X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกไม่ยอมนอน วิธีกล่อมลูกนอน แก้ปัญหา ทารกไม่ยอมนอนกลางคืน

บทความ 5 นาที
ลูกไม่ยอมนอน วิธีกล่อมลูกนอน แก้ปัญหา ทารกไม่ยอมนอนกลางคืน

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่มักจะประสบปัญหา หรือมีความสงสัยเกี่ยวกับการนอนหลับของลูกน้อยวัยทารก ลูกไม่ยอมนอน โดยเฉพาะช่วงทารกแรกเกิด ซึ่งมักพบว่า ลูกจะไม่ค่อยนอนในตอนกลางคืน ร้องกวนบ่อย แต่จะมานอนหลับในช่วงกลางวันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้คุณพ่อคุณแม่วิตกกังวลและอ่อนเพลียไปตาม ๆ กัน มาดูกันค่ะว่า ลูกไม่ยอมนอน วิธีกล่อมลูกนอน ต้องแก้ปัญหานี้อย่างไร

 

ลูกไม่ยอมนอน มีสาเหตุมาจากอะไร

เด็ก ๆ ทุกคนต้องการการนอนหลับที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ แต่บางครั้งลูกน้อยของคุณอาจมีปัญหาการนอนหลับ ซึ่งอาจสร้างความกังวลให้กับพ่อแม่เป็นอย่างมาก สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมนอนนั้น มีหลากหลายปัจจัย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. ปัญหาสุขภาพ

  • การเจ็บป่วย: เด็กอาจรู้สึกไม่สบายตัวจากโรคต่างๆ เช่น หวัด ไอ ไข้ ปวดท้อง ปวดฟัน ปวดหู หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนรบกวนการนอนหลับของเด็กได้
  • ความอึดอัด: เสื้อผ้าที่รัดเกินไป อุณหภูมิห้องที่ร้อนหรือเย็นเกินไป หรือแสงสว่างที่มากเกินไป ล้วนทำให้เด็กรู้สึกอึดอัดและไม่สบายตัว ส่งผลต่อการนอนหลับ
  • หิวหรืออิ่มเกินไป: เด็กที่หิวหรืออิ่มเกินไป มักนอนหลับได้ยาก เด็กทารกอาจตื่นขึ้นมาร้องไห้เพราะหิวตอนกลางคืน
  • ง่วงนอนเกินไป: เด็กที่ง่วงนอนมากเกินไป อาจรู้สึกอึดอัดและหงุดหงิดจนไม่ยอมนอน

2. สภาพแวดล้อม

  • เสียงรบกวน: เสียงรบกวนจากภายนอก เช่น เสียงรถ เสียงเครื่องบิน เสียงจากเพื่อนบ้าน ล้วนรบกวนการนอนหลับของเด็ก
  • แสงสว่าง: แสงสว่างจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือโทรทัศน์ กระตุ้นให้สมองของเด็กตื่นตัว ทำให้นอนหลับได้ยาก
  • อุณหภูมิ: อุณหภูมิห้องที่ร้อนหรือเย็นเกินไป ส่งผลต่อการนอนหลับของเด็ก อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการนอนหลับของเด็กควรอยู่ที่ประมาณ 25-26 องศาเซลเซียส
  • เตียงนอน: เตียงนอนที่ไม่สบาย หรือมีขนาดเล็กเกินไป ทำให้เด็กลุกนอนบ่อย

3. พฤติกรรม

Advertisement
  • ไม่มีกิจวัตรประจำวันก่อนนอน: การไม่มีกิจวัตรประจำวันก่อนนอนที่สม่ำเสมอ เช่น อาบน้ำ อ่านหนังสือ หรือร้องเพลงกล่อม ทำให้เด็กรู้สึกสับสน ไม่รู้ว่าถึงเวลาเข้านอน
  • งีบหลับตอนกลางวันมากเกินไป: เด็กที่งีบหลับตอนกลางวันมากเกินไป มักนอนหลับยากตอนกลางคืน
  • เล่นหรือดูทีวีใกล้เวลานอน: แสงสีฟ้าจากหน้าจอโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ กระตุ้นให้สมองของเด็กตื่นตัว ทำให้นอนหลับได้ยาก

4. ปัจจัยทางจิตใจ

  • กังวลหรือเครียด: เด็กอาจกังวลหรือเครียดจากสิ่งต่างๆ เช่น การเริ่มเรียนใหม่ การย้ายบ้าน หรือปัญหาครอบครัว ความเครียดส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้นอนหลับได้ยาก
  • รู้สึกเหงาหรือกลัว: เด็กบางคนอาจรู้สึกเหงาหรือกลัวที่จะนอนคนเดียว ต้องการให้อบอุ่นใจโดยการอยู่ใกล้ชิดกับพ่อแม่

บทความที่น่าสนใจ: 16 กิจกรรมก่อนนอน ช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย ไม่ตื่นกลางดึก

ลูกไม่ยอมนอน วิธีกล่อมลูกนอน

 

ทำอย่างไรเมื่อทารกน้อยไม่ยอมนอนตอนกลางคืน?

หากเราเข้าใจลักษณะการนอนของทารกแล้ว อาจพบว่าเป็นเรื่องปกติที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ บ้านต้องพบเจอปัญหานี้เหมือน ๆ กัน หมอเองก็เคยเป็นคุณแม่ลูกอ่อนที่อดหลับอดนอนจากการดูแลลูกมาแล้ว จนลูกอายุ 3 เดือน การนอนจึงจะดีขึ้นอย่างชัดเจนค่ะ เรามาทำความเข้าใจธรรมชาติการนอนของทารกเพื่อที่จะได้ทราบแนวทางการแก้ปัญหาให้ดีขึ้นและยอมรับในส่วนที่เป็นธรรมชาติตามวัยของลูก กันดีกว่านะคะ

 

ลักษณะการนอนของทารก แต่ละช่วงวัย

การนอนของทารกเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของทารก การเข้าใจลักษณะการนอนของทารกในแต่ละช่วงวัยจะช่วยให้พ่อแม่สามารถจัดการและสร้างกิจวัตรการนอนที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลดีในระยะยาว ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดลักษณะการนอนของทารกในแต่ละช่วงวัยค่ะ

 

ตารางการนอน ทารกแรกเกิด

  • ทารกแรกเกิดจะใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตไปกับการนอน นานถึงวันละ 16-20 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นช่วงสั้น ๆ ช่วงละ 1-4 ชั่วโมง และตื่นช่วงละ 1-2 ชั่วโมง ความหิวและอิ่มมีความสำคัญกับการหลับและตื่นมาก โดยหากทานอิ่มก็จะนอนได้นาน เมื่อหิวก็จะตื่นมาร้องกวนบ่อย ชั่วโมงที่ใช้ในการนอนกลางวันและกลางคืนใกล้เคียงกัน

 

ตารางการนอน ทารก 3 เดือน

  • เมื่อทารกค่อย ๆ โตขึ้นระยะเวลาที่ใช้ในการนอนแต่ละวันจะลดลง แต่ช่วงระยะเวลาที่นอนหลับแต่ละช่วงจะยาวนานขึ้น จนยาวขึ้นชัดเจนหลังอายุ 3-4 เดือน พร้อมกับที่ชั่วโมงที่ใช้ในการนอนกลางวันจะลดลงน้อยกว่ากลางคืนอย่างชัดเจน หลังอายุ 3 เดือน

 

ตารางการนอน ทารก 4 เดือน

  • เมื่อทารกอายุ 4 เดือน จะต้องการชั่วโมงการนอนต่อวันลดลงเหลือประมาณ 14-15 ชั่วโมงต่อวัน และค่อยๆ ลดลงตามอายุ โดยเหลือประมาณ 14 ชั่วโมงที่อายุ 6-9 เดือน โดยเฉลี่ยระยะเวลาในการนอนแต่ละครั้งก็จะมีช่วงที่ยาวขึ้น เป็น 6-8 ชั่วโมง ในช่วงอายุ 4-6 เดือน หลังจากอายุ 6 เดือนจนถึง 1 ปี ทารกจะนอนวันละประมาณ 14 ชั่วโมง โดยมีช่วงนอนกลางวันสั้นลงเหลือเพียงประมาณวันละ 2-4 ชั่วโมง วันละไม่เกิน 2 ครั้ง ดังนั้นหากลูกน้อยร้องกวนและตื่นบ่อยในช่วงวัย 3 เดือนแรก ก็เป็นปกติตามลักษณะการนอนตามวัยของลูกค่ะ

 

ลักษณะการนอนของทารก แต่ละช่วงวัย

 

ลูกอายุเกิน 3 เดือนแล้วแต่ยังตื่นบ่อยกลางดึก เพราะอะไร?

โดยทั่วไป เมื่อลูกน้อยอายุ 3-4 เดือน ก็จะเริ่มนอนตอนกลางคืนได้ยาวขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงสบายขึ้น แต่บางครอบครัวยังพบว่าลูกยังตื่นบ่อย ร้องกวนมากตอนกลางคืน

บางคนอายุมากกว่า 9 เดือนแล้ว ก็ยังมีปัญหานี้

ทั้งที่โดยปกติเด็กทารกอายุ 9 เดือนขึ้นไป จะสามารถเรียนรู้การควบคุมให้เริ่มนอนหลับด้วยตนเองและหลับต่อเองได้กลางดึก สาเหตุมักเกิดจากให้นมลูกบ่อยเกินไป เช่น

  • ให้ลูกทานนมทุก 1-2 ชั่วโมง
  • หรือให้นมทุกครั้งที่ลูกร้อง ทั้งกลางวันและกลางคืน
  • ทำให้ลูกตื่นมาร้องบ่อยเพื่อขอทานนมในกลางดึกเหมือนช่วงกับกลางวัน แล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ตอบสนองโดยการให้ลูกทานนมทุกครั้งเวลากลางคืน ทำให้ลูกไม่สามารถหลับยาวได้ตามวัยอันควร

 

ลูกไม่ยอมนอน วิธีกล่อมลูกนอน ทำอย่างไรดี

เมื่อลูกอายุ 6-9 เดือน คุณพ่อคุณแม่สามารถแก้ปัญหาการร้องกวนไม่ยอมนอนตอนกลางคืนได้ โดยเมื่อลูกตื่น ร้องกวนกลางดึกก็ควรหาสาเหตุก่อน เช่น

  • มีการปัสสาวะ
  • อุจจาระเปื้อน
  • อากาศร้อน
  • อากาศเย็นเกินไป
  • มีไข้ ไม่สบาย หรือไม่

 

หากไม่มีสาเหตุใด ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีกล่อมลูกนอน ดังนี้

 

หากไม่มีสาเหตุใด ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีกล่อมลูกนอน ดังนี้

  1. ตบที่ก้นเบาๆ
  2. กอดหรืออุ้ม เพื่อปลอบให้หลับ
  3. หากยังร้องกวนอยู่อาจให้ทานน้ำแทนการทานนม เด็กหลายคนก็สามารถหลับต่อได้ หรือเมื่อได้เรียนรู้ว่าตื่นมาก็ไม่ได้ทานนม ก็จะไม่อยากตื่น สามารถนอนหลับได้ยาวขึ้นจนไม่ตื่นเลยทั้งคืน
  4. คุณพ่อคุณแม่ควรจัดสภาพแวดล้อมให้เงียบสงบ น่านอนหลับ
  5. ไม่กระตุ้นหรือเล่นกับลูกให้ตื่นเต้นมากเกินไปก่อนเข้านอน
  6. อาจจะอ่านนิทานฟังสบายๆ ให้ลูกหลับฝันดี แล้วปิดไฟ
  7. ฝึกให้ลูกนอนหลับบนที่นอน
  8. ไม่อุ้มลูกเดินจนหลับ
  9. หากลูกตื่นมาเล่นด้วยตอนกลางดึกก็ตอบสนองให้น้อยที่สุด เช่น แค่ตบก้นเบาๆ หรือไม่ตอบสนอง เพื่อให้ลูกนอนหลับต่อไปได้เอง

 

ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจพบว่า การแก้ปัญหาด้วยวิธีการเหล่านี้ อาจมีความยากง่ายที่ต่างกันในเด็กแต่ละคน และอายุที่เด็กจะนอนยาวได้อาจต่างกันในแต่ละคน เช่น ประสบการณ์ของหมอเอง ลูกคนโตสามารถนอนยาวได้จริงเมื่ออายุเกือบ 1 ขวบ โดยต้องฝึกกันนานพอสมควรตามวิธีการดังกล่าว ส่วนลูกคนเล็กไม่ต้องฝึกอะไรเลย ก็สามารถค่อยๆ นอนหลับยาวกลางคืนได้เองที่อายุ 9-10 เดือน หมอขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ทุกครอบครัวสามารถแก้ไข ผ่านพ้นปัญหาลูกน้อยไม่ยอมนอนไปได้อย่างง่ายดายและมีความสุขนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เกณฑ์น้ำหนักทารกแรกเกิด ลูกของคุณหนักขึ้นตามนี้หรือเปล่า

ลูกชอบกลืนยาสีฟัน ทำไงดี อันตรายไหมแบบนี้ มีผลร้ายไหม?

ทารกแรกเกิด เต้านมโต น้ำนมไหล ผู้ใหญ่ให้บีบเต้าเอาน้ำนมออก ทำยิ่งบวมแดง

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกไม่ยอมนอน วิธีกล่อมลูกนอน แก้ปัญหา ทารกไม่ยอมนอนกลางคืน
แชร์ :
  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว