รับอาหารที่ไม่คุ้นเคยผ่านทางน้ำนมแม่ค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่เด็กมักจะแพ้นม ไข่ และถั่วเหลือง มากที่สุด
วิธีการวิธีสังเกตอาการว่าลูกร้องเพราะแพ้อาหารคือ มีอารมณ์หงุดหงิดรุนแรง มีผื่นแดง หรือลมพิษขึ้นตามตัว ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หากพ่อแม่พบเห็นลูกมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้พบแพทย์ด่วนค่ะ
บทความที่น่าสนใจ : แพ้นมวัวเฉียบพลัน ผื่นแดงเต็มตัว บรรเทาอาการอย่างไร
4.เกิดแก๊สในกระเพาะ
เวลาที่ลูกมีลงในท้องจะทำให้เด็กเกิดความไม่สบายเนื้อสบายตัว และมักจะเกิดขึ้นหลังจากดูดนมไปได้ไม่นาน หรือเกิดทุกครั้งหลังจากดูดนมเข้าไป ทำให้ลูกท้องอืดได้ค่ะ สำหรับคุณแม่ที่มห้นมลูกจากขวดก็จะสังเกตง่ายหน่อยว่าลูกอาจกลืนเอาอากาศในขวดนมเข้าไปด้วย วิธีการแก้คือ พยายามให้ลูกเรอหลังจากดูดนมทุกครั้งนั้นเองค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
สารอาหารสำคัญ แม่ให้นม อาหารช่วงให้นมบุตร โภชนาการแม่หลังคลอด ห้ามขาดสารอาหารสำคัญ
ของใช้แม่ให้นม สำหรับแม่มือใหม่ ของที่ต้องเตรียมไว้สำหรับแม่และลูกน้อยมีอะไรบ้าง
น้ำนมแม่ที่แช่เก็บไว้ เอามาอุ่นให้ลูกกินอย่างไร ไม่ให้เสียคุณค่า
ที่มา: parenting.firstcry
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!