X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไข้สมองอักเสบเจอี โรคร้ายที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

บทความ 5 นาที
ไข้สมองอักเสบเจอี โรคร้ายที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี โรคร้ายที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

เมื่อลูกมีอายุครบ 9 เดือนถึงหนึ่งขวบ มีวัคซีนตามตารางวัคซีนพื้นฐานตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข ที่สำคัญมากซึ่งคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรลืมพาลูกไปฉีดคือ “วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี” ช่วยป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ซึ่งเป็นโรคที่มีความรุนแรงมากเพราะทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อสมองจากเชื้อไวรัส เรามาทำความรู้จักโรคไข้สมองอักเสบเจอีกันนะคะ

ไข้สมองอักเสบเจอี

โรค ไข้สมองอักเสบเจอี คืออะไร?

โรคไข้สมองอักเสบเจอีเป็นโรคสมองอักเสบ ชนิดที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเจอีที่สมอง โดยมีพาหะสำคัญคือ ยุงรำคาญ ซึ่งมักแพร่พันธุ์ในนาข้าว พบครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทยสมัยก่อนพบมากในภาคเหนือ แต่ตอนนี้พบได้ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการทำนาร่วมกับการเลี้ยงหมู เนื่องจากเป็นโรคที่มียุงเป็นพาหะ จึงมักพบผู้ป่วยมากในช่วงฤดูฝน แต่ก็สามารถพบได้ตลอดทั้งปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กโดยเฉพาะเด็กวัยเรียน

โรคไข้สมองอักเสบเจอีติดต่อได้อย่างไร?

โรคนี้มีหมูเป็นเหมือนรังของโรค เชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนในหมูอย่างรวดเร็วโดยไม่มีอาการป่วย เมื่อยุงรำคาญชนิดที่เป็นพาหะ มากัดและดูดเลือดหมู ไวรัสจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในตัวยุง โรคนี้ติดต่อมายังคนโดยยุงกัดแล้วแพร่เชื้อไวรัส ซึ่งอยู่ในน้ำลายยุงมาสู่ตัวเรา ดังนั้น โรคไข้สมองอักเสบเจอีนี้ถึงแม้จะเป็นโรคติดต่อก็จะไม่ติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง เป็นโรคที่ต้องมีพาหะโดยเชื้อมาจากสัตว์

อาการของโรคไข้สมองอักเสบเจอีเป็นอย่างไร?

ผู้ที่ได้รับเชื้อโรคนี้อาจมี หรือไม่มีอาการป่วยก็ได้ ถ้ามีอาการป่วยผู้ป่วยมักแสดงอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 1-2 สัปดาห์ ในระยะแรกจะมีไข้สูง อาเจียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หลังจากนั้น จะมีอาการทางสมอง เช่น คอแข็ง สติสัมปชัญญะเลวลง ซึม เพ้อคลั่ง ชักหมดสติ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะเสียชีวิตได้ในระยะนี้ หลังจากนั้นไข้จะค่อยๆลดลงสู่ปกติ และอาการทางสมองจะค่อยๆดีขึ้น แต่ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจะยังมีความผิดปกติทางสมองเหลืออยู่ เช่น เกร็ง อัมพาต ชัก ระดับสติปัญญาลดลงได้ค่ะ

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไข้สมองอักเสบเจอี?

หากผู้ป่วยมีอาการ ไข้สูง อาเจียน ปวดศีรษะมาก หรือมีไข้ร่วมกับมีอาการทางสมองเช่น ซึม ชัก หรือการรู้สติผิดปกติไป ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างละเอียด และตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยการเจาะเลือด และน้ำไขสันหลังมาตรวจ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสและภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสเจอี

การรักษาโรคไข้สมองอักเสบเจอีทำได้อย่างไร?

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยเฉพาะค่ะ การรักษาจะเป็นรักษาตามอาการ ร่วมกับการประคับประคองเพื่อลดอาการที่จะทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการให้ยากันชัก

เราจะวิธีการป้องกันโรค ไข้สมองอักเสบเจอี ได้อย่างไร?

การป้องกันโรคนี้มีวิธีการที่สำคัญ 2 อย่างคือ การป้องกันยุงกัด และ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี

การป้องกันยุงกัด ทำได้โดย พยายามทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง นอนในมุ้ง หรือมุ้งลวด ส่วนวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีเป็นวัคซีนพื้นฐานตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข สำหรับประเทศไทยรัฐบาลสนับสนุนให้ฉีดวัคซีนชนิดนี้ฟรีกับเด็กทุกคนเป็นวัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิตทั้งหมด 3 ครั้ง ตั้งแต่อายุ 9-18 เดือน เข็มต่อมาอีก 4 สัปดาห์ และ 1 ปี ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อมีชีวิตซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจเลือกฉีดแทนได้ โดยฉีดทั้งหมดเพียง 2 ครั้ง ตั้งแต่อายุ 9-12 เดือน เข็มต่อมาอีก 3-12 เดือน หรือ 12-24 เดือน แล้วแต่ชนิดของวัคซีนค่ะ

ไข้สมองอักเสบเจอี

โรคไข้สมองอักเสบ เจอี

"โรคไข้สมองอักเสบ เจอี" เป็นโรคไข้สมองอักเสบที่พบมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งประเทศไทย โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แจแปนีส เอ็นเซฟฟาโลติส หรือเชื้อไวรัสเจอี(Japanese encephalitis: JEV) พบผู้ป่วยไข้สมองอักเสบเจอีรายแรกในประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔

          โรคนี้ทำให้เกิดการอักเสบของสมองส่วนกลาง ไม่มียารักษาโดยเฉพาะเป็นผลให้มีอัตราตายสูงและก่อให้เกิดความพิการทางสมองในรายที่รอดชีวิต

การติดต่อ

          คนติดเชื้อไวรัสเจอีโดยถูกยุงกัด ยุงที่เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ คือ ยุงรำคาญ (culex) ซึ่งเพาะพันธุ์ในน้ำขังที่อยู่ตามทุ่งนา โรคนี้จึงพบในเขตชนบทและชานเมืองมากกว่าเขตเมือง สัดส่วนของผู้ติดเชื้อที่มีอาการและไม่มีอาการโดยเฉลี่ย 1 ต่อ 300 รายการติดต่อเริ่มจากติดเชื้อในสัตว์ เช่น หมู นก ม้า วัว ควาย แพะ แกะ สุนัข โดยสามารถตรวจพบเชื้อไวรัสเจอีในกระแสเลือดของสัตว์อยู่ระยะเวลาหนึ่ง เมื่อยุงกัดกินเลือดสัตว์ ขณะที่มีเชื้อไวรัสเจอีอยู่ เชื้อจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในยุงโดยบางส่วนอาจไปที่รังไข่ของยุง ทำให้ยุงเกิดใหม่มีไวรัสเจอีตั้งแต่เกิด เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสมากัดสัตว์ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อนก็จะสามารถแพร่เชื้อนี้มาสู่คน เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเจอีจากการถูกยุงกัด เชื้อจะเข้าไปในกระแสเลือด และเข้าไปในระบบประสาทโดยเฉพาะในสมองทำให้สมองเกิดการอักเสบ โดยเชื้อจะใช้ระยะเวลาในการฟักตัว ๕ - ๑๕ วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการป่วย

อาการ

          ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเจอีส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ แต่ถ้ามีอาการมักรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต โรคนี้อัตราป่วยตายประมาณหนึ่งในสาม อาการและอาการแสดงของโรคแบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ ๑)ระยะอาการนำเริ่มจากผู้ป่วยมีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ปวดศีรษะ มักพบอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ตัวแข็งเกร็ง ๒)ระยะสมองอักเสบเฉียบพลัน คือ มีไข้สูงลอย มีอาการชักเกร็ง คอแข็ง มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว ซึม หมดสติ หรือบางรายอาจเป็นอัมพาตและ ๓) ระยะพื้นโรคผู้ป่วยที่รอดชีวิตประมาณร้อยละ 40 - 60 มักพบความผิดปกติทางจิตประสาท และ เชาวน์ปัญญา ความผันแปรทางอารมณ์ มีบุคลิกภาพที่เปลี่ยนไป

การรักษา

          โดยทั่วไปเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ และดูแลบริบาลผู้ป่วยทั่วไป

การป้องกัน

          การป้องกันละควบคุมโรค สามารถทำได้โดย

บทความจากพันธมิตร
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
ให้มากกว่าวิตามินซี แพทย์แนะนำ Black Elderberry Nigra 'เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไวรัส' มีงานวิจัยรับรอง
ให้มากกว่าวิตามินซี แพทย์แนะนำ Black Elderberry Nigra 'เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไวรัส' มีงานวิจัยรับรอง
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

          ๑) การให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับวงจรการเกิดโรค อาการของโรค และวิธีป้องกันการเกิดโรค

          ๒) การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีมี ๒ ชนิด ได้แก่ วัคซีนที่ทำจากเชื้อที่ตายแล้ว และวัคซีนที่ทำจากเชื้อมีชีวิตที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ (วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์) วัคซีนทั้งสองชนิดมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง เด็กทุกคนควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ฉีด ๒ เข็ม ในเด็กอายุ ๑ ปีและอายุ ๒ปีครึ่ง โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

          วัคซีนชนิดเชื้อตายให้ฉีดรวม ๓ เข็ม มีระยะห่างระหว่างเข็มคือ ๔ สัปดาห์ และ ๑ ปี ตามลำดับ        ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนเชื้อตายมาก่อนแต่ยังไม่ครบ สามารถฉีดต่อด้วยวัคซีนชนิดเชื้อเป็นได้

          ๓) ควบคุมและกำจัดยุงที่เป็นพาหะนำโรค เช่น การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เป็นต้น

          ๔) ควบคุมสัตว์เลี้ยงที่สามารถแพร่พันธุ์เชื้อไวรัสเจอี เช่น เลี้ยงหมูในคอกที่ห่างจากที่อยู่อาศัยของคน อาจทำคอกที่มีมุ้ง หรือ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้สัตว์เลี้ยงดังกล่าว

ไข้สมองอักเสบเจอี

ที่มาจาก: https://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=276

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ตารางวัคซีนสำหรับลูกตั้งแต่แรกเกิดถึงวัยรุ่น

มารู้จักวัคซีนเสริมสำหรับเด็กกันดีกว่า ตอนที่ 1

มารู้จักวัคซีนเสริมสำหรับเด็กกันดีกว่า ตอนที่ 2

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ไข้สมองอักเสบเจอี โรคร้ายที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
แชร์ :
  • อัพเดท! วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น ประสิทธิภาพดีกว่าเดิม

    อัพเดท! วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น ประสิทธิภาพดีกว่าเดิม

  • พ่อแม่จ๋า มารู้จัก "วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก" กันดีกว่า ตอนที่ 1

    พ่อแม่จ๋า มารู้จัก "วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก" กันดีกว่า ตอนที่ 1

  • 51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

    51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

app info
get app banner
  • อัพเดท! วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น ประสิทธิภาพดีกว่าเดิม

    อัพเดท! วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น ประสิทธิภาพดีกว่าเดิม

  • พ่อแม่จ๋า มารู้จัก "วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก" กันดีกว่า ตอนที่ 1

    พ่อแม่จ๋า มารู้จัก "วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก" กันดีกว่า ตอนที่ 1

  • 51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

    51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ