X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ หมอตรวจอะไรบ้าง? นัดตรวจครรภ์ทุกไตรมาส

บทความ 5 นาที
ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ หมอตรวจอะไรบ้าง? นัดตรวจครรภ์ทุกไตรมาส

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับเหล่าคุณแม่ด้วยนะคะ แน่นอนว่าคุณแม่ก็ต้องไปตรวจร่างกายเพื่อดูแลสุขภาพของเราและลูกน้อยกันต่อไป ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ ครบทุกไตรมาส คนท้องต้องตรวจอะไรบ้าง ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงวันคลอด แม่ท้องต้องตรวจให้ครบ เพื่ออะไร? และมีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามไตรมาสอย่างไรบ้าง? ไปดูพร้อมกันเลย

 

ทำไมต้อง ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ ?

ในการดูแล และการฝากครรภ์นั้น คุณแม่จะได้รับการตรวจสุขภาพ ตรวจเช็กภาวะแทรกซ้อนทั้งของคุณแม่และทารก และการสแกนรูปแบบต่าง ๆ เพื่อดูพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงของการแท้งบุตร และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และหลังการตั้งครรภ์ได้ โดยการตรวจร่างกายนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • ตรวจเพื่อคัดกรอง ซึ่งเป็นการแจ้งให้คุณแม่ทราบเกี่ยวกับเรื่องของทารกในครรภ์ว่าจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ หรือมีภาวะผิดปกติหรือไม่ เป็นเพียงการคาดการณ์เบื้องต้น ผลอาจไม่แน่นอนนัก
  • การตรวจเพื่อวินิจฉัย เป็นการตรวจเพื่อเข้าถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับทารก หรือกำลังเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ ซึ่งการตรวจแบบนี้จะมีความแม่นยำสูง

 

ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ 1

 

Advertisement

 

ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์แต่ละไตรมาส หมอตรวจอะไรบ้าง?

หลังจากที่คุณทราบแล้ว หรือมีความมั่นใจว่าคุณนั้นกำลังตั้งครรภ์ สิ่งแรกที่คุณควรทำคือเข้าพบแพทย์เพื่อยืนยันผลที่ถูกต้องและแม่นยำ หลังจากนั้นก็เริ่มเข้าสู่กระบวนของการเป็นคุณแม่อย่างเต็มตัวคือการฝากครรภ์นั่นเอง โดยหลังจากที่คุณฝากครรภ์แล้ว คุณหมอที่ดูแลจะนัดตรวจร่างกายในทุก ๆ ไตรมาสของการตั้งครรภ์ โดยการตรวจแต่ละไตรมาสมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • การฝากครรภ์ และพบหมอครั้งแรก

    • ทำการยืนยันว่ากำลังตั้งครรภ์จริง
    • คำนวณอายุครรภ์ว่าน่าจะประมาณกี่สัปดาห์ และจะครบกำหนดคลอดเมื่อไหร่ ซึ่งในขั้นตอนนี้คุณอาจจะได้รับการอัลตร้าซาวนด์ แต่จะไม่ได้อายุครรภ์ที่แน่ชัด
    • ตรวจความดันโลหิต ส่วนสูง และน้ำหนัก
    • แพทย์จะสอบประวัติการรักษา และโรคประจำตัวของคุณแม่ และครอบครัว
    • ตรวจเลือด เป็นการตรวจหากรุ๊ปเลือด และตรวจหาโรคโลหิตจาง ภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ซิฟิลิส คลามัยเดีย และ HIV
    • ตรวจปัสสาวะ เพื่อดูว่าคุณมีภาวะกระเพาะปัสสาวะ หรือทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือติดเชื้อหรือไม่
    • คัดกรองดาวน์ซินโดรม
    • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อตรวจหาเชื้อ HPV (human papillomavirus) และ/หรือสัญญาณของโรคมะเร็งปากมดลูก
    • แพทย์จะสอบถามถึงความต้องการในการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่กับคุณแม่
    • แพทย์จะแนะนำเรื่องอาหารเสริม วิตามิน แร่ธาตุ และอาหารที่คุณสามารถทานได้ และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

 

  • ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ ในสัปดาห์ที่ 19-20

    • ตรวจความดันโลหิต
    • วัดขนาดหน้าท้อง คลำหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารก
    • สอบถามเรื่องปัญหาด้านสุขภาพ และอุปสรรคของการตั้งครรภ์
    • อัลตร้าซาวนด์ เพื่อตรวจดูพัฒนาการทางร่างกายของทารก การเจริญเติบโต และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หากต้องการทราบแพทย์ของทารก คุณสามารถทราบได้แล้วจากการพบแพทย์ในครั้งนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ 1

 

  • ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 26-27

    • ตรวจความดันโลหิต
    • วัดขนาดหน้าท้อง คลำหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารก
    • สอบถามเรื่องปัญหาด้านสุขภาพ และอุปสรรคของการตั้งครรภ์
    • ทดสอบระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือคุณแม่ที่เข้าข่ายเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ ในสัปดาห์ที่ 28

    • ตรวจความดันโลหิต
    • วัดขนาดหน้าท้อง คลำหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารก
    • สอบถามเรื่องปัญหาด้านสุขภาพ และอุปสรรคของการตั้งครรภ์
    • ตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ และการเคลื่อนไหวของทารก
    • คุณหมอจะเริ่มพูดคุยเรื่องของการคลอดบุตร
    • ตรวจเลือดเพื่อตรวจหาภาวะโลหิตจาง และระดับเกล็ดเลือด
    • ฉีดวัคซีนไอกรน
    • ตรวจปัสสาวะ หากคุณมีอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือความดันโลหิตสูง

 

  • ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 32

    • ตรวจความดันโลหิต
    • วัดขนาดหน้าท้อง คลำหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารก
    • สอบถามเรื่องปัญหาด้านสุขภาพ และอุปสรรคของการตั้งครรภ์
    • ตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ และการเคลื่อนไหวของทารก
    • ตรวจปัสสาวะ หากคุณมีอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือความดันโลหิตสูง

บทความที่เกี่ยวข้อง : พัฒนาการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 28

 

ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ 2

 

 

  • ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ ในสัปดาห์ที่ 34-36

    • ตรวจความดันโลหิต
    • วัดขนาดหน้าท้อง คลำหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารก
    • สอบถามเรื่องปัญหาด้านสุขภาพ และอุปสรรคของการตั้งครรภ์
    • ตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ และการเคลื่อนไหวของทารก
    • ตรวจปัสสาวะ หากคุณมีอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือความดันโลหิตสูง
    • ตรวจหาโรค Group B Streptococcus (GBS)
    • ตรวจสอบท่าของทารก ว่าทารกอยู่ในท่าทางใด และตำแหน่งใด ศีรษะของทารกเคลื่อนที่ไปยังบริเวณกระดูกเชิงกรานหรือยัง และระยะห่างแค่ไหนกับปากช่องคลอด

 

  • ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ ในสัปดาห์ที่ 38-39

    • ตรวจความดันโลหิต
    • วัดขนาดหน้าท้อง คลำหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารก
    • สอบถามเรื่องปัญหาด้านสุขภาพ และอุปสรรคของการตั้งครรภ์
    • ตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ และการเคลื่อนไหวของทารก
    • ตรวจสอบท่าของทารก ว่าทารกอยู่ในท่าทางใด และตำแหน่งใด ศีรษะของทารกเคลื่อนที่ไปยังบริเวณกระดูกเชิงกรานหรือยัง และระยะห่างแค่ไหนกับปากช่องคลอด

 

  • ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 40-41

    • ตรวจความดันโลหิต
    • วัดขนาดหน้าท้อง คลำหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารก
    • สอบถามเรื่องปัญหาด้านสุขภาพ และอุปสรรคของการตั้งครรภ์
    • ตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ และการเคลื่อนไหวของทารก
    • ตรวจสอบท่าของทารก ว่าทารกอยู่ในท่าทางใด และตำแหน่งใด ศีรษะของทารกเคลื่อนที่ไปยังบริเวณกระดูกเชิงกรานหรือยัง และระยะห่างแค่ไหนกับปากช่องคลอด เพื่อเตรียมตัวคลอด
    • ตรวจสอบปริมาณของน้ำคร่ำ และประเมินการคลอด หรือให้คุณแม่เตรียมตัวคลอดหากมีภาวะน้ำเดินเกิดขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ 6

 

ปัจจัยของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องเข้ารับการตรวจมากกว่าปกติ?

ในบางครั้งการนัดตรวจครรภ์ของคุณแม่อาจมีความถี่มากกว่าปกติ เพราะคุณแม่แต่ละคนก็มีอาการ หรือข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป โดยคุณแม่ที่คุณหมออาจนัดตรวจบ่อยกว่าคุณแม่ที่แข็งแรง หรือมีการตั้งครรภ์ที่ปกติ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • คุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป โดยจากการวิจัยพบว่าคุณแม่ที่อยู่ในช่วงวัยนี้เมื่อมีการตั้งครรภ์ ทารกมีโอกาสที่จะพิการตั้งแต่กำเนิดสูง และอาจมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์มากกว่าคุณแม่ที่มีอายุน้อยกว่า
  • คุณแม่ที่มีโรคประจำตัวอยู่ก่อน ส่วนใหญ่แล้วโรคที่จะเป็นปัญหากับการตั้งครรภ์คือโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง จึงทำให้คุณหมอมีความจำเป็นที่จะต้องนัดตรวจครรภ์คุณแม่บ่อย ๆ เพื่อเช็กให้แน่ใจว่าคุณแม่ และทารกในครรภ์นั้นยังอยู่เกณฑ์ที่ปลอดภัย
  • การเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่คุณหมอจะทำการนัดตรวจบ่อย ๆ เพื่อว่าภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
  • ความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด หากคุณแม่มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่จะต้องทำการคลอดก่อนกำหนด ในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณหมอจะนัดตรวจครรภ์กับคุณแม่บ่อยครั้งมากขึ้น เพื่อเช็กให้แน่ใจว่า หากทารกออกมาแล้วจะปลอดภัย

 

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับความรู้เรื่องการตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ที่เรานำมาฝากกัน โดยการตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์แต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน ตามแต่สภาพร่างกายของแม่ท้อง ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสูติแพทย์ อายุครรภ์และบริบทในแต่ละโรงพยาบาล ที่สำคัญคือ คนท้องควรไปตามนัดทุกครั้ง เพื่อให้แพทย์ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ทั้งยังต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หากรู้สึกถึงความผิดปกติ แม่ท้องควรรีบไปโรงพยาบาลทันที เพื่อหาสาเหตุและป้องกันการเกิดปัญหาให้ดีที่สุด เพื่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยของเราค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

รวมแพ็กเกจฝากครรภ์ ปี 2566 จำเป็นหรือไม่ ที่จะต้องฝากครรภ์?

หมอสูตินรี ที่ไหนดี ? รวม 10 สูตินรีแพทย์ ฝีมือดีที่คนไข้ต่างก็ยกนิ้วให้ ปี 2564

คลินิกสูตินรีเวชใกล้ฉัน ปี 2566 ที่ไหนดี? คลินิกสูตินรีเวช ทั่วประเทศไทย

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการตรวจครรภ์ ได้ที่นี่!

ตรวจครรภ์ตอนไหน ควรตรวจร่างกายในทุก ๆ กี่เดือนคะ

ที่มา : Pregnancybirthbaby, Webmd

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ หมอตรวจอะไรบ้าง? นัดตรวจครรภ์ทุกไตรมาส
แชร์ :
  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว