เด็กทารกท้องเสียบ่อย เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถสังเกตได้จากความถี่ในการอุจจาระ หรือลักษณะของอุจจาระที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ทารกถ่ายอุจจาระในลักษณะเหลว 3 ครั้งขึ้นไป ถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้ง หรืออุจจาระเป็นน้ำปริมาณมาก ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง เป็นต้น
นอกจากการสังเกตความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการต่าง ๆ ที่ลูกแสดงออกมาให้เห็นร่วมด้วย เช่น เมื่อทารกท้องเสีย อารมณ์ของลูกรักไม่สดใสร่าเริง ทานได้น้อย บางรายอาจมีไข้อ่อน ๆ หรือมีการอาเจียนร่วมด้วย เป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้เด็กทารกท้องเสีย
เด็กทารกเป็นวัยที่ยังมีภูมิคุ้มกันไม่มากพอที่จะปกป้องตัวเองจากเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวได้ดี ซึ่งสาเหตุของอาการท้องเสีย 70% เกิดจากการที่เด็กได้รับเชื้อโรค หรือแบคทีเรียเข้าไปในร่างกาย ผ่านทางมือ และปาก ส่งผลทำให้เด็กทารกท้องเสีย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกท้องเสียได้อีก เช่น
- การติดเชื้อที่หู
- การติดเชื้อปรสิต
- การใช้ยาปฏิชีวนะ
- การดื่มน้ำผลไม้มากเกินไป
- การแพ้โปรตีนจากนมวัว
- การแพ้อาหาร หรือการแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) เช่น แพ้น้ำตาลแล็กโทส เป็นต้น
- การได้รับสารพิษ รวมถึง สารเคมี สารจากพืช ยา เป็นต้น
ทารกท้องเสีย
อันตรายจากอาการท้องเสียของเด็กทารก
อาการท้องเสียของทารกนั้นอันตรายมาก เพราะมีโอกาสที่เด็กทารกที่ท้องเสีย มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ เนื่องจากลำไส้ของทารกจะทำการดูดซึมน้ำ และสารอาหารได้น้อยลง ส่งผลทำให้ร่างกายของทารกท้องเสียมีภาวะขาดน้ำ และสูญเสียเกลือแร่ หากร่างกายขาดน้ำรุนแรง จะทำให้มีอาการวิงเวียน ช็อก และเสียชีวิตได้ในที่สุด
เช็กด่วน! อาการทารกท้องเสีย แบบใดบ้างที่ควรไปพบแพทย์
- ทารกท้องเสียเป็นเวลานาน 5 – 14 วัน
- มีภาวะขาดน้ำ เช่น ปัสสาวะน้อย ปากแห้ง ตาโหล หรืออ่อนเพลีย
- อาเจียนต่อเนื่อง
- ทารกท้องเสีย และถ่ายอุจจาระเป็นมูก มีกลิ่นเหม็น
- ทารกท้องเสีย และถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หรือมีสีดำ
- ทารกท้องเสียอย่างรุนแรงในช่วงที่รับประทานยาปฏิชีวนะ
- มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือมีอาการชัก
- หายใจหอบลึก
- หัวใจเต้นรัว
วิธีดูแลและป้องกัน เมื่อทารกท้องเสีย
เมื่อลูกรักของคุณพ่อคุณแม่มีอาการท้องเสีย สามารถดูแลและป้องกันเบื้องต้นได้เอง ดังนี้
- ให้ดื่มเกลือแร่โออาร์เอสเพื่อทดแทนน้ำ และเกลือแร่ในร่างกายที่สูญเสียไป เพื่อลดโอกาสในการเกิดภาวะขาดน้ำ
- ไม่แนะนำให้กินยาหยุดถ่าย หากทารกท้องเสีย เพราะการหยุดถ่ายจะทำให้เชื้อโรคยังคงอยู่ในลำไส้ ไม่ได้ถูกขับออกมา และอาจทำให้เชื้อกระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้
- ทารกท้องเสีย ป้องกันได้ด้วยนมแม่ ซึ่งมีสารอาหารหลากหลาย รวมทั้งจุลินทรีย์ LPR จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง สู้เชื้อโรคได้ นอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิธีรับมือทารกท้องเสีย จากผู้เชี่ยวชาญ ได้เช่นกันค่ะ
ทารกท้องเสีย
ทำความรู้จัก จุลินทรีย์ LPR สุดยอดความลับในนมแม่
จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ LPR หรือ Lactobacillus rhamnosus GG เป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการรักษาโรคท้องเสียเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อในเด็ก
จากการศึกษาพบว่า นอกจากจุลินทรีย์ LPR จะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลูกรักให้มีความแข็งแกร่ง และช่วยปกป้องเซลล์ลำไส้ของทารกที่ท้องเสียจากการติดเชื้อได้ดีแล้ว ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างสารสื่อประสาทในสมองของลูกอีกด้วย ดังนั้นเมื่อร่างกายลูกแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้อย่างไร้อุปสรรค ก็จะส่งผลให้เด็ก ๆ ได้พัฒนาการสมอง และทักษะการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ
การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันนั้น เป็นประโยชน์แก่ลูกรักของคุณพ่อคุณแม่ในหลาย ๆ ด้าน ดังนั้น “นมแม่” ที่มีจุลินทรีย์ LPR จะช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์สุขภาพ และป้องกันการติดเชื้อก่อโรคในลำไส้ ทั้งยังดีต่อระบบทางเดินอาหาร และมีส่วนช่วยให้ลูกสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ ถือเป็นความลับของความแกร่ง สู่ความเก่งที่พัฒนาได้เต็มศักยภาพ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญในเรื่องของโภชนาการและการเสริมสร้างสุขภาพลูกรักให้เหมาะสมตามวัย เพื่อให้ลูกมีร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการที่ดี พร้อมเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
#LPRจุลินทรีย์ในนมแม่ #LPRจุลินทรีย์ที่มีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับมากที่สุด
ข้อมูลอ้างอิง
- โรคท้องเสียในเด็ก (thaipediatrics.org)
- ท้องเสีย ซ่อมได้ ไม่ยาก (mahidol.ac.th)
- ทารกท้องเสีย พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร ? – พบแพทย์ (pobpad.com)
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!