X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

UTI ในเด็ก เกิดขึ้นได้อย่างไร? ลูกติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ สังเกตยังไง?

บทความ 5 นาที
UTI ในเด็ก เกิดขึ้นได้อย่างไร? ลูกติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ สังเกตยังไง?

โรค UTI หรือโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะคืออะไร ลูกมีโอกาสเป็นหรือไม่ แล้วจะป้องกันอย่างไร อยากรู้อ่านเลย

UTI ในเด็ก สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน ที่บางครั้งลูกของคุณก็อาจกำลังประสบกับปัญหานี้อยู่ก็ได้ มาดูกันดีกว่า UTI ในเด็ก นั้นคืออะไร และจะต้องรักษาอย่างไรบ้าง นอกจากนี้เรายังได้นำวิธีสังเกตอาการของลูกน้อยที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมาไว้ให้สังเกตกันอีกด้วย เพื่อที่จะได้ทำการรักษาทัน ไปดูกันเลย

 

บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย นพ. วรณัฐ ปกรณ์รัตน์ (แพทย์จาก Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน) 

 

UTI คือ ?

Urinary Tract Infections หรือ UTI เป็นการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เกิดขึ้นจากแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคเข้าไปในทางเดินปัสสาวะ โดยบริเวณที่มักจะติดเชื้อบ่อยที่สุดคือ กระเพาะปัสสาวะ แต่ทั้งนี้การติดเชื้อนั้นยังสามารถเกิดขึ้นในท่อปัสสาวะ ท่อไต หรือไตได้อีกด้วย ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่พบเป็นอันดับ 2 ในเด็ก รองจากการติดเชื้อในหู สามารถพบได้ในเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชาย และสำหรับเด็กผู้ชายที่ไม่ได้ทำการขลิบปลายแล้วจะมีความเสี่ยงสูงกว่าเด็กผู้ชายที่ได้รับการขลิบปลาย หรือเด็กที่โตกว่าเล็กน้อย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกฉี่ไม่ออกทําไงดี ฉี่น้อย ไม่ฉี่เลยทั้งวัน อั้นฉี่หรือเปล่า ปัสสาวะของทารกน้อย แบบใดจึงผิดปกติ?

 

ทางเดินปัสสาวะ มีอะไรบ้าง และการทำงานเป็นอย่างไร?

ระบบทางเดินปัสสาวะเป็นระบบระบายน้ำของร่างกายของมนุษย์ เพื่อที่จะจำกัดปัสสาวะ หรือของเสียที่เป็นของเหลวออกจากร่างกาย โดยประกอบไปด้วย

  • ไต 2 ข้าง
  • กระเพาะปัสสาวะ
  • ท่อไต 2 ข้าง
  • ท่อปัสสาวะ 1 ท่อ

ซึ่งกระบวนการของการจำกัดของเสียนั้นจะเริ่มจากเลือดในร่างกายที่มีของเสียอยู่ ไหลผ่านไต ไตกรองของเสียที่เป็นของเหลวออกจากเลือดในรูปแบบของปัสสาวะ ปัสสาวะจะถูกส่งผ่านท่อไตลงไปยังกระเพาะปัสสาวะเพื่อรอการระบายออกจากร่างกาย

Advertisement

 

UTI ในเด็ก เกิดขึ้นได้อย่างไร?

การเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือ UTI มักจะเกิดขึ้นเมื่อมีแบคทีเรีย หรืออุจจาระของเด็ก ๆ เข้าไปในทางเดินปัสสาวะ และเพิ่มจำนวนเชื้อเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเด็กผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อ UTI มากกว่าเด็กผู้ชาย เพราะท่อปัสสาวะสั้นกว่า แบคทีเรียจากทวารหนักสามารถเข้าไปในช่องคลอดและท่อปัสสาวะได้ง่ายกว่า ทั้งนี้การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอาจมาจากอีกสาเหตุหนึ่งคือ เด็กบางคนมีปัญหากับกระเพาะปัสสาวะ หรือไตอยู่แล้ว ซึ่งมีโอกาสทำให้พวกเขามีโอกาสติดเชื้อ UTI ได้เช่นกัน ซึ่งการติดเชื้อทำให้เกิดการตีบตันในทางเดินปัสสาวะที่ขัดขวางการไหลของปัสสาวะและทำให้เชื้อโรคขยายตัวอย่างรวดเร็วนั่นเอง

 

 

UTI ในเด็ก 3

 

วิธีสังเกตของลูกน้อยที่เป็น UTI สังเกตได้อย่างไรบ้าง?

UTI ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในส่วนล่างของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือบริเวณท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ โดยเราอาจจะเคยได้ยินในชื่อว่า โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนั่นเอง โดยจะมีอาการที่สามารถสังเกตได้ ดังต่อไปนี้

  • เด็กมีอาการปวด แสบร้อน และแสบเวลาปัสสาวะ
  • มีความต้องการในการปัสสาวะบ่อยขึ้น หลังจากที่เพิ่งปัสสาวะไปครั้งล่าสุด
  • มีอาการไข้
  • ตื่นกลางดึก อยากเข้าห้องน้ำตลอดเวลา
  • ปวดท้องบริเวณกระเพาะปัสสาวะ หรือบริเวณใต้สะดือ
  • ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น หรือในบางคนอาจมีสีที่ขุ่น หรือปนเลือด

การติดเชื้อ UTI นี้ที่มีการติดเชื้อบริเวณท่อไต และไต จะถูกเรียกว่า pyelonephritis ซึ่งมักจะมีอาการรุนแรงกว่าการติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ หรือกระเพาะปัสสาวะ โดยอาการเบื้องต้นจะมีเหมือนกัน แต่เด็กที่เป็นมักจะมีอาการหนาวสั่น มีไข้ ปวดที่บริเวณด้านล่างของท้อง เหนื่อยล้าอย่างรุนแรง หรืออาเจียน

 

การวินิจฉัย UTI มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

ในการวินิจฉัย UTI เมื่อคุณพาลูกน้อยของคุณไปพบแพทย์ แพทย์จะเริ่มถามถึงอาการต่าง ๆ จากคุณเกี่ยวกับสิ่งที่ลูกน้อยของคุณได้ทำ และทำการตรวจร่างกายของพวกเขาเบื้องต้น ก่อนที่จะนำตัวอย่างปัสสาวะของทารกไปทำการทดสอบเพื่อยืนยันว่าติดเชื้อ UTI จริง โดยวิธีการเก็บตัวอย่างจะขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก โดยแยกได้ดังต่อไปนี้

  • เด็กเล็กที่ใช้ผ้าอ้อม แพทย์อาจมีการใช้สายสวนปัสสาวะ เพื่อเก็บปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะของเด็ก ๆ
  • เด็กโตที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แพทย์จะใช้วิธีการเก็บปัสสาวะด้วยการให้เด็กปัสสาวะใส่ถ้วยปลอดเชื้อ และนำไปตรวจ

หลังจากได้ปัสสาวะเรียบร้อยแล้ว ปัสสาวะจะถูกส่งไปทำการทดสอบเพื่อหาเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือการเพาะเลี้ยงปัสสาวะเชื้อในห้องปฏิบัติการ ซึ่งการวินิจฉัยนี้จะทำให้แพทย์ทราบว่าแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อนั้นเป็นชนิดใด เพื่อที่จะได้ทำการรักษาอย่างถูกต้อง

 

UTI ในเด็ก 1

 

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ รักษาได้อย่างไร

UTI หรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาปฏิชีวนะ โดยหลังจากการที่แพทย์จ่ายยาปฏิชีวนะแล้ว แพทย์อาจจะขอตรวจสอบตัวอย่างปัสสาวะอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าไม่มีการติดเชื้อที่บริเวณระบบทางเดินปัสสาวะแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องแน่ใจว่าอาการดังกล่าวเป็นการติดเชื้อ UTI จริงๆ เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อและสามารถติดเชื้อได้อีกครั้ง แต่ถ้าหากลูกน้อยของคุณมีอาการปวดอย่างรุนแรงขณะปัสสาวะ แพทย์อาจสั่งยาที่ทำให้เยื่อบุทางเดินปัสสาวะชาได้ ซึ่งยานี้จะทำให้ปัสสาวะกลายเป็นสีส้มชั่วคราว โดยการทานยาจะเป็นไปตามที่แพทย์กำหนด และลูกน้อยของคุณจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2-3 วันหลังได้รับยา ทั้งนี้หากลูกของคุณมีการติดเชื้อรุนแรง อาจจะต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยอาการรุนแรงที่เกิดขึ้นมีดังต่อไปนี้

  • เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนจะมีไข้สูง ป่วยหนัก หรือไตติดเชื้อ
  • แบคทีเรียจากทางเดินปัสสาวะจะลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด
  • เด็กขาดน้ำ หรือมีของเหลวในร่างกายต่ำ
  • อาเจียน และไม่สามารถรับประทานของเหลวหรือยาทางปากได้

บทความที่น่าสนใจ : มาตราการที่ไม่ยืดหยุ่นเรื่องนมแม่ อาจทำให้เด็กๆ มีภาวะขาดน้ำได้

 

สามารถป้องกันการเกิด UTI ได้หรือไม่?

ในทารกและเด็กเล็ก การเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ สามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ เมื่อเด็ก ๆ ได้รับการฝึกนั่งกระโถน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลเรื่องสุขอนามัยที่ดี โดยแต่ควรมีการเรียนรู้ดังต่อไปนี้

  • เด็กผู้หญิงควรรู้ว่าการเช็ดอวัยวะเพศนั้นจะต้องเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายจากทหารหนักไปยังท่อปัสสาวะ
  • เมื่ออาบน้ำให้ลูก ให้ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศของลูกน้อยด้วยน้ำเปล่า ไม่ควรใช้สบู่ หรือแชมพู
  • เด็กในวัยเรียน ควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำฟอกฟองสบู่ หรือถูสบู่แรง ๆ บริเวณอวัยวะแพทย์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคือง
  • เด็ก ๆ ไม่ควรที่จะอั้นปัสสาวะ เพราะว่าเมื่อปัสสาวะที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะนั้นอยู่นานจนเกินไป อาจทำให้เกิดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้
  • เด็ก ๆ ควรดื่มน้ำมาก ๆ และหลีกเลี่ยงคาเฟอีน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะระคายเคืองได้

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

UTI ในเด็ก 2

 

ทั้งนี้นอกจากที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของสุขอนามัยที่ดีแล้ว พวกเขาควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ถูกต้อง เพื่อไม่ก่อให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ดังต่อไปนี้

  • กระตุ้นให้ลูกน้อยของคุณปัสสาวะหลังจากอาบน้ำเสร็จทุกครั้ง
  • กระตุ้นให้ลูกของคุณปัสสาวะอย่างน้อยทุก ๆ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน หรือจิบน้ำระหว่างวัน เพื่อให้รู้สึกปวดปัสสาวะระหว่างวันมากยิ่งขึ้น
  • กางเกงในของทารกควรใช้เป็นผ้าฝ้ายแทนผ้าไนลอน ไม่มีการรัดแน่นจนเกินไป เพราะอาจมีโอกาสที่จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และไม่จำเป็นต้องให้ลูกน้อยของคุณสวมชุดชั้นในตอนกลางคืน

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับเรื่องของ UTI ในเด็ก เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน และใกล้ตัวมาก ๆ เลย ดังนั้นเรื่องการดูแลสุขอนามัย และการสอนเรื่องพื้นฐานของการรักษาสุขอนามัยให้เด็ก ๆ นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญนะคะ พวกเขาควรได้รับการสอนที่ถูกต้อง ก่อนที่พวกเขาจะเจ็บป่วย หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ นะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคนิ่ว ในเด็กเกิดได้อย่างไร และพ่อแม่ควรระวังลูกเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี

เด็ก ๆ กินเค็ม ได้มากแค่ไหน กินเค็มอย่างไรให้พอดี ปลอดภัย ห่างไกลจากโรค

เด็กทารกควรถ่ายวันละกี่ครั้ง สีอุจจาระของทารกบ่งบอกอะไร

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับUTI ได้ที่นี่!

UTI คืออะไรคะ เกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีป้องกันไหมคะ

 

ที่มา : kidshealth, aboutkidshealth, webmd, nationwidechildrens, cincinnatichildrens

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • UTI ในเด็ก เกิดขึ้นได้อย่างไร? ลูกติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ สังเกตยังไง?
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว