ฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
การที่จะฝึกลูกหัดนั่งได้นั้น พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ คือสิ่งสำคัญ เช่น ลูกต้องสามารถประคองคอให้ตั้งอยู่ได้ มีการทรงตัวที่ดี มีกล้ามเนื้อส่วนลำตัวที่แข็งแรง
การให้ลูกนอนคว่ำและเล่นกับลูกในเวลาที่เขาตื่น ช่วยให้ลูกมีกล้ามเนื้อคอ ท้อง และหลังที่แข็งแรง โดยคุณแม่จะรู้ได้ว่ากล้ามเนื้อของลูกแข็งแรง เมื่อลูกเริ่มยกศีรษะ ยกไหล่ได้
หากลูกไม่ชอบนอนคว่ำบนเบาะ คุณแม่อาจลองให้ลูกนอนคว่ำบนอกของคุณแม่ เพื่อที่ลูกจะได้มองใบหน้าของคุณแม่ก่อน จากนั้นลองเปลี่ยนเป็นใช้หมอนหนุนวางใต้อกของลูก เพื่อยกศีรษะของลูกให้สูงขึ้นจากเบาะ
เมื่อลูกสามารถควบคุมศีรษะได้อย่างมั่นคง ปกติจะทำได้ประมาณ 3-4 เดือน คุณแม่อาจฝึกลูกหัดนั่งโดยคุณแม่คอยประคอง หรือใช้หมอนหนุนหลังลูกเอาไว้
ฝึกการทรงตัวให้สมดุล
ลูกต้องรู้จักที่ทรงตัวด้วยจึงจะสามารถนั่งตามลำพังได้ การมีกล้ามเนื้อลำตัวที่แข็งแรงอย่างเดียว ยังไม่เพียงพอ เพราะการทรงตัวใช้ระบบประสาทในการควบคุมกล้ามเนื้อ ซึ่งคุณแม่สามารถช่วยฝึกลูกหัดนั่งด้วยการนั่งกับลูกบนพื้นเหยียบขาไขว้กัน แล้วให้ลูกนั่งบริเวณหว่างขาของคุณ การนั่งเช่นนี้จะช่วยให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ก่อนที่จะเริ่มปล่อยให้ลูกนั่งคนเดียว
เมื่อลูกเรียนรู้ที่จะนั่งเขาจะใช้มือยันพื้นไว้ก่อน เพื่อรับน้ำหนักตัวและประคองร่างกาย จนกว่าที่เขาจะทรงตัวได้ และปล่อยมือนั่งเองได้
เด็กส่วนใหญ่จะสามารถทรงตัวนั่งได้ด้วยตัวเอง เมื่ออายุ 6 เดือน แรกๆ อาจเพียง 1-2 วินาทีแล้วก็ล้ม แต่เมื่อล้มบ่อยๆ ลูกก็จะเรียนรู้ได้เอง คุณแม่ต้องอดทนอย่าใจร้อน ฝึกบ่อยๆ ลูกก็จะสามารถประคองตัวให้นั่งอยู่ได้โดยไม่ล้มได้ในที่สุด
คำแนะนำ ควรฝึกให้ห่างจากขอบโต๊ะ หรือ มุมเก้าอี้ เพื่อที่เวลาลูกล้มจะได้ไม่เป็นอันตรายค่ะ
เทคนิคฝึกลูกหัดนั่ง
คุณแม่จัดให้ลูกนอนหงาย จากนั้นค่อยๆ ดึงมือลูกขึ้นมาในท่านั่ง โดยคุณแม่อาจกระตุ้นให้ลูกอยากนั่งด้วยการวางกระจกเอาไว้ เพราะลูกวัยนี้จะสนใจมองตัวเองในกระจก ทำให้ลูกอยากที่จะนั่งเพื่อจะได้เห็นตัวเองในกระจก อีกวิธีหนึ่งคือประคองลำตัวลูกบริเวณใต้แขนให้ลุกขึ้น เพื่อให้ลูกวางเท้าลงกับพื้น แม้ลูกจะยังไม่สามารถยืนได้ในวัยนี้ แต่วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อให้กับลูกได้
ข้อควรระวัง
เมื่อลูกนั่งได้แล้ว คุณแม่ต้องเตรียมจัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัยมากขึ้นด้วย เพราะแขนของลูกจะแข็งแรงมากขึ้น และพร้อมที่จะคว้าจับและเหนี่ยวทุกอย่างเพื่อเกาะยืน ควรเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่มั่นคง เพื่อป้องกันลูกคว้าจับแล้วเสียหลักล้มลงและบาดเจ็บได้
คุณแม่มีวิธีฝึกให้ลูกหัดนั่งอย่างไรบ้าง สามารถแชร์เคล็ดลับได้ที่คอมเมนต์ด้านล่างค่ะ
ที่มา : parents.com
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
พัฒนาการทารกแรกเกิดถึง 1 ปีที่น่าจับตา
ข้อดีของการจับลูกนอนคว่ำ ที่ไม่ใช่แค่หัวทุยสวย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!