การอัลตราซาวด์ เป็นสิ่งที่ทำให้เราได้รู้ว่าลูก ๆ ของเราเป็นเด็กผู้หญิงหรือเด็กผู้ชาย และยังช่วยให้เราทราบได้ว่าการตั้งครรภ์ของเรา เกิดความผิดปกติขึ้นหรือเปล่า ในวันนี้ เราจะมาพูดถึงตัวอักษรต่าง ๆ ที่อยู่ในใบอัลตราซาวด์กัน ว่าแต่ละตัวย่อ หมายถึงอะไรกันบ้าง
ความหมายอักษรย่ออัลตร้าซาวด์ (u/s)
วิธีอ่านผลคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตร้าซาวด์ ในไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์
(ก่อนอายุครรภ์ 14 สัปดาห์)
เนื่องจากในไตรมาสที่หนึ่งของการตั้งครรภ์ทั้งมดลูกและทารกในครรภ์ยังมีขนาดเล็ก การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงสามารถทำได้ 2 ทาง คือ การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางหน้าท้อง (transabdominal ultrasound, TAS) และ การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด (transvaginal ultrasound, TVS)
ซึ่งเป้าหมายของการตรวจในไตรมาสที่หนึ่ง มีดังนี้
- ยืนยันการตั้งครรภ์ในมดลูก
- ตรวจประเมินอายุครรภ์
- ตรวจการมีชีวิตของทารก
- ตรวจประเมินจำนวนทารก และชนิดของครรภ์แฝด
- ตรวจวัดความหนาของน้ำใต้ผิวหนังบริเวณต้นคอของทารก
- การตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ
สำหรับตัวอักษรย่อและศัพท์ทางการแพทย์ที่สามารถพบได้ในการอ่านผลคลื่นเสียงความถี่ มีดังนี้
- LMP = Last menstrual period คือ วันแรกของประจำเดือนรอบสุดท้าย
- EDD = Estimated date of delivery หรือ EDC = Estimated date of confinement คือ วันครบกำหนดคลอดที่อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ ซึ่งคำนวณจาก LMP หรือ การวัดขนาดของทารก
- GA = Gestational age หรือ gaคือ อายุครรภ์ (คำนวณจาก LMP)
- AUA = Actual ultrasound age คือ อายุครรภ์ที่คำนวณได้จากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง
- CRL = Crown-rump length length แปลว่า ความยาวของทารกวัดจากศีรษะถึงก้น
- สามารถนำมาคำนวณอายุครรภ์ได้ ซึ่งให้ค่าความแม่นยำมากที่สุด
- MSD = Mean sac diameter คือ ขนาดค่าเฉลี่ยเส้นผ่าศูนย์กลางของถุงการตั้งครรภ์
- สามารถนำมาคำนวณอายุครรภ์ได้ แต่ให้ค่าความแม่นยำต่ำ
- FHR = Fetal heart rate คือ อัตราการเต้นหัวใจของทารก
- ค่าปกติ 110-160 ครั้งต่อนาที แต่อาจสูงได้ถึง 180 ครั้งต่อนาที
- NT = Nuchal translucency คือ ความหนาของน้ำใต้ผิวหนังบริเวณต้นคอของทารก
- ถ้ามีความหนามากผิดปกติ ทารกจะมีความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมและโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
- Intrauterine pregnancy คือ การตั้งครรภ์ในมดลูก
- Ectopic pregnancy คือ การตั้งครรภ์นอกมดลูก
- Fetus คือ ทารกในครรภ์
- Gestational sac คือ ถุงการตั้งครรภ์ (พบได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 4½ สัปดาห์)
- Yolk sac คือ ถุงไข่แดง (พบได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 5 สัปดาห์)
- Fetal pole หรือ Fetal echo คือ ทารกที่ยังมีขนาดเล็กมาก อาจพบการเต้นของหัวใจร่วมด้วย (พบได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 6 สัปดาห์)
วิธีอ่านความหมายอักษรย่ออัลตร้าซาวด์ ในไตรมาสที่สองและสามของการตั้งครรภ์ คลิกหน้าถัดไป
วิธีอ่านผลคลื่นเสียงความถี่สูงในไตรมาสที่ 2-3 ของการตั้งครรภ์
การตรวจในไตรมาสที่สองมีเป้าหมายเพื่อตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ (anomaly scan) ส่วนการตรวจในไตรมาสที่สามมีเป้าหมายเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
สำหรับตัวอักษรย่อและศัพท์ทางการแพทย์ที่สามารถพบได้ในการอ่านผลคลื่นเสียงความถี่ มีดังนี้
- BPD = Biparietal diameter คือ ความกว้างของศีรษะ
- HC = Head circumference คือ เส้นรอบวงของศีรษะ
- AC = Abdominal circumference คือ เส้นรอบวงของท้อง
- FL = Femur length คือ ความยาวกระดูกต้นขา
- HL = Humerus length คือ ความยาวกระดูกต้นแขน
- FHR = Fetal heart rate คือ อัตราการเต้นหัวใจของทารก
- ค่าปกติ 110-160 ครั้งต่อนาที
- EFW = Estimated fetal weight คือ ค่าประมาณน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์ ซึ่งได้จากการคำนวณตามสมการของ Shepard หรือ Hadlock
- Shepard ใช้ BPD/AC ในการคำนวณ
- Hadlock ใช้ BPD/AC/FL ในการคำนวณ
- EFW percentile คือ ค่าการเปรียบเทียบน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์กับประชากรทารกที่อายุครรภ์เดียวกัน
- ค่าปกติจะอยู่ที่ 10-90 percentile
- ถ้า <10 percentile แสดงว่าทารกมีน้ำหนักตัวน้อย อาจมีภาวะทารกโตช้าในครรภ์
- ถ้า >90 percentile แสดงว่าทารกมีน้ำหนักตัวมาก อาจมีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
- AFI = Amniotic fluid index คือ ปริมาณน้ำคร่ำรวมจากการวัด 4 ตำแหน่ง
- DVP = Deepest vertical pocket คือ ปริมาณน้ำคร่ำที่วัดความลึกได้มากที่สุดจากการวัด 4 ตำแหน่ง
- Placental site คือ ตำแหน่งที่รกเกาะกับมดลูก
Placenta previa คือ มีรกเกาะต่ำ
- Placental grade คือ ลักษณะของเนื้อรก ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามอายุครรภ์
- Umbilical cord insertion คือ ตำแหน่งที่สายสะดือออกจากรก
Centric คือ ออกตรงกลางรก
Eccentric คือ ออกค่อนมาด้านข้างของรก
Marginal คือ ออกมาที่ขอบรก ซึ่งพบว่าสัมพันธ์กับภาวะทารกโตช้าในครรภ์
- Presentation คือ ท่าของทารกในครรภ์
Vertex หรือ Cephalic คือ ทารกท่าศีรษะ
Breech คือ ทารกท่าก้น
Transverse lie คือ ทารกท่านอนขวาง
นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์
สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!